งาช้างดำที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำจังหวัดน่าน ตั้งอยู่ภายในคุ้มของอดีตเจ้าผู้ครองนครน่าน (หอคำ) ถนนผากอง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
ลักษณะเฉพาะของงาช้างดำ จังหวัดน่าน
- ปลีงาขนาดยาว 97 เซนติเมตร
- วัดโดยรอบตรงส่วนที่ใหญ่ที่สุดได้ 47 เซนติเมตร
- โพรงตอนโคนลึก 14 เซนติเมตร
- สีไม่ได้ดำสนิทแต่ออกสีน้ำตาลเข้ม
- น้ำหนักประมาณ 18 กิโลกรัม
- สันนิษฐานว่าเป็นงาข้างซ้ายเพราะมีรอยเสียดสีกับงาชัดเจน
ตำนาน งาช้างดำ จังหวัดน่าน
ตำนานที่ 1
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2353-2368 ตรงกับสมัยของพระเจ้าสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน มีพรานคนหนึ่งซึ่งเป็นชาวเมืองน่านได้เข้าป่าเพื่อล่าสัตว์ ได้เข้าไปถึงเขตแดนระหว่างไทยกับเชียงตุงและได้พบกับซากช้างตัวดำสนิทล้มในห้วย จังหวะเดียวกันนัันพรานป่าชาวเชียงตุงก็มาพบเข้าด้วยกัน พรานทั้งสองคนจึงแบ่งงาช้างดำนั้นกันคนละกิ่ง ซึ่งต่างคนก็นำมาถวายเจ้าเมืองของตน ต่อมาเจ้านครเชียงตุงได้ส่งสารมาทูลเจ้าสุมนเทวราชว่า “ตราบใดงาช้างดำคู่นี้ไม่สูญหาย เมืองน่านกับเมืองเชียงตุงจะเป็นมิตรไมตรีกันตลอดไป…”
ตำนานที่ 2
เกิดขึ้นในสมัยที่เมืองน่านได้ยกทัพไปล้อมเมืองเชียงตุงไว้หลายเดือน ทำให้ชาวเมืองเชียงตุงเกิดความเดือดร้อนไม่มีอันจะกิน โหรหลวงประจำเมืองเชียงตุงจึงได้ทูลเจ้าเมืองว่า “เป็นเพราะมีงาช้างดำอยู่ด้วยกัน ทางที่ดีควรแยกออกจากกัน…” แต่นั้นจึงนำงาช้างดำกิ่งอีกกิ่งหนึ่งมอบให้กองทัพเมืองน่านไป แล้วกระทำสัตย์สาบานต่อกันเพื่อที่จะเป็นมิตรต่อกันตลอดกาล ความสำคัญประการหนึ่งของงาช้างดำนี้ เชื่อกันว่า พญาการเมือง เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 6 ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 ได้ทำการสาปแช่งเอาไว้ว่า “ให้งาช้างดำนี้เป็นของคู่บ้านคู่เมืองน่านตลอดไป ผู้ใดจะนำไปเป็นสมบัติส่วนตัวมิได้ ต้องไว้ที่หอคำหรือวังเจ้าผู้ครองนครน่านเท่านั้น…”
บทความแนะนำ
– ตำนาน งากำจัด งากำจาย งาสะเด็น รู้แล้วอึ้ง
– งากำจัด งากำจาย งาสะเด็น งาขนาย
- ที่มาของเนื้อหา : https://th.wikipedia.org/wiki/พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ_น่าน
- ภาพประกอบบทความไม่เกี่ยวกับเนื้อหา