พระแสน หรือ หลวงพ่อพระแสน หรือ พระเจ้าแสนสามหมื่น หรือ พระแสนสามหมื่นประดิษฐาน ณ วัดสังขลิการาม อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนเป็นราชธานี เมื่อประมาณ 800 ปีมาแล้ว ซึ่งเจ้าอนุวงษ์แห่งนครเวียงจันทน์ได้ทำการอัญเชิญพระเจ้าแสนสามหมื่น มาประดิษฐ์สถานไว้ที่หอไตรในเมืองเวียงจันทน์เป็นเวลานานหลายร้อยปีมาแล้ว
เป็นการวัดขนาดขององค์พระ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายที่สุด ซึ่งกรรมการวัดทั้งหมดและชาวบ้านโซ่ ได้ทำการวัดไว้เพื่อเป็นหลักฐาน เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2514 เพื่อง่ายต่อการกำหนดลักษณะเฉพาะ ป้องกันการสูญหาย ง่ายต่อการติดตาม
ในสมัยที่นครเวียงจันทน์มีพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก และในขณะนั้นพี่น้องชาวลาวและชาวไทยก็มีความสัมพันธิ์อันดีต่อกัน ทางเวียงจันทร์จึงได้มอบพระพุทธรูปให้แก่ชาวไทย 5 องค์ ได้แก่ พระสุก พระเสริม พระใส พระแสน และพระเสี่ยง ซึ่งได้ประดิษฐานในที่ต่าง ๆ ดังนี้
เมื่อพระเจ้าแสนสามหมื่นเมื่อได้ถูกอัญเชิญมาไว้ที่วัดสังขลิการามแล้ว ได้ถูกคนร้ายโจรกรรมไป 2 ครั้ง แต่ด้วยอภินิหารที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าแสนสามหมื่นและเทวดาผู้อภิบาลองค์พระ ซึ่งต้องการให้พระพุทธรูปองค์นี้อยู่เป็นมิ่งขวัญของชาวโซ่ต่อไป จึงได้มีเหตุให้ได้กลับคืนมาสู่ที่เดิมคือวัดสังขลิการามทุกครั้งไป
ครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2462 มีคนร้ายขโมยพระเจ้าแสนสามหมื่นหลบหนีไปทางบ้านหนองยอง ตำบลหนองยอง อำเภอปากคาด ครั้งนั้นคนร้ายได้นำพระเจ้าแสนสามหมื่นไปซ่อนไว้ใต้ต้นดอกเตยซึ่งอยู่นอกหมู่บ้านใกล้ทางเดินไปบ่อน้ำ ต่อมาได้มีหญิงชาวบ้านออกไปเพื่อตักน้ำพร้อมกับสุนัขหลายตัว เมื่อผ่านไปถึงใต้ต้นดอกเตยที่คนร้ายนำพระเจ้าแสนสามหมื่นซ่อนไว้ สุนัขที่ตามนางมาก็พากันส่งเสียงเห่าแต่นางกลับไม่ใส่ใจอะไร ต่อเมื่อกลับมาจากตักน้ำผ่านมาที่เดิม พวกสุนัขก็ยังเห่าอีกไม่หยุด นางจึงได้เข้าไปดูเห็นพระพุทธรูปถูกซ่อนอยู่ใต้ต้นดอกเตยนั้น นางตกใจทำอะไรไม่ถูกจึงได้รีบเข้าไปในหมู่บ้าน แล้วบอกชาวบ้านให้รับทราบในสิ่งที่ได้พบเห็น พวกชาวบ้านจึงได้พากันอัญเชิญพระพุทธรูปนั้นไปไว้ที่วัดประจำหมู่บ้านแล้วทำการป่าวประกาศหาเจ้าของต่อไป เมื่อชาวบ้านโซ่ทราบเรื่องเข้าก็ตามไปดูปรากฏว่าพระพุทธรูปนั้นคือหลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่นที่หายไป จึงได้ทำการอัญเชิญกลับมาไว้ที่วัดสังขลิการามเหมือนเดิม
ครั้งที่ 2 เหตุเกิดขึ้นในวันที่ 6 มีนาคม 2514 พระเจ้าแสนสามหมื่นก็ได้ถูกคนร้ายขโมยไปอีกครั้ง คนร้ายที่ขโมยได้หลบหนีไปทางบ้านหนองท่มท่ากะดัน เขตอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร นำพระพุทธรูปไปซ่อนไว้ในน้ำห้วยมาย จากนั้นจึงได้นำไปไว้ที่บ้านของตนที่อำเภอสว่างแดนดิน รุ่งเช้าต่อมาคนร้ายนั้นก็เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ ภรรยาของเขาจึงได้นำพระเจ้าแสนสามหมื่นนั้นไปฝากไว้ที่วัดประจำหมู่บ้าน ในคืนนั้นเองเจ้าอาวาสเมื่อเสร็จจากไหว้พระสวดมนต์แล้วก็จำวัดตามปกติ รุ่งเช้าตื่นขึ้นมาทำให้รู้สึกแปลกใจยิ่งนัก เพราะนอนเอาหัวลงปลายเท้า แต่กลับเอาเท้าขึ้นไปเกยหมอนแทน ด้วยเหตุนี้เจ้าอาวาสจึงนำพระเจ้าแสนสามหมื่นนั้นไปฝากไว้ที่สถานีตำรวจในอำเภอสว่างแดนดิน และในคืนนั้นเองนักโทษที่คุมขังอยู่ได้หนีออกไปโดยไม่มีร่องรอยงัดแงะแต่อย่างใด จึงทำให้ตำรวจประจำโรงพักนั้นต่างก็กล่าวโทษและกันว่าเป็นผู้ทำให้นักโทษหลบหนีไป ตำรวจจึงได้พากันไปอธิฐานต่อหน้าพระเจ้าแสนสามหมื่นนั้นขอให้นักโทษที่หลบหนีไปอย่าได้หนีไปไหนไกล วันต่อมาตำรวจก็สามารถจับนักโทษนั้นกลับมาได้ โดยพบว่าคนร้ายนั้นเดินวนเวียนอยู่ในตลาดนั้นแหล่ะไม่สามารถหาทางออกไปที่อื่นได้ เมื่อตำรวจจับนักโทษนั้นกลับมาแล้ว จึงได้ทำการสอบถามว่าหนีออกจากห้องขังไปได้อย่างไร นักโทษก็ตอบไปว่าลูกกรงในห้องขังอยู่นั้นได้แยกห่างออกจากกันห่างกันเป็นศอกจึงสามารถเดินเข้าออกได้อย่างง่ายดาย ตำรวจและชาวบ้านเชื่อว่าเป็นเพราะอภินิหารของหลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่นจึงทำให้ดกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้นได้ ตำรวจที่โรงพักและพวกชาวบ้านต่างก็รู้สึกเกรงกลัวจึงได้ประกาศหาเจ้าของพระพุทธรูปนั้น ซึ่งต่อมาไม่นานชาวบ้านโซ่ทราบข่าวนั้นจึงได้ส่งหลวงปู่ป้อกับนายเผือก ตรีรัตน์ พร้อมด้วยผู้ติดตามอีก 4-5 คน ไปตรวจดูจึงได้ทราบว่าเป็นหลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่น แต่พอนำหลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่นขึ้นรถเพื่ออัญเชิญกลับมาก็ไม่สามารถติดเครื่องรถยนต์ได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นขึ้น คณะผู้ติดตามจึงได้เก็บดอกไม้แต่งเป็นขันธ์ห้าขันธ์แปดอัญเชิญแล้วทำการอัญเชิญหลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่นพร้อมด้วยเทวดาผู้รักษาองค์ท่าน จากนั้นจึงสามารถเดินทางกลับมาได้ เมื่อได้อัญเชิญหลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่นนั้นมาถึงแล้วจึงได้ป่าวประกาศให้ชาวบ้านมาทำการสรงน้ำต้อนรับองค์ท่าน ก็เกิดเหตุน่าอัศจรรย์ขึ้นคือฝนได้ตกลงมาทั้งที่ยังมีแดดอยู่ จากนั้นจึงได้อัญเชิญหลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่นขึ้นประดิษฐานไว้ที่เดิมในวัดสังขลิการามมาจนถึงทุกวันนี้
จะเห็นว่าในการที่หลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่นหายไปในแต่ละครั้งนั้น ผู้ที่ขโมยไปมีอันเป็นไปทุกราย และมีเหตุให้ต้องได้กลับคืนมาที่เดิมในเวลาอันสั้น อย่างครั้งที่สองมีบันทึกไว้ชัดเจน ถูกขโมยไปวันที่ 6 มีนาคม 2514 จากนั้นก็ได้คืนมาและกรรมการวัดได้ทำการวัดขนาดองค์พระไว้เป็นหลักฐานในวันที่ 14 มีนาคม 2514 นั่นเอง
ทราบว่า ได้มีการจัดสร้างเหรียญหลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่น เป็นเหรียญเสมาและเหรียญรูปไข่ ในราว ๆ ปี 2536 ซึ่งจำนวนการสร้างนั้น ผมไม่ทราบแน่ชัด
หากหลวงพ่อพระเจ้าแสนสามหมื่นมีความศักดิ์สิทธิ์จริง แล้วทำไมถึงถูกขโมยไป คำถามนี้คงจะอยู่ในใจหลายคน ลองมาอ่านการวิเคราะห์ของผมดูนะครับ