พระพุทโธน้อย เป็นพระเครื่องขนาดเล็กสร้างด้วยเนื้อดินและเนื้อผงโดยแม่บุญเรือนและได้อธิษฐานจิตให้ไว้แก่วัดอาวุธวิกสิตาราม เขตบางพลัดกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.2494 เป็นพระเครื่องพิมพ์แบบครึ่งซีก กรอบทรงสามเหลี่ยม ด้านหน้าเป็นพระพุทธคล้ายพระกริ่งประทับนั่งปางมารวิชัยเหนือฐานบัวสองชั้น พระหัตถ์ซ้ายถือหม้อน้ำมนต์ ส่วนด้านหลังมีอักขระขอมจารึกเป็นเส้นลึกอ่านว่า “พุทโธ” น่าจะเป็นที่มาของชื่อเรียกพระพิมพ์นี้
มูลเหตุแห่งการจัดสร้าง พระพุทโธน้อย แม่บุญเรือน ปี 2494
ในปี พ.ศ.2494 พระครูธรรมธรเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตารามในขณะนั้นได้เห็นดอกไม้เหี่ยวแห้งจากการบูชาพระเป็นจำนวนมากจึงได้ถามคุณแม่บุญเรือนว่า “ดอกไม้ที่ใช้บูชาพระจำนวนมากอย่างนี้จะเอาไปทำอะไร” คุณแม่บุญเรือนตอบว่า “จะนำไปทิ้ง” พระครูธรรมธรจึงได้ปรารภว่าออกพรรษาในปีพ.ศ 2494 นี้ คุณนายทองสุข เยาวนัชกับคุณนายบุญเรือน ศิวดิษฐ์ จะนำกฐินมาถวายและนำปัจจัยมาสมทบทุนในการสร้างเมรุที่วัดด้วยจึงขอให้คุณแม่บุญเรือนช่วยสร้างพระเพื่อมอบให้เป็นที่ระลึกแก่คณะเจ้าภาพและผู้ร่วมทำบุญโดยการนำดอกไม้ที่ใช้บูชาพระนั้นมาเป็นมวลสารในการจัดสร้างด้วย
จำนวนพิมพ์ และ จำนวนการจัดสร้าง พระพุทโธน้อย 2494
พระพุทโธน้อย ปี 2494 มีจำนวนการจัดสร้างทั้งสิ้น 100,000 องค์ โดยแบ่งเป็นเนื้อต่าง ๆ ดังนี้
– เนื้อผงเกสร (ผงสีขาว)
– เนื้อผงใบลานผสมผง (สีดำ)
– เนื้อปูนแดงผสมผง (สีชมพูหรือสีแดงอ่อน)
– เนื้อดินเผา
แบ่งเป็น 3 พิมพ์หลัก ดังนี้
1. พระพุทโธน้อยพิมพ์ใหญ่ แยกได้ 5 พิมพ์
– พิมพ์ใหญ่(จัมโบ้) หลังยันต์พุทโธ
– พิมพ์ใหญ่นิยมหลังยันต์พุทโธ
– พิมพ์ใหญ่(ติ่งข้างแขน) หลังยันต์พุทโธ
– พิมพ์ใหญ่(จีวรแซม) หลังยันต์พุทโธ
– พิมพ์ใหญ่(ติ่งใต้บัว) หลังยันต์พุทโธ
2. พระพุทโธน้อยพิมพ์กลาง แยกได้ 6 พิมพ์
– พิมพ์กลาง(หม้อน้ำมนต์กลม) หลังยันต์พุทโธ
– พิมพ์กลาง(หม้อน้ำมนต์ล้น) หลังยันต์พุทโธ
– พิมพ์กลาง(เกศตุ้ม) หลังยันต์พุทโธ และยันต์นะอะระหัง
– พิมพ์กลาง(เส้นน้ำตก) หลังยันต์พุทโธ
– พิมพ์กลางตื้น(เกศตุ้ม) หลังยันต์นะอะระหัง
– พิมพ์กลาง(หน้าเอียงไหล่ลู่) หลังยันต์พุทโธ
3. พระพุทโธน้อยพิมพ์เล็ก แยกได้ 12 พิมพ์
– พิมพ์เล็กหน้าตุ๊กตา(ไหล่จุด) หลังยันต์พุทโธ
– พิมพ์เล็กหน้าตุ๊กตาหลังยันต์พุทโธ
– พิมพ์เล็กหน้าตุ๊กตา(ขีดใต้ตา) หลังยันต์พุทโธ
– พิมพ์เล็กหน้าตุ๊กตา(แขนตุ่ม) หลังยันต์พุทโธ
– พิมพ์เล็กหน้าตุ๊กตา(ตาโปน) หลังยันต์พุทโธ
– พิมพ์เล็กหน้าตุ๊กตา(คอเนื้อเกิน) หลังยันต์พุทโธ
– พิมพ์เล็กหน้าตุ๊กตา(ข้างแตก) หลังยันต์พุทโธ
– พิมพ์เล็กหน้าตุ๊กตา(ขอบข้างล้น) หลังยันต์พุทโธ
– พิมพ์เล็กหน้าตุ๊กตา(ปากอ้าตาเหลี่ยม) หลังยันต์พุทโธ
– พิมพ์เล็กหน้าตุ๊กตา(กรอบกระจก) หลังยันต์พุทโธ
– พิมพ์เล็กหน้าตุ๊กตา(ตาโปนอกแฟ่บ) หลังยันต์พุทโธ
– พิมพ์เล็กหน้าตุ๊กตา(แขนหักศอก) หลังยันต์พุทโธ
หลักการพิจารณาพระพุทโธน้อย ปี 2494
- พิจารณาพิมพ์ให้ถูกต้องก่อนเป็นหลัก โดยดูแนวรอยเส้นขีดนูนที่ขอบล่างขวาพระ
- ตามด้วยพิจารณาจากโซนเนื้อพระ
ความพิเศษของพระพุทโธน้อย
- พระพุทโธน้อยเป็นพระเครื่องที่สร้างโดยคุณแม่บุญเรือน ซึ่งไม่ได้เป็นพระภิกษุสงฆ์หรือแม่ชี
- ทราบว่าพระพุทโธน้อยเป็นพระเครื่องที่ทำการอธิษฐานจิตโดยแม่ชีโดยการอาราธนาคุณแห่งพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พระเครื่องที่ถูกจักทำพิธีพุทธาภิเษก
- พระพุทโธน้อยปี 2494 5 ถือว่าเป็นพระพุทโธน้อยรุ่นแรกและรุ่นเดียวที่แม่บุญเรือนสร้างและอธิษฐานจิต
- พระพุทโธน้อยพิธี ปี 2499 ทราบว่าคุณแม่บุญเรือนเป็นแม่งานในการจัดสร้างและเป็นรุ่นที่ทำทำพิธีพุทธาภิเษก ส่วนตัวผมชอบพระพุทโธน้อยปี 2499 อ่านเพิ่มเติม…พระพุทโธน้อย รุ่นไหนน่าบูชา ทำไมผมเลือกพระพุทโธน้อยปี 2499
- พระผงพุทโธน้อย เป็นพระเครื่องที่มีเอกลักษณ์พิเศษโดยเฉพาะในด้านรูปลักษณ์ และผู้จัดสร้าง
- พระพุทโธน้อยเป็นอีกหนึ่งพระเครื่องที่หลายคนอยากมีไว้ครอบครองบูชาสักครั้งหนึ่งในชีวิต
- พระพุทโธน้อยเป็นพระเครื่องที่เซียนพระหลายคนมีไว้บูชา
- พระพุทโธน้อยเป็นพระเครื่องที่มีพุทธคุณโดดเด่นในด้านมหาลาภ ส่งเสริมในการดำรงชีวิตในแต่ละอาชีพให้มีความเจริญรุ่งเรือง และเมตตามหานิยม
- คุณแม่บุญเรือน ไม่ใช่แม่ชี หลายคนมักเรียกว่าแม่ชีบุญเรือนรวมถึงผมด้วยเรียกผิดในบทความที่ผ่านมา
คาถาบูชาพระพุทโธน้อย
พุทโธ โลเก อุปปันโน
แปลว่า พุทโธ เกิดขึ้นแล้วในโลก หรือ พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก
คาถานี้ ใช้บูชาพระเครื่องพิมพ์พระพุทธของแม่บุญเรือน ที่เรียกว่า พระพุทโธน้อย ไม่ใช่คาถาหรือคำบูชาตัวแม่บุญเรือน
ที่มาบางส่วนจากเพจการันตีพระ พระพุทโธน้อย แม่ชีบุญเรือน วัดอาวุธ พิมพ์เล็กแขนตุ่ม ปี 2494