พระหูยาน ( ปืนแตก ) วัดราชบพิธ
พระหูยาน แต่พุทธคุณไม่หย่อนยาน ปืนแตก จ.ป.ร. รุ่น ๑๐๐ ปี วัดราชบพิธ กทม. พระอาจารย์นำ หลวงพ่อเงิน หลวงปู่โต๊ะ ร่วมในพิธีอีกพระเกจิมากมายร่วมอธิษฐาน ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เสด็จเป็นประธานพิธีจุดเทียนชัย ยิ่งใหญ่ด้วยพิธีการ อลังการพุทธศิลป์ พระดีมากประสบการณ์
พระพิมพ์หูยานลพบุรี สร้างล้อพิมพ์ พระหูยานกรุเก่าศิลปะลพบุรี ทำการแกะแม่พิมพ์ขึ้นใหม่มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะขนาดพอเหมาะแก่การบูชา ด้านหลังประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “จ.ป.ร.” จัดสร้าง ๒ เนื้อ ได้แก่ เนื้อนวโลหะ และ เนื้อทองแดง ออกแบบและแกะแม่พิมพ์โดยนายช่างชื่อดังแห่งยุค คือนายช่างเกษม มงคลเจริญ
พระหูยาน ( ปืนแตก ) วัดราชบพิธ จัดสร้างขึ้นในวโรกาสอันเป็นมงคลฉลอง ๑๐๐ ปีของวัด มีความพิถีพิถันในการจัดสร้างเป็นอย่างมากโดยมีการกำชับให้ช่างทำการเจือเนื้อโลหะทั้งหมดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จฯ ในการเททองวัตถุมงคลเป็นปฐมฤกษ์ ผสมกับเข้ากับแผ่นยันต์ที่ลงอักขระโดยพระคณาจารย์ต่าง ๆ ผู้ทรงวิทยาคุณ ๑๐๘ รูป ทั่วประเทศ พร้อมทั้งนำชนวนโลหะวัตถุมงคลทุกรุ่นที่ทางวัดราชบพิธได้เคยจัดสร้างมานำมาหลอมผสมลงในวัตถุมงคล
พิธีมหาพุทธาภิเษก ๓ วัน ๓ คืน
สำหรับพิธีมหาพุทธาภิเษกนั้นทางวัดเป็นกรณีพิเศษเป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน คือในระหว่างวันที่ ๒๙-๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีจุดเทียนชัยมหามงคลในวันศุกร์ที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณจากทั่วประเทศไทยในยุคนั้นนั่งอธิษฐานผลัดเปลี่ยนกันมาร่วมจิต ดังนี้
วันศุกร์ที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔
ระหว่างเวลา ๑๖.๓๐-๒๐.๐๐ น.
๑. พระเทพสังวรวิมล (เจียง) วัดเจริญสุขาราม จ.สมุทรสงคราม
๒. พระราชธปรมากรณ์ (เงิน) วัดดอนยายหอม จ.นคร ปฐม
๓. พระศูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา
๔. หลวงพ่อกี วัดหูช้าง จ.นนทบุรี
๕. พระครูโสภณพัฒนกิจ วัดอัมพวา บางกอกน้อย ธนบุรี กรุงเทพฯ
๖. พระครูสุทธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง จ.สมุทรสาคร
๗. พระครูโพธิสารประสาธน์ (บุญมี) วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี
๘. พระครูอุภัยภาดาทร (หลวงพ่อขอม) วัดโพธาราม (วัดไผ่โรงวัว) จ.สุพรรณบุรี
๙. พระครูนนทกิจวิมล (หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ จ.นนท บุรี
๑๐. พระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ
๑๑. พระอาจารย์อรุณ วัดตะล่อม ธนบุรี กรุงเทพฯ
๑๒. พระครูสมุห์สำรวย วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา
เวลา ๒๐.๐๐-๒๒.๐๐ น.
๑. พระราชสุทธาจารย์ (โชติ ระลึกชาติ) วัดวชิราลงกรณ์จ.นครราชสีมา
๒. พระนิโรธรังสีคัมภีร์เมธาจารย์ (หลวงปู่เทสก์ เทสโก) วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
๓. พระอินทสมาจารย์ (เงิน อินทสโร) วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ
๔. พระครูสภาพรพุทธมนต์ (สำเนียง อยู่สถาพร) วัดเวฬุวนาราม จ.นครปฐม
๕. พระครูกัลป์ยานุกูล (เฮง) วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี กรุงเทพฯ
๖. พระครูภาวนาภิรม วัดปากน้ำภาษีเจริญ ธนบุรี กรุงเทพ
๗. พระครูประภัสสรศีลคุณ (เอก) วัดไผ่ดำ จ.สิงห์บุรี
๘. พระครูสมุห์หิน วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
๙. หลวง พ่อใหญ่อภินันโท (จุล) วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จ.ลพบุรี
๑๐. พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโศธาราม จ.อุดรธานี
๑๑. พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน (พระธรรมวิสุทธิมงคล) วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
๑๒. พระครูใบฎีกาสมาน (หลวงพ่อเณร) วัดพรพระร่วง กรุงเทพฯ
เวลา ๒๒.๐๐-๒๔.๐๐ น.
๑. พระราชวตาจารย์ วัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพฯ
๒. พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
๓. พระวิเชียรมุนี วัดอินทราม กรุงเทพฯ
๔. พระพุทธมนต์วราจารย์ (สุพจน์) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
๕. พระโสภณมหาจารย์ วัดดาวดึงนาราม กรุงเทพฯ
๖. พระครูพิบูลมงคล วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
๗. พระมงคลสุรี วัดนาคกลาง กรุงเทพฯ
๘. พระครูปลัดสงัด วัดโพธิ์ท่าเตียน กรุงเทพฯ
๙. พระครูวินัยธร (เดช) วัดสระเกศฯ กรุงเทพฯ
๑๐. พระปลัดมานพ วัดชิโนรสราม กรุงเทพฯ
๑๑. พระมหาวาส วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ
๑๒. พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิ (สามปลื้ม) กรุงเทพฯ
พระสวดพุทธาภิเษก จาก ๒ วัดใหญ่ ได้แก่
- เวลา ๑๖.๓๐-๒๑.๐๐น. จำนวน ๔ รูป จากวัดสุทัศนเทพวราราม
- เวลา ๒๑.๐๐-๒๔.๐๐ น. จำนวน ๔ รูป จากวัดบวรนิเวศวิหาร
วันเสาร์ที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔
เวลา ๑๘.๐๐-๒๐.๐๐ น.
๑. พระธรรมวราลังการ วัดบุปผาราม ธนบุรี กรุงเทพฯ
๒.) พระโพธิวรคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธิ์นิมิต กรุงเทพฯ
๓. พระครูสีลวิสุทธาจารย์ วัดสง่างาม จ.ปราจีนบุรี
๔. พระครูประภัศระธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อแต้ม) วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
๕. พระครูประสิทธิสารคุณ (พ้น) วัดอุบลวรรณาราม จ.ราชบุรี
๖. พระครูสังฆวฒาจารย์ (หลวงปู่เย่อ) วัดอาฬาสงคราม จ.สมุทรปราการ
๗. พระอาจารย์หนู วัดบางกะดี่ กรุงเทพฯ
๘. พระอาจารย์มงคล (กิมไซ) วัดป่าเกตุ จ.สมุทรปราการ
๙. พระครูสมุห์ทองคำ วัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี
๑๐. พระอาจารย์สมภพ เตชบุญโญ วัดสาลีโขภิรตาราม จ.นนทบุรี
๑๑. พระอาจารย์ยาน วัดถ้ำเขาหลักไก่ จ.ราชบุรี
๑๒. พระอาจารย์บุญกู้ วัดอโศกตาราม จ.สมุทรปราการ
เวลา ๒๐.๐๐-๒๒.๐๐ น.
๑. พระสุนทรธรรมภาณ วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
๒. พระครูโสภณกัลป์นาณวัตร (เส่ง) วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
๓. พระครูวรพรตศีลขันธ์ (แฟ้ม) วัดป่าอรัญศิกาวาส จ.ชลบุรี
๔. พระครูปสาธน์วิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
๕. พระอาจารย์บุญเพ็ง วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
๖. พระอาจารย์สุวัจน์ วัดป่าภูธรพิทักษ์ จ.สกลนคร
๗. พระอาจารย์วัน วัดป่าอภัยวัน (ภูเหล็ก) จ.สกลนคร
๘. พระอาจารย์สุพัฒน์ วัดบ้านใต้ จ.สกลนคร
๙. พระอาจารย์ทองสุข วัดถ้ำเจ้าภูเขา จ.สกลนคร
๑๐. พระอาจารย์ฟัก สันติธัมโม วัดเขาน้อยสามผา จ.จันทบุรี
๑๑. พระอาจารย์ดวน วัดมเหยงค์ จ.นครศรีธรรมราช
๑๒. พระอาจารย์สอาด วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
เวลา ๒๒.๐๐-๒๔.๐๐ น.
๑. พระเทพเมธากร วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ
๒. พระราชวรญาณมุนี นุภพศิริมาตราม กรุงเทพฯ
๓. พระปัญญาพิศาลเถระ วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ
๔. พระครูโสภณสมาธิวัตร วัดเจ้ามูล ธนบุรี กรุงเทพฯ
๕. พระครูวิริยะกิตติ (หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี) ธนบุรี กรุงเทพฯ
๖. พระครูพิชัย ณรงค์ฤทธิ์ วัดสิตาราม กรุงเทพฯ
๗. พระครูปลัดถวิล วัดยางระหงษ์ จ.จันทบุรี
๘. พระอธิการพัตน์ วัดเเสนเกษม กรุงเทพฯ
๙. พระอาจารย์เชื้อ หนูเพชร วัดสะพานสูง กรุงเทพฯ
๑๐. พระอาจารย์รัตน์ วัดปทุมคงคา กรุเทพฯ
๑๑. พระครูสังฆรักษ์ (กาวงค์) วัดป่าดาราภิรมย์ จ.เชียงใหม่
๑๒. พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
พระสวดพุทธาภิเษก ดังนี้
เวลา ๑๘.๐๐-๒๑.๐๐ น. พระภิกษุ ๔ รูป จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
เวลา ๒๑.๐๐-๒๔.๐๐น. พระภิกษุ ๔ รูป จากวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
วันอาทิตย์ที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔
พระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาคมแห่งยุคในสมัยนั้น ครบถ้วน ๑๐๘ รูป เป็นวันที่สาม หลังพิธีมหาพุทธาภิเษกได้มีบรรดานายทหารจากกรมรักษาดินแดนและกระทรวงกลาโหม ซึ่งอยู่ใกล้กับวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามซึ่งได้มาบูชาพระหูยานรุ่นนี้ไปเป็นจำนวนมาก
ที่มาของพระหูยาน ปืนแตก
มีเรื่องเล่าว่ามีนายทหารได้นำพระหูยานไปเลี่ยมพลาสติกแขวนกับธงชาติจากนั้นจึงได้ชักธงชาติระดับเหนือศีรษะแล้วจึงทำการทดลองยิงปรากฏว่านัดแรกปืนยิงไม่ออก นัดที่สองปากกระบอกปืนแตกเป็นรอยร้าว จึงเรียกพระรุ่นนี้ว่ารุ่น “ปืนแตก
ประสบการณ์ พุทธคุณพระหูยาน ปืนแตก
พระหูยานรุ่นนี้ได้สร้างปาฏิหาริย์ช่วยเหลือบรรดาทหารที่ไปร่วมรบในสมรภูมิเวียดนามให้มีชีวิตรอดกลับแล้วหลายราย นอกจากนั้นยังสร้างประสบการณ์ให้แก่ผู้บูชาโดยเฉพาะด้านแคล้วคลาดปลอดภัย เป็นมหาอำนาจ ผู้คนเกรงขาม
จำนวนการสร้างพระหูยาน ( ปืนแตก ) วัดราชบพิธ หลัง จปร. ปี 2513
- เนื้อนวโลหะ ๕,๐๐๐ องค์
- เนื้อทองผสมที่มีทองแดงเป็นส่วนผสมหลัก ๒๐๐,๐๐๐ องค์
ที่มา : https://web.facebook.com/adulnanthad01/posts/636933189817221/
คาถาบูชาพระหูยานลพบุรี
นะมะนะอะ นอกอนะกะ กอออนออะ นะอะกะอัง อุมิอะมิ มะหิสุตัง สุนะกันตัง อะสุนะอะ
คาถาอาราธนาพระหูยานก่อนสวมคอ
พุทโธล้อม ธัมโมล้อม สังโฆล้อม พระพุทธเจ้ามาพร้อม สมเด็จพระพุทโธ นะโมพุทธายะ
บทความแนะนำ…
เลือกพระเครื่องให้เหมาะกับตนเอง พระเครื่องสำหรับข้าราชการ
พระเครื่อง เครื่องราง ชุดเบญจภาคีแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง