ไม่รู้ว่าผมคิดมากไปหรือเปล่า ผมคิดว่าพระสงฆ์ที่อยู่ในวัดก็เป็นอีกกลุ่มบุคคลหนึ่งที่อาจจะมีความเสี่ยงต่อการติดไวรัส COVID-19 ได้ง่าย เพราะเหตุว่า
- พระสงฆ์ต้องต้อนรับญาติโยมมากหน้าหลายตาในแต่ละวัน บางคนก็มาสนทนาธรรม มาถวายสังฆทาน มาปรึกษาปัญหาชีวิต หรือมากราบสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
- เวลาพระสงฆ์ออกไปรับบิณฑบาต ผมไม่แน่ใจว่าท่านได้ใส่หน้ากากอนามัยกันบ้างไหม ซึ่งการบิณฑบาตต้องเข้าไปในชุมชน ตลาดสด และยังอยู่ใกล้ผู้ใส่บาตรประมาณหนึ่งศอกอีกด้วย
- อาหารที่ญาติโยมนำมาใส่บาตร อันนี้น่าเป็นห่วง เพราะมาจากหลายที่ บ้างก็ทำเอง บางคนก็ซื้อที่ตลาดซึ่งเราไม่รู้ว่าสะอาดมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะในภาคอีสานชาวบ้านนิยมใช้มือจกข้าวเหนียวใส่บาตรพระ บางครั้งลูกหลานมาจากกรุงเทพ มาจากเมืองนอกก็ใส่บาตรด้วยวิธีนี้เช่นกัน
- ปัจจัยในตู้บริจาค พระอาจจะไม่ได้จับนับเงินเอง แต่ศิษย์วัดหรือกรรมการวัดจับ ซึ่งกรรมการก็ดูแลพระ อยู่ใกล้ชิดพระ อาจจะจับต้องสิ่งที่เกี่ยวข้องพระต้องใช้ จับจีวร หรือจับมือพระเป็นต้น หรืออยู่ใกล้ชิดพูดคุยกับพระ ก็เสี่ยงเหมือนกันนะครับ
- การเดินทาง นั่งแท็กซี่ นั่งรถสาธารณะ ในข้อนี้ หากไม่มีการป้องกันตัวก็มีความเสี่ยงเท่า ๆ กับคนอื่น
- จีวร พระหลายรูปใช้จีวรผืนเดิม ๆ 2 -3 วัน หรืออาทิตย์ซักครั้งหนึ่ง ยิ่งพระวัดป่า 15 วันถึงจะซักย้อมด้วยน้ำร้อนครั้งหนึ่ง หากมีเชื้อติดที่จีวรหลังจากที่ท่านออกไปข้างนอกมาแล้ว โอกาสที่จะติดเชื้อจากจีวรนั้นก็มีมาก เพราะพระต้องรักษาผ้าครอง ไม่ให้อยู่ห่างกายเวลาจำวัดในตอนกลางคืน
- ไม่ได้สวมรองเท้า เวลาพระบิณบาตไม่ได้ใส่รองเท้า ผมไม่แน่ใจว่าหากเท้ามีแผล มีรอยแตกบ้างนิดหน่อยแล้วเชื้อสามารถเข้าไปได้ไหม ซึ่งก็อันตรายอยู่ไม่น้อยนะครับ เกี่ยวกับความไม่สะอาดบนพื้นถนน โดยเฉพาะแถวตลาดสด
ทั้ง 5 ข้อ นี้ สิ่งที่น่ากังวลที่สุด คือเรื่องอาหารครับ เพราะพระไม่สามารถที่จะเลือกได้ว่าต้องรับอาหารแบบไหน ที่ไหน กับใคร ฉะนั้น ผมอยากผู้ที่ทำบุญควรที่จะใส่ในเรื่องนี้