Skip to content
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

  • Home
  • ทำบุญ
  • ธรรมะ
  • คาถา
  • นิทาน
  • นำโชค
  • เรื่องผี
  • ตำนาน
  • หนังสือ
  • เรียกจิต
  • ประเพณี
  • ภาษาวัด
  • ทายนิสัย
  • พระเครื่อง
  • เครื่องราง
  • นานาสาระ
  • ยาสมุนไพร
  • พระสายกรรมฐาน
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

พระเนื้อชิน พระกรุเก่า องค์พระสวยงาม ตามด้วยพุทธคุณสูง

พระคุ้มครอง, 18 กุมภาพันธ์ 202128 มิถุนายน 2021
เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

พระปรกโพธิ์ เนื้อชินเงิน กรุดงสะคูห์ อายุนับพันปี
พระปรกโพธิ์ เนื้อชินเงิน กรุดงสะคูห์ อายุนับพันปี

การสร้างพระเครื่องนั้น มักนิยมใช้มวลสารต่าง ๆ ในการสร้างสรรค์องค์พระให้ขึ้นเป็นรูปขึ้นมา ซึ่งพระเนื้อชินถือได้ว่าเป็นเนื้อพระชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติดีเด่นในหลาย ๆ ด้าน และถือว่าเป็นการสร้างสรรค์จากภูมิปัญญาอันชาญฉลาดที่ทำให้ได้พระเครื่องที่มีความสวยงามจับใจ แถมยังมีความทนทานแข็งแรงและมั่นคงอย่างมาก และในวันนี้เราจะมาแนะนำพระเนื้อชินให้คุณได้รู้จักกันมากยิ่งขึ้น

พระเนื้อชิน คืออะไร

ในแวดวงพระเครื่องนั้น มีพระดัง ๆ มากมายที่เป็นพระเนื้อชิน ซึ่งสำหรับคนที่ยังไม่ค่อยรู้จักว่าเนื้อพระแบบนี้เป็นอย่างไร เราจะอธิบายเพิ่มเติมให้ทราบว่าพระเนื้อชินเป็นพระที่ได้จากการผสมโลหะสองชนิดเข้าด้วยกันคือ ดีบุกกับตะกั่ว โดยมีอัตราส่วนอยู่ที่ตะกั่ว 30 % และดีบุก 70 % โดยคุณสมบัติของโลหะทั้งสองประการมีคุณสมบัติที่เป็นจุดเด่นที่น่าสนใจก็คือ ตะกั่วเป็นแร่ธาตุที่มีจุดหลอมเหลวต่ำและมีการนำไฟฟ้าต่ำ ในขณะที่ดีบุกจะมีจุดหลอมเหลวต่ำและนำไฟฟ้าต่ำได้ พร้อมทั้งยังมีคุณสมบัติต้านทานการผุกร่อนได้เป็นอย่างดี เมื่อนำมาผสมผสานกันจะทำให้การขึ้นรูปพระเครื่องทำได้ง่าย มีความปลอดภัย เพราะมีความสามารถในการนำไฟฟ้าต่ำ

ชนิดของพระเนื้อชิน

พระเนื้อชิน มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด โดยสามารถแบ่งออกได้ตามลักษณะของสีผิวและผิวของเนื้อพระเครื่อง ดังต่อไปนี้

  • ชินตะกั่ว เป็นพระเนื้อชินที่มีส่วนผสมของตะกั่วในปริมาณสูง ทำให้เนื้อพระมีคราบสนิมสีแดงและอาจมีคราบขาวภายนอกเคลือบคราบสนิมสีแดงอีกที
  • ชินเงิน สีของเนื้อพระจะเป็นสีเนื้อเงินสุก ทำมาจากโลหะผสมที่ประกอบด้วยตะกั่ว, ดีบุก, พลวง และสังกะสี
  • ชินปรอท มีสีของผิวพระคล้ายกับเนื้อชินเงิน แต่ที่แตกต่างคือ ผิวพระเครื่องจะมีคราบปรอทจับอยู่ด้วย
  • ชินตะกั่วผสมสังกะสี เนื้อพระจะมีผลออกเป็นสีเขียว
  • ชินตะกั่วผสมเงิน มีสีเนื้อพระเป็นสีขาวอมเหลือง มีเนื้อค่อนข้างอ่อนและยืดหยุ่น สามารถงอองค์พระได้โดยไม่ทำให้หัก
พระนาคปรก กรุวัดปืน จ.ลพบุรี เนื้อชิน พุทธคุณเยี่ยม
พระนาคปรก กรุวัดปืน จ.ลพบุรี เนื้อชิน พุทธคุณเยี่ยม

ความเป็นมาของพระเนื้อชิน

พระเนื้อชินได้รับความนิยมอย่างมากในยุคสุโขทัย, อยุธยา เนื่องจากวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบนั้นสามารถหาได้ง่ายและกรรมวิธีในการทำมีความไม่ยุ่งยาก อีกทั้งตะกั่วและดีบุกยังเป็นโลหะที่มีจุดหลอมเหลวต่ำในอุณหภูมิที่ไม่สูงนัก เย็นตัวเร็ว จึงเหมาะกับสภาพแวดล้อมในการผลิตในสมัยโบราณที่เทคโนโลยีในการผลิตยังไม่สูงมากนัก และโดยส่วนใหญ่แล้วพระเนื้อชินจะเป็นศิลปะของช่างหลวง เพราะกรรมวิธีในการเตรียมการนั้นค่อนข้างจะต้องมีความซับซ้อนและใช้แรงงานผู้คนในการทำค่อนข้างมาก ดังนั้นผู้ที่จะครอบครองพระเนื้อชินนี้จึงมักเป็นชนชั้นเจ้านายระดับสูง การค้นพบพระเนื้อชินจึงมักพบในกรุโบราณตามสถานที่ที่สำคัญ อย่างกรุเจดีย์ในพระนครศรีอยุธยา หรือกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก เป็นต้น

กรรมวิธีการสร้างพระเนื้อชิน

การสร้างพระเนื้อชินนั้นสามารถทำได้โดยการนำโลหะทั้งสองชนิดคือ ตะกั่วและดีบุก มาทำการหลอมละลายแล้วเทลงในเบ้าหล่อพระ หรือกดลงไปในแบบพิมพ์พระ โดยแบบพิมพ์พระจะมีการแกะเอาไว้ก่อนโดยใช้วัสดุที่ทำมาจากไม้, ดินเหนียว หรือหิน

พุทธคุณ พระเนื้อชิน

เมื่อพูดถึงพุทธคุณหลักที่สำคัญและโดดเด่นของพระเนื้อชิน ต้องยกให้ในเรื่องของความคงกระพัน แคล้วคลาด เนื่องจากในสมัยโบราณนั้น พระเนื้อชินได้ชื่อว่าเป็นพระประจำกายของชนชั้นนำและนักรบชั้นสูงที่ทำให้การปลุกเสกพระจึงต้องเน้นพุทธคุณด้านความอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด อุดมไปด้วยทรัพย์และทรงอำนาจ

พระร่วงนั่งซุ้มระฆัง กรุวัดท้าวโคตร จ.นครศรีธรรมราช เนื้อชินเงิน
พระร่วงนั่งซุ้มระฆัง กรุวัดท้าวโคตร จ.นครศรีธรรมราช เนื้อชินเงิน

วิธีการล้างทำความสะอาดพระเนื้อชิน

พระเนื้อชินได้ชื่อว่าเป็นพระเครื่องที่มีความโดดเด่นในเรื่องพุทธคุณและยังเป็นพระเก่า หายาก ราคาสูง และด้วยความที่เป็นพระเก่าที่ขุดขึ้นมาได้จากกรุโบราณจึงทำให้เนื้อพระเครื่องมักมีคราบดินและฝุ่นจับองค์พระอยู่ค่อนข้างหนาจนทำให้สังเกตความงามของเนื้อพระได้ยาก ดังนั้นจึงต้องมีการล้างทำความสะอาดโดยพระเนื้อชินแต่ละชนิดจะมีกรรมวิธีที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้

1.พระเนื้อชินเขียวและเนื้อชินตะกั่ว ใช้น้ำยาทำความสะอาดผสมน้ำ จากนั้นใช้แปรงสีฟันจุ่มน้ำยาขัดเบาๆ จนคราบสกปรกฝังแน่นหลุดออก จากนั้นก็ล้างด้วยแชมพูอ่อนๆ อีกครั้ง

2.พระเนื้อชินเงิน ผสมน้ำและผงซักฟอกอ่อนๆ แล้วใช้พู่กันจุ่มน้ำนำไปปัดเบาๆ ทั่วองค์พระ จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดแล้วนำไปผึ่งลมให้แห้ง

ข้อควรระวังในการล้างทำความสะอาดพระเนื้อชินที่ควรรู้เพิ่มเติมก็คือ ไม่ควรทำการล้างพระเนื้อชินที่ได้ขึ้นมาจากกรุใหม่ๆ เพราะเนื้อพระถูกฝังอยู่ในกรุมาเป็นเวลานาน จึงยังไม่ได้มีการปรับสภาพให้เข้ากับอุณหภูมิและสิ่งแวดล้อมภายนอก การขัดล้างพระเครื่องเนื้อชินที่เพิ่งขุดขึ้นมาได้ใหม่ดังกล่าวจึงมีโอกาสที่จะทำให้เนื้อพระหรือผิวพระเดิมเกิดความเสียหายหรือเปลี่ยนสภาพไปได้ ดังนั้น จึงควรทิ้งระยะเวลาให้พระเครื่องทำการปรับสภาพให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกก่อน จึงจะทำการล้างพระ พระเนื้อชินเป็นพระเก่าที่ทรงคุณค่าและมีพุทธคุณสูง จึงทำให้มีราคาสูงตามไปด้วย ดังนั้นการดูแลรักษาพระเนื้อชินจึงเป็นเรื่องที่ต้องใหความใส่ใจอย่างมาก โดยจะต้องระมัดระวังไม่ให้เนื้อพระเกิดความเสียหายหรือเปลี่ยนสภาพ


เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

บทความที่เกี่ยวข้อง

พระปรกโพธิ์ เนื้อชินเงิน กรุดงสะคูห์ อายุนับพันปีพระปรกโพธิ์ เนื้อชินเงิน กรุดงสะคูห์ พระเก่าอายุนับพันปี พระร่วงนั่ง หลังลิ่ม กรุวัดช้างล้อม จ.สุโขทัย เนื้อชินเงินพระร่วงนั่ง หลังลิ่ม กรุวัดช้างล้อม จ.สุโขทัย เนื้อชินเงิน พระร่วงนั่งซุ้มระฆัง กรุวัดท้าวโคตร จ.นครศรีธรรมราช เนื้อชินเงินพระร่วงนั่งซุ้มระฆัง กรุวัดท้าวโคตร จ.นครศรีธรรมราช เนื้อชินเงิน พระกรุ พิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว เนื้อชิน วัดพระศรีมหาธาตุพระกรุ พุทธชินราช เส้นคู่ ซุ้มเรือนแก้ว เนื้อชิน กรุโรงทอ
พระเครื่อง พระเนื้อชิน

แนะแนวเรื่อง

Previous post
Next post

สวัสดียามเช้า พระคุ้มครอง

  • คลิป VIDEO
  • คอมพิวเตอร์
  • คาถา
  • ดาวน์โหลด
  • ตำนาน
  • ธรรมะคุ้มครอง
  • นานาสาระ
  • นิทาน
  • นิสัยใจคอ
  • บ้านและสวน
  • ประเพณี
  • พระสายกรรมฐาน
  • พระเครื่อง
  • ภาษาวัด ภาษาไทย
  • ยาสมุนไพรโบราณ
  • วัดธรรมยุตในต่างประเทศ
  • ส่งคำอวยพร
  • สังฆทาน
  • สิ่งนำโชค
  • สุขภาพ
  • อาชีพและครอบครัว
  • เครื่องราง
  • เรียกจิต
  • เรื่องผี
  • แนะนำหนังสือ
  • แบ่งปัน
  • ไม้ประดับ ไม้มงคล

เว็บไซต์แห่งนี้ นำเสนอบทความเกี่ยวกับ วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง มนต์คาถา พิธีกรรมต่าง ๆ
ซึ่งทั้งหมด เป็นที่พึ่งทางจิตใจ เป็นความรู้ เป็นความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมา
ทางเราไม่อาจจะพิสูจน์ได้ว่า ความเชื่อเหล่านั้นเป็นจริงหรือไม่
ผู้เขียนบทความ ไม่อาจจะรับรองความเชื่อนั้นว่าจะได้ผลจริง หากท่านนำไปปฏิบัติตาม
หน้านโยบายความเป็นส่วนตัว

บทความต่าง ๆ บนเว็บไซต์นี้ แม้ทางเรานำเสนอโดยการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จึงมาเขียน ฉะนั้น ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความโดยพยัญชนะ