
เหรียญหลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร
ได้รับความนิยมเกือบทุกรุ่น โดยเฉพาะเหรียญรุ่น 9
คาถาบูชาเหรียญหลวงปู่ฝั้น อาจาโร รุ่น9
อาจาระเถรัง อะหัง วันทามิ
อาจาระเถรัง อะหัง วันทามิ
อาจาระเถรัง อะหัง วันทามิ
นะวะมัง อาจาระเถระมังคะละวัตถุง ปูเชมิ
นะวะมัง อาจาระเถระมังคะละวัตถุง ปูเชมิ
นะวะมัง อาจาระเถระมังคะละวัตถุง ปูเชมิ
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
เอเตนะ สัจจะวัชเชน โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา
เหรียญหลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร จัดสร้างในปี พ.ศ.2511ลักษณะเป็นเหรียญกึ่งทรงกลมกึ่งรูปไข่
ด้านหน้าเหรียญตรงกลางเป็นรูปพระอาจารย์ฝั้นห่มจีวรลดไหล่ ทรงผ้าสังฆาฏิ หันข้างแบบครึ่งองค์ มีข้อความภาไทยด้านบนว่า “พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร” พร้อมคำว่า “งามเอก” แบบกลับหัวซ้อนอยู่ด้านข้างของผ้าสังฆาฏิ
ด้านหลังเหรียญทั้งสองข้างมีพระคาถา พญายูงทอง อันเป็นคาถาประจำสายกรรมฐานหลวงปู่มั่น ตรงกลาง เป็นเครื่องอัฐบริขารอันเป็นเอกลักษณ์ของพระสายกรรมฐาน ด้านใต้มีอักขระขอมอ่านว่า นะโมพุทธายะ และภาษาไทย “วัดป่าอุดมสมพร”
หลัก ๆ แบ่งเป็น 5 เนื้อ ได้แก่ ทองคำ เงิน อัลปาก้า ทองเหลือง ทองแดง
แยกย่อยออกมาได้ ดังนี้
1. เนื้อทองคำ
2. เนื้อเงิน
3. อัลปาก้า
4. ทองเหลือง (เรียกให้ขลังว่า เนื้อฝาบาตร)
5. ทองเหลืองกะไหล่ทอง (เรียกให้ขลังว่า เนื้อฝาบาตรกะไหล่ทอง)
6. ทองแดงรมดำ
7. ทองแดงกะไหล่เงิน
8. ทองแดงกะไหล่ทอง
คาถานี้ใช้บูชาเหรียญหลวงปู่ฝั้น อาจาโร รุ่น9 แต่หากนำไปบูชาเหรียญหลวงปู่ฝันรุ่นอื่น หรือรูปหล่อ พระผง รูปถ่าย ล็อกเกต หรือวัตถุมงคลที่เกี่ยวเนื่องกับหลวงปู่ฝั้น (จะทันท่านหรือไม่ทัน จะแท้หรือไม่แท้ใช้บูชาได้ทั้งนั้น) ให้ตัดคำว่า นะวะมัง ออก (แปลว่ารุ่นที่9)
หรือจะสวดบูชาย่อ ๆ ว่า นะโมพุทธายะ นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา แล้วระลึกถึงหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
โปรดทราบว่า คาถาบูชาหลวงปู่ฝั้นนี้ ไม่ใช่ของหลวงปู่ฝั้นที่มอบให้สำหรับนำมาสวดบูชาท่าน เพราะคงไม่มีพระเถระสายกรรมฐานหรือพระอรหันต์ท่านใดแต่งคาถาหรือคำเพื่อให้คนมากราบไหว้บูชาตนเอง แต่เป็นคาถาหรือคำประพันธ์ที่ผม (พระคุ้มครอง) แต่งขึ้นมาเพื่อใช้บูชาหลวงปู่ฝั้นโดยตรงด้วยความเคารพนับถือ เหมือนคาถาบูชาพระสีวลี ก็ไม่ใช่ของพระสีวลี พระสีวลีไม่ได้แต่งคาถานี้ ไม่ได้มอบคาถานี้ให้ใครมาบูชาท่าน แต่เป็นคาถาที่ผู้รู้ผู้มีความศรัทธาต่อพระสีวลีเป็นผู้ประพันธ์ขึ้นมาสำหรับบูชาพระสีวลี
สำหรับบท นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา เป็นที่ทราบกันแล้วว่าเป็นคาถาที่เรียกว่าคาถาพญานกยูงทอง เป็นคาถาที่มาในโมรปริตร ทราบว่าหลวงปู่มั่นนำมาใช้ และถือว่าเป็นคาถาประจำสายพระกรรมฐานที่ศิษย์สายหลวงปู่มั่นนำมาใช้
คาถาบูชาเหรียญพระอาจารย์ฝั้น รุ่น9 ผมเคยเขียนแล้วในบทความ
>>>คาถาบูชาเหรียญ รุ่น 9 หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
บทความแนะนำ
>>>เหรียญหลวงปู่ฝั้น รุ่น9 ปี 2513
>>>คาถาบูชาพระเครื่องหลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดอุดมสมพร สกลนคร