Skip to content
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

  • Home
  • ทำบุญ
  • ธรรมะ
  • คาถา
  • นิทาน
  • นำโชค
  • เรื่องผี
  • ตำนาน
  • หนังสือ
  • เรียกจิต
  • ประเพณี
  • ภาษาวัด
  • ทายนิสัย
  • พระเครื่อง
  • เครื่องราง
  • นานาสาระ
  • ยาสมุนไพร
  • พระสายกรรมฐาน
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

ถวายปราสาทผึ้ง อานิสงส์สุดซึ้งในผลทาน เบิกบานทั้งครอบครัว

พระคุ้มครอง, 7 กรกฎาคม 201916 ตุลาคม 2021
เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

เราไม่มีภาพ ปราสาทผึ้ง ชมภาพเทียนพรรษาแทน
เราไม่มีภาพ ปราสาทผึ้ง ชมภาพเทียนพรรษาแทน

การถวายปราสาทผึ้ง หรือปราสาทที่ทำด้วยขี้ผึ้งนั้นเป็นประเพณีที่ชาวพุทธทำการแห่ไปถวายที่วัด โดยเฉพาะพี่ชาวจังหวัดสกลนครถือว่าเป็นงานประเพณีที่สำคัญของจังหวัด และนิยมทำถวายช่วงเทศกาลออกพรรษา

ประเพณีแห่ประสาทผึ้งที่จังหวัดสกลนคร จัดขึ้นในช่วงไหน

ประเพณีแห่ประสาทผึ้งเพื่อถวายวัดในจังหวัดสกลนคร จะจัดขึ้นตั้งแต่ วันขึ้น 10-14 ค่ำ ส่วนวันแห่คือวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ณ วัดพระธาตุเชิงชุมวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

ประโยชน์ของประเพณีถวายปราสาทผึ้ง

  1. เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
  2. เพื่อตั้งความปรารถนาไว้ หากเกิดในภพมนุษย์ขอให้มีปราสาทราชมณเฑียรอาศัยอยู่ด้วยความมั่งมีศรีสุข ถ้าเกิดในสวรรค์ขอให้มีปราสาทอันสวยงามมีนางฟ้าแวดล้อมเป็นบริวารจำนวนมาก
  3. เพื่อรวมพลังสามัคคีทำบุญทำกุศลร่วมกัน พบประสนทนากันฉันท์พี่น้อง
  4. เพื่อเป็นการประกาศหลักศีลธรรม ทางบุญทางกุศลให้ปรากฏ โดยชาวคุ้มวัดต่างๆ ร่วมกับข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนบริจากเงินตามศรัทธาพร้อมกันทำปราสาทผึ้งวันที่สามทำบุญออกพรรษา กลางคืนมีการสมโภชตามสมควร

คำถวายปราสาทผึ้ง

มะยัง ภันเต, อิมัง สะปะริวารัง, มะธุปุปผะปาสาทัง, อิมัสมิง วิหาเร, ภิกขุสังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมัง สะปะริวารัง, มะธุปุผะปาสาทัง, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายปราสาทผึ้ง พร้อมทั้งบริวารนี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ของพระภิกษุสงฆ์จงรับปราสาทผึ้ง พร้อมทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ.

คำถวายประสาทผึ้งอุทิศผู้ตาย

เอตัง มะยัง ภันเต มะธุปุปผะปาสาทัง สะปะริวารัง มะตะกัสสะ ทักขิณานุปะทานัตถายะ ภิกขุสังฆัสสะ นิยยาเทมะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ เอตัง มะธุปุปผะปาสาทัง สะปะริวารัง ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัญเจวะ มะตะกัสสะ จะ ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายปราสาทผึ้ง พร้อมกับของบริวารนี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ เพื่อประโยชน์เป็นทักษิณานุปทาน แก่ท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับปราสาทผึ้ง พร้อมกับของบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ท่านผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย ตลอดกาลนาน เทอญ ฯ

ปราสาทผึ้ง
เราไม่มีภาพ ปราสาทผึ้ง ชมภาพเทียนพรรษาแทน

อานิสงส์ของการถวายปราสาทผึ้ง

ในกาลครั้งหนึ่งนั้นองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่กรุงสาวัตถี เป็นที่โคจร
บิณฑบาตพระองค์ประทับอยู่ในบุพพารามวิหาร ทรงขวนขวายแต่ที่จะรื้อเวไนยสัพพะสัตว์ทั้งปวง ให้ออกจากสังสารวัฎตรัสพระสัทธรรมเทศนาโปรดสัตว์ ให้ได้มรรคสี่ ผลสี่ ประดิษฐานในพระนิพพานอันเกษมสุขนิราศภัย

…..ในกาลครั้งนั้น ยังปัสเสนะทิโกสะโลราชา อยู่มาในวันเพ็ญแห่งเดือนสามบรม
กษัตริย์ก็ตรัสสั่งให้เสวกามาตย์สร้างปราสาทผึ้ง แล้วเสนามาตย์ก็จัดแจงสร้างตามรับสั่งเสร็จแล้ว สมเด็จพระเจ้าปัสเสนทิโกศลราชบพิตรก็เอานักสนม นางกำนัลในบรรพษัททั้งหลาย มีพราหมณ์ คหบดีเป็นต้นก็แห่แวดล้อมปราสาทดอกผึ้งเสด็จออกไปจากกรุงสาวัตถี ณ เวลาเช้าไปสู่บุพพารามวิหาร อันเป็นสำนักองค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาค ถวายบูชาธุปประทีปดอกไม้คันธะรสของหอมแล้ว ก็ถวายมธุปุปผํปาสาทํยังปราสาทดอกผึ้ง แล้วก็สถิตอยู่ในที่ควรข้างหนึ่งแล้วจึงกราบทูลว่า “ภนฺเต ภควา” ข้าแต่พระพุทธอันประเสริฐ อุดมด้วยพระบวรสมันตญาณพระพุทธเจ้าข้า บุคคลผู้มีศรัทธามาก่อสร้างมธุปปฺผํปาสาทํยังปราสาทดอกผึ้ง ให้เป็นทานจะมีอานิสงส์ดั่งลือพระพุทธเจ้าข้า

…. ครั้งนั้นองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระสัทธรรมเทศนาว่า ดูกรมหาบพิตรราชสมภาร บุคคลผู้มีศรัทธามาก่อสร้างมธุปปฺผังให้ทานก็จะได้อานิสงส์ 8 กัล์ป ท่านจะได้สำเร็จวิบูลย์สุขสมบัติไพศาล อันจะเป็นประจักษ์ในปัจจุบันนี้ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักแก่คนทั้งหลาย เป็นผู้มีมิตรสหายมากกิตติศัพท์ความสรรเสริญลือกระฉ่อนไปทั่วทิศานุทิศกล้าหาญในสมาคมไม่ครั่นคร้าม ผู้นั้นประกอบไปด้วยปัญญามีสติสัมปชัญญะ ไม่ฟั่นเฟือนเมื่อสิ้นชีพแล้วจะได้ไปอุบัติสุคติบนสวรรค์ ท่านย่อมมีผลทั้งในภพนี้ และภพหน้านำกุศลสมบัติให้มีโภคะบริบูรณ์เป็นที่พึ่งของปวงสัตว์ผู้เข้าไปสำนักของท่านก็บริบูรณ์ เพราะอานิสงส์ที่ถวายปราสาทดอกผึ้งนั้นและโดยมีเหตุอ้างอยู่ในเมื่อครั้งศาสนาของพระพุทธเจ้านามว่าวิปัสสีกุฎมพีผู้หนึ่ง ได้ถวายปราสาทผึ้งแก่พระพุทธเจ้าวิปัสสีแล้วจึงตั้งปณิธาน ความปรารภว่าให้ข้าพเจ้าได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งเถิด ครั้นสิ้นชีพแล้วก็ได้ไปอุบัติขึ้นบนสวรรค์ ในชั้นดาวดึงส์ มีวิมานสูงได้ 12 โยชน์ มีนางฟ้าเทพอัปสรกัลป์หมื่นหนึ่ง ครั้นจุติจากชั้นฟ้าที่นั้นแล้วก็ได้มาอุบัติในสาคคะยา พราหมณ์มหาศาลผู้มีข้าวของถึง 80 โกฏิ ทรงพระนามว่าคะวัมปัตติกุมาร ครั้นเจริญใหญ่ขึ้นมาบิดาก็ได้อภิเษก แล้วมอบทรัพย์สมบัติให้ครอง ครั้นถึงสมัยพระบรมศาสดาจารย์ของเรา ออกไปบรรพชา ท่านก็ออกไปบรรพชาด้วยเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งศาสนาพุทธเจ้าของเรา ด้วยอานิสงส์ท่านได้สร้างมธุปูปฺผังปาสาทดอกผึ้งให้เป็นทานนั้นแล


เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถวายหน้าต่างถวายบานหน้าต่าง สร้างอานิสงส์กว้างไกล ได้พบแสงสว่าง นำทางชีวิต ถวายฐานชุกชีถวายชุกชี (ฐานพระ) อานิสงส์หนักแน่นฐานะมั่นคงถาวร พระปรางค์ถวายพระปรางค์ อานิสงส์ผลบุญส่งให้มั่นคง สูงส่ง หนักแน่น ถวายจักรเย็บผ้า อานิสงส์ส่งให้มีความสมบูรณ์พูนสุขถวายจักรเย็บผ้า อานิสงส์ส่งให้มีความสมบูรณ์พูนสุข
สังฆทาน คำถวายคำถวายทานถวายทานทานทำบุญพระสงฆ์สังฆทานอานิสงส์

แนะแนวเรื่อง

Previous post
Next post

สวัสดียามเช้า พระคุ้มครอง

  • คลิป VIDEO
  • คอมพิวเตอร์
  • คาถา
  • ดาวน์โหลด
  • ตำนาน
  • ธรรมะคุ้มครอง
  • นานาสาระ
  • นิทาน
  • นิสัยใจคอ
  • บ้านและสวน
  • ประเพณี
  • พระสายกรรมฐาน
  • พระเครื่อง
  • ภาษาวัด ภาษาไทย
  • ยาสมุนไพรโบราณ
  • วัดธรรมยุตในต่างประเทศ
  • ส่งคำอวยพร
  • สังฆทาน
  • สิ่งนำโชค
  • สุขภาพ
  • อาชีพและครอบครัว
  • เครื่องราง
  • เรียกจิต
  • เรื่องผี
  • แนะนำหนังสือ
  • แบ่งปัน
  • ไม้ประดับ ไม้มงคล

เว็บไซต์แห่งนี้ นำเสนอบทความเกี่ยวกับ วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง มนต์คาถา พิธีกรรมต่าง ๆ
ซึ่งทั้งหมด เป็นที่พึ่งทางจิตใจ เป็นความรู้ เป็นความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมา
ทางเราไม่อาจจะพิสูจน์ได้ว่า ความเชื่อเหล่านั้นเป็นจริงหรือไม่
ผู้เขียนบทความ ไม่อาจจะรับรองความเชื่อนั้นว่าจะได้ผลจริง หากท่านนำไปปฏิบัติตาม
หน้านโยบายความเป็นส่วนตัว

บทความต่าง ๆ บนเว็บไซต์นี้ แม้ทางเรานำเสนอโดยการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จึงมาเขียน ฉะนั้น ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความโดยพยัญชนะ