พระพุทธศาสนากับการป้องการโรคร้ายต่าง ๆ เป็นต้นว่าไวรัส COVID-19 ที่ระบาดในขณะนี้ สิ่งที่ผมกล่าวถึงอาจจะเป็นส่วนของทฤษฎีหรือหลักการ แต่ในภาคปฏิบัติของชาวพุทธเองอาจจะไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป ซึ่งมันที่น่าเสียดายที่ละเราละคำสอนในทางพระพุทธศาสนา หรือขนบธรรมเนียมของชาวพุทธไปเสีย
พระพุทธศาสนาสอนให้เว้นจากการฆ่าสัตว์
ผมพูดเฉพาะการฆ่าตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท หากไม่มีการนำสัตว์ทุกชนิดมาฆ่าด้วยเหตุอันใดก็ตาม การกระทำอันละเมิดศีลข้อที่หนึ่งในศีลห้านั้นอาจจะเป็นที่มาของการแพร่เชื้อโรคต่าง ๆ ซึ่งเชื้อโรคที่ผ่านมา เกิดจากสัตว์ เกิดจากการทำร้ายชีวิตสัตว์แล้วติดมาสู่มนุษย์ ยิ่งพระพุทธศาสนาแบบมหายานห้ามกินเนื้อสัตว์ หากเหล่าชาวพุทธปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ตนนับถือมา โรคร้ายต่าง ๆ ก็อาจจะไม่ตามมาก็ได้
พระพุทธศาสนาสอนให้พิจารณาก่อนบริโภคใช้สอย
พระพุทธศาสนาสอนให้พิจารณาสิ่งต่าง ๆ โดยแยบคายก่อนบริโภคใช้สอย อย่างที่พระท่านว่า กินเพื่ออยู่ ไม่ใช่อยู่เพื่อกิน กินเพื่อประทังชีวิตเหมือนน้ำมันหยอดเพลาล้อพอให้เดินได้ ไม่ใช่กินทุกอย่าง กินอะไรที่ไม่จำเป็นต้องกิน เช่น เนื้อดิบ อาหารที่ไม่ได้ปรุงสุก หรือเนื้อบางชนิด ก็ไม่ควรกิน มันไม่ใช่ของที่มีอยู่โดยสาธารณะทั่วไป แต่ก็ดั้นด้นไปหามากิน ฉะนั้น ควรบริโภคในสิ่งที่ควรบริโภค ตามโลกนิยมกันว่าดี ปลอดภัย ถูกสุขอนามัย
พระพุทธศาสนาสอนให้งดจากการดื่มสุรา ของมึนเมา
จากการที่ผมได้ติดตามข่าวมา จะเห็นว่าไวรัส COVID-19 ติดผ่านวงสุรา ติดผ่านงานเลี้ยง โดยการกินเหล้าในแก้วเดียวกัน สูบบุหรี่มวนเดียวกัน ถ้าหากเรางดเว้นการดื่มสุราและสูบบุหรี่เสีย ก็จะเลี่ยงจากการติดเชื้อ COVID-19 ได้ในระดับหนึ่ง
ธรรมเนียมในพระพุทธศาสนาใช้การไหว้แทนการจับมือ
การไหว้นั้น จะเป็นธรรมเนียมของชาติใดก็ตามไม่ต้องถกเถียงกันแล้ว แต่พระพุทธศาสนาใช้ธรรมเนียมการไหว้นี้มาตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่ก็เชื่อว่าน่าจะมีใช้ก่อนนั้นอีกในประเทศอินเดีย มีหลายศัพท์ที่ปรากฏในบาลี เป็นต้นว่า อัญชลี วันทา ซึ่งไม่ใช่ศัพท์ใหม่ เป็นศัพท์ที่ใช้ในพระไตรปิฏกมา อย่างคำว่า อัญชลีกรณีโย ในบทสังฆคุณ