พระผงพุทธเอกนพรัตน์ หรือเรียกเต็ม ๆ ว่า พระพุทธกาญจนาภิเษกเอกนพรัตน์ สร้างโดย คณะศิษย์ของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสารมหาเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดราชผาติการาม กรุงเทพมหานคร อันมีคณะสงฆ์ พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย (พระธรรมปาโมกข์ เจ้าอาวาสวัดราชผาติการามรูปปัจจุบัน เป็นเจ้าการ) เพื่อเป็นราชสักการะปูชนียานุสรณ์ ในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งองค์ใหญ่นั้นมีความสูง ๒๙๒ เซนติเมตร ความกว้างฐานพระ ๑๒๖ เซนติเมตร ความยาวฐานพระ ๑๓๖ เซนติเมตร รอบฐานพระ ๔๓๙ เซนติเมตร ซึ่งนอกจากท่านจะสร้างองค์ใหญ่แล้ว ยังได้สร้างองค์ขนาดบูชาขนาดต่าง ๆ และสร้างเป็นพระเนื้อผงไว้แจกจ่ายอีกด้วย
ปฏิมา ๓ สมัย
พระพุทธกาญจนาภิเษกเอกนพรัตน์ เป็นพระพุทธปฏิมา ๓ สมัย ได้แก่ สุโขทัย เชียงแสน และอู่ทองมี
๔ อิริยาบถ
คือ ยืน เดิน นั่ง นอน (ยืนกับเดินทำอยู่ในอิริยาบถเดียวกัน)
สร้างตามวาระแห่งวาร (คือวัน) ทั้ง ๙ เป็น ๙ ปางรวมปางยืนอธิษฐานประทับรอยพระพุทธบาทด้วยกันพระพุทธรูป ๑๐ ปาง ดูเพิ่มเติม…พระพุทธกาญจนาภิเษกเอกนพรัตน์
พระพุทธรูป ๑๐ ปางเหล่านี้แล ได้ถวายพระนามว่า พระพุทธกาญจนาภิเษกเอกนพรัตน์ สร้างขึ้นเพื่อเป้นการเฉลิมฉลอง ปีกาญจนาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงครองราชย์มาครบ ๕๐ ปี ในปี ๒๕๓๘ ปัจจุบัน พระพุทธกาญจนาภิเษกเอกนพรัตน์ ประดิษฐานที่วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธ์ บ้านเขาโคกเผ่น ตำบลทำนบ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
พระผงพระพุทธกาญจนาภิเษกเอกนพรัตน์ท่านสร้างเพื่อแจกจ่ายให้แก่ผู้มาร่วมสร้างพระพุทธรูปและผู้ร่วมสวดมหาสันติงหลวง ถือว่าเป็นพิมพ์สวยงามอลังการ แวดล้อมด้วย ๑๒ ราศี ๑๒ ปีนักษัตร ตรงกลางประดิษฐานพระพุทธเอกนพรัตน์
สรุปในองค์นี้องค์เดียวมีพรระพุทธรูป ๙ ปาง ๓ สมัย ๔ อิริยาบถ ได้แก่
- พระพุทธรูปทั้ง ๑๐ ปาง
- พระพุทธรูปทั้ง ๓ สมัย
- พระพุทธรูป ๔ อิริยาบถ
- สัญลักษณ์แห่ง ๑๒ นักษัตร
บทความที่เกี่ยวข้อง…พระพุทธกาญจนาภิเษกเอกนพรัตน์