“มัคทายก” กับ “มัคนายก” คำไหนถูก ?
คำที่ถูก คือ “มัคนายก”
คำนี้ต้องสะกด “มัคนายก” แต่คนส่วนใหญ่มักใช้ผิด คงเป็นเพราะคุ้นกับคำว่า “มัคทายก” มานานจนคิดว่าเป็นคำที่ถูกต้อง หากเปิดพจนานุกรมดู จะพบว่าคำนี้เขียนได้สองแบบ
ถ้าเขียนแบบบาลี สะกดว่า “มัคนายก”
คำว่า “มัคนายก” มาจากคำว่า (มคฺค + นายก)
ถ้าเขียนแบบสันสกฤต สะกดว่า “มรรคนายก”
คำว่า “มรรคนายก” มาจากคำว่า (มารฺค + นายก)
ทั้งสองแบบมีความหมายเหมือนกัน ว่า “ผู้นำทาง” คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด.
เหตุที่คนส่วนใหญ่ใช้คำ “มัคทายก” อาจเพราะนำไปสับสนกับคำ “ทายก-ทายิกา” ซึ่งหมายถึง ผู้ถวายจตุปัจจัยแก่ ภิกษุสามเณร
ที่มา : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕
สรุป
มีและใช้คำว่า มัคนายก
ไม่มีคำว่า มัคทายก และไม่ใช้ ถ้าใช้ก็คือความหมายผิด
มีคำว่า “ทายก-ทายิกา” ซึ่งหมายถึง ผู้ถวายจตุปัจจัยแก่ ภิกษุสามเณร
ฝากถึงผู้เป็นโฆษกทายก-ทายิกาทั้งหลายใช้ให้ถูก