คำถวายสังฆทาน คำถวายภัตตาหาร
อิมานิ มะยัง ภันเต, ภัตตานิ, สะปะริวารานิ, ภิกขุสังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมานิ, ภัตตานิ, สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ ฯ
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งภัตตาหาร พร้อมกับบริวาร ทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์ โปรดรับภัตตาหาร พร้อมกับบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญฯ
หลักเกณฑ์การใช้คำภาษาบาลีถวายทานต่าง ๆ
๑. ภัตตานิ เปลี่ยนตามชื่อสิ่งของที่จะถวาย เช่น ถวายจีวร ใช้ จีวะรานิ
๒. ถ้าของที่กล่าวถวายนั้น เป็นของที่สามารถนำเคลื่อนที่ไปได้และยกเพียงคนเดียวไหว ทั้งเป็นกัปปิยวัตถุ คือสิ่งที่สมควรแก่สมณะบริโภคใช้สอย เช่น ภัตตาหาร นิยมใช้คำภาษาบาลีกล่าวถวายว่า “โอโณชะยามะ” คำแปลใช้คำว่า “ขอน้อมถวาย” และคำว่า “ปะฏิคคัณหาตุ” แปลว่า “โปรดรับ”
๓. ถ้าของที่กล่าวถวายนั้น เป็นของที่ไม่สามารถจะนำเคลื่อนที่ไปได้ หรือเป็นของหนัก ของใหญ่โตขนาดคนเดียวยกไม่ไหว สิ่งของที่ยกไม่ได้เช่น ตู้ เตียง ที่ดิน นิยมใช้คำภาษาบาลีกล่าวถวายว่า “นิยยาเทมะ” แปลว่า “ขอมอบถวาย” แทนคำว่า “โอโณชะยามะ” และใช้คำว่า “ปะฏิชานาตุ” แปลว่า “จงรับทราบ” แทนคำว่า “ปะฏิคคัณหาตุ” ฯ
อ่านเพิ่มเติม…>>>ศัพท์ คำถวายสังฆทานเป็นภาษาบาลีพร้อมคำแปล และวิธีใช้