ความเป็นมาของพระพุทธกาญจนาภิเษกเอกนพรัตน์
คณะศิษย์ของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสารมหาเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดราชผาติการาม กรุงเทพมหานคร อันมีคณะสงฆ์ พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย (พระธรรมปาโมกข์ เจ้าอาวาสวัดราชผาติการามรูปปัจจุบัน เป็นเจ้าการ) ได้พร้อมใจกันสร้างพระพุทธกาญจนาภิเษกเอกนพรัตน์ขึ้นมา เพื่อเป็นราชสักการะปูชนียานุสรณ์ ในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยรวบรวมพระพุทธจริยาในปางต่าง ๆ โดยเฉพาะปางประจำวันของเทพที่ดูแลคุ้มครองรักษามนุษย์ทั้ง ๙ ปาง มารวมไว้กับพระพุทธกาญจนาภิเษกปางยืนอธิษฐานประทับรอยพระพุทธบาท รวม ๑๐ ปาง ไว้ในพระพุทธรูป ๓ องค์ ๓ สมัย ๔ อิริยาบถ (คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ทั้งนี้ ได้รวมอิริยาบถเดินเข้ากับอิริยาบถยืน จึงเห็นได้เพียง ๓ อิริยาบถ เท่านั้น) ทั้งหมดอยู่ในฐานเดียวกัน และขอพระราชทานตรากาญจนาภิเษกมาประดิษฐานไว้ที่ฐานผ้าทิพย์ของพระพุทธรูป เพื่อเฉลิมฉลองปีกาญจนาภิเษก และได้อัญเชิญพระพุทธกาญจนาภิเษกเอกนพรัตน์ไปประดิษฐานไว้ ๔ ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคกลาง
คำอธิบายพระพุทธกาญจนาภิเษกเอกนพรัตน์
๑๐ ปาง
ปางประทับยืน ๕ ปาง
ปางประทับรอยพระพุทธบาท (พระพุทธกาญจนาภิเษก เป็นประธาน)
ปางรำพึง ประจำวันศุกร์
ปางห้ามญาติ ประจำวันจันทร์
ปางถวายเนตร ประจำวันอาทิตย์
ปางอุ้มบาตร ประจำวันพุธ
ประทับนั่ง ๓ ปาง
ปางนาคปรก ประจำวันเสาร์ มีนาค๙ เศียร
ปางสมาธิ ประจำวันพฤหัสบดี
ปางป่าเลไลย์ ประจำวันพุธกลางคืน (ราหู)
บรรทม (ไสยาสน์) ๒ ปาง
ปางไสยาสน์ ประจำวันอังคาร
ปางพระเกศธาตุ ประจำวันพระเกตุ (พระหัตถ์แตะพระเศียร) ถอนเส้นพระเกศา
๓ สมัย
ปางประทับยืน เป็นสมัยสุโขทัย
ปางประทับนั่ง เป็นสมัยเชียงแสน
ปางไสยาสน์ เป็นสมัยอู่ทอง
ข้อมูลจาก… http://www.afaps.ac.th/pra
สำหรับองค์ที่ผมนำมาประกอบบทความนี้ เป็นองค์ย่อส่วนลงมา บรรจุกริ่ง ขนาดสูงประมาณ 3 นิ้ว ซึ่งพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ พระธรรมปาโมกข์ เจ้าอาวาสวัดราชผาติการาม ต้นตำรับพระพุทธกาญจนาภิเษกเอกนพรัตน์ ท่านได้เมตตาจารใต้ฐานอย่างสวยงามอลังการจารเต็ม นอกจากนั้นท่านยังได้เมตตาอธิษฐานจิตให้ก่อนที่จะมอบให้ด้วยครับ
ในการจารอักขระต่าง ๆ ในวัตถุมงคล พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ พระธรรมปาโมกข์ นิยมจารในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันวิสาขบูชา ท่านจะจารในพระอุโบสถวัดราชผาติการาม ในเวลาที่พระสงฆ์สวดบูชาเนื่องในวันวิสาขบูชา