บูระพารัสมิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง บูระพารัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
อาคะเนยรัสมิง พระพุทธะคุณัง อาคะเนยรัสมิง พระธัมเมตัง อาคะเนยรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
ทักษิณรัสมิง พระพุทธะคุณัง ทักษิณรัสมิง พระธัมเมตัง ทักษิณรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
หรดีรัสมิง พระพุทธะคุณัง หรดีรัสมิง พระธัมเมตัง หรดีรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
ปัจจิมรัสมิง พระพุทธะคุณัง ปัจจิมรัสมิง พระธัมเมตัง ปัจจิมรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
พายัพรัสมิง พระพุทธะคุณัง พายัพรัสมิง พระธัมเมตัง พายัพรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
อุดรรัสมิง พระพุทธะคุณัง อุดรรัสมิง พระธัมเมตัง อุดรรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
อิสานรัสมิง พระพุทธะคุณัง อิสานรัสมิง พระธัมเมตัง อิสานรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
อากาศรัสมิง พระพุทธะคุณัง อากาศรัสมิง พระธัมเมตัง อากาศรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
ปฐวีรัสมิง พระพุทธะคุณัง ปฐวีรัสมิง พระธัมเมตัง ปฐวีรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
จากนั้น นิยมสวดต่อท้ายด้วยบท มงคลจักรวาลแปดทิศ
อิมัส์มิงมงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิ จงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบ รอบทั่วอนัตตา ราชะ เสมานาเขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ พุทธะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ
อิมัส์มิงมงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิ จงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบ รอบทั่วอนัตตา ราชะ เสมานาเขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ ธัมมะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ
อิมัส์มิงมงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิ จงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบ รอบทั่วอนัตตา ราชะ เสมานาเขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ ปัจเจกะพุทธะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ
อิมัส์มิงมงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิ จงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบ รอบทั่วอนัตตา ราชะ เสมานาเขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ สังฆะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ
คาถาป้องกันภัยสิบทิศนี้เป็นคาถามาแต่โบราณ ไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้แต่งประพันธ์ บ้างก็ว่าหลวงปู่ฝั้น แต่โดยส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร ท่านอาจจะสวดประจำหรืออาจจะแนะนำให้ญาติโยมสวด แต่คิดว่าท่านน่าจะไม่ใช่ผู้แต่งขึ้นมา น่าจะเป็นคาถาเก่าที่มีมีก่อนท่านอีก เข้าใจว่าเป็นคาถาที่นิยมสวดกันแถวสองฝั่งริมแม่น้ำโขง หรือแถวภาคอีสาน อาจจะเป็นคาถายุคเดียวกับบทสวดชัยน้อยก็ได้นะครับ
อานุภาพแห่งคาถาป้องกันภัยทั้งสิบทิศ และ มงคลจักรวาล ๘ ทิศ
อานุภาพแห่งพระคาถาต่าง ๆ เป็นไปตามบทแห่งพระคาถา ความศรัทธา ความตั้งมั่นแห่งจิต และศีลของผู้สวดด้วยเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับอานุภาพแห่งคาถาป้องกันภัยทั้งสิบทิศ และ มงคลจักรวาล ๘ ทิศนี้ หากกล่าวถึงเนื้อหาแห่งคาถาแล้ว อานุภาพก็จะเป็นไปในลักษณะนี้ ได้แก่
- พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ คุ้มครองรักษา ป้องกันภัยอันมาจากทิศทั้ง ๑๐
- ขจัดทุกข์ โศก โรค ภัย เคราะห์กรรม เสนียดจัญไร ทั้งปวง
- เจริญด้วยทรัพย์สมบัติ และลาภยศ
- ส่วนคาถามงคลจักรวาล ๘ ทิศ ป้องกันอันตรายทั้งปวง เหมือนมีกำแพงแก้วคุ้มครอง ๗ ชั้น
- อันตรายทั้งปวงไม่อาจจะเข้าใกล้ได้
นิยมสวด คาถาป้องกันภัยทั้งสิบทิศ และ มงคลจักรวาล ๘ ทิศ ในโอกาสใด
- สามารถสวดได้ทุกวันก่อนนอน
- สวดก่อนออกเดินทางไกลไปต่างถิ่น
- นิยมในงานโอกาสขึ้นบ้านใหม่
- นิยมสวดในงานทำบุญสะเดาะเคราะห์
- นิยมสวดเมื่อไปค้างแรมในป่า หรือในต่างถิ่น