พระรอดองค์นี้เป็นพระรอดที่ได้มาจากบ้าน ๆ ผมเองก็ดูยังไม่ออกว่าเป็นพระรอดจากกรุไหน หรือใดสร้าง แต่เลี่ยมเก่าได้ใจ ชมภาพเพิ่มเติมครับ….
พระรอดเก่า เลี่ยมนาก เปิดด้านหน้า การเลี่ยมพระแบบนี้ผมว่าต้องเป็นการเลี่ยมตามความเชื่อในยุคก่อน คือต้องเลี่ยมเปิดหน้าพระ หรือเลี่ยมให้มีช่องลมเข้าออก เพราะยุคนั้นมีความเชื่อว่าการที่เลี่ยมแบบนี้ทำให้พุทธคุณแผ่ออกมาอย่างเต็มที่ เทวดาที่รักษาองค์พระก็จะได้แสดงพลังงานอย่างเต็มกำลัง เพราะมีการสัมผัสธรรมชาติแห่งธาตุตามธรรมชาติ คือดิน น้ำ ลม ไฟ อีกประการยุคนั้นอาจจะหาพลาสติกยากก็ได้นะครับ
พระรอดเก่า ด้านหลังเป็นการเลี่ยมพระแบบเทคนิคโบราณ คือทำเป็นซี่ฟันปลาแล้วทบเข้าปิดฝาด้านหลัง ซึ่งทุกวันนี้ไม่ทำกันแล้วครับ นากหนา ๆ แบบนี้
พระรอดเก่า เลี่ยมนากแบบเก่า หนา ๆ ผ่านการใช้งานมาอย่างยาวนาน ผมเชื่อว่าต้องเป็นพระกรุยุคเก่าแน่ครับ
พระรอด เลี่ยมนากเก่า เจ้าของใช้มาจนห่วงกิ่ว ใช้จนกิ่วแบบนี้ ต้องกี่ปีแล้วครับ นากนะครับมีความแข็งกว่าทองธรรมดา ต้องใช้มาเป็นเวลานานแค่ไหน ยิ่งหากใช้กับสร้อยทองต้องเปลี่ยนทองมากี่เส้นแล้ว
สรุปผมก็ยังหากรุไม่ได้ หาวัดไม่ได้ จริง ๆ ในใจผมแอบเชื่อว่าน่าจะเป็นพระรอดกรุมหาวัน ลำพูนแหล่ะครับ สาธุ…