ข้อมูลย่อพระกริ่งและพระชัยวัฒน์อรหัง หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
- จัดสร้างเมื่อปี 2517
- โดยคณะของนายแพทย์ สุพจน์ ศิริรัตน์และคุณลุงแก้ว ศิริรัตน์
จำนวนการจัดสร้างพระกริ่ง และพระชัยวัฒน์อรหัง หลวงปู่แหวน ดังนี้
1.พระกริ่งอรหัง
-เนื้อนวโลหะ จำนวน 2517 องค์
-เนื้อทองคำ จำนวน 16 องค์
2.พระชัยวัฒน์อรหัง
-เนื้อนวโลหะ จำนวน 1900 องค์
-เนื้อเงิน จำนวน 13 องค์
-เนื้อทองคำ จำนวน 16 องค์
ในจำนวนพระกริ่งเนื้อนวโลหะ 2517 องค์ได้นำออกมาจัดเป็นชุดกรรมการ โดยมีการนำพระกริ่งเนื้อนวโลหะไปกะไหล่ทองและกะไหล่เงินด้วย
การจัดสร้างพระกริ่งอรหัง และ พระชัยวัฒน์อรหัง หลวงปู่แหวน
เมื่อคณะของ น.พ. สุพจน์ และคุณลุงแก้ว ศิริรัตน์ได้รับอนุญาตจากหลวงปู่แหวนให้ดำเนินการสร้างวัตถุมงคลชุดแรกขึ้นแล้ว ปรากฎว่าได้รับความนิยมคณะศิษย์และพุทธศาสนิกชนเป็นอย่างมาก ทำให้วัตถุมงคลไม่พอแก่ความต้องการของผู้นำไปบูชา
น.พ. สุพจน์ จึงขออนุญาตต่อองค์หลวงปู่แหวนเพื่อจัดสร้างพระกริ่งอรหังขึ้นอีกรุ่นหนึ่ง โดยการทำพิธีเททองหล่อกันที่วัดดอยแม่ปั๋ง เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2517 ปรากฏว่าวัตถุมงคลชุดนี้มีผู้สั่งจองเต็มโดยใช้เวลาไม่นาน
ในบรรดาวัตถุมงคลหลวงปู่แหวนที่สร้างมาทั้งหมดพระกริ่งอรหัง ถือว่าเป็นสุดยอดของพระเครื่องของท่าน ด้วยเหตุว่า
- พระกริ่ง เป็นพระเครื่องที่มีรูปแบบสวยงาม มีเอกลักษณะเฉพาะตัว เป็นพระเครื่องที่มีชื่อเสียง ได้รับความนิยมมาช้านานแล้ว บางกล่าวว่า วัตถุมงคล รูปพระพุทธขนาดเล็ก ต้องยกให้พระกริ่ง ต้องพระกริ่งเท่านั้น
- ทราบว่า วัตถุมงคลชุดนี้ หลวงปู่แหวนลงมือเททองด้วยตนเอง สำหรับรูปเหมือนหลวงปู่แหวนใบพัทธสีมาที่มีการเททองหล่อที่วัดดอยแม่ปั๋ง แต่มีหลวงปู่สิม พุทธาจาโร เป็นผู้ถือสายสิญจน์เททองแทนเนื่องจากหลวงปู่แหวนท่านไม่ยอมเททองรูปเหมือนตัวท่าน
- มีส่วนผสมของชนวนมวลสาร โลหะที่นำมาหล่อที่ดี ผ่านการจาร อธิษฐานจิตจากหลวงปู่ครูอาจารย์ และเป็นชนวนที่ผ่านพิธีมาก่อน ทั้งผู้ผสมโลหะมีความรู้ประสบการณ์เป็นอย่างดี
- มีการขออนุญาตสร้างอย่างถูกต้อง และสร้างถูกต้องตามตำราโบราณที่ปฏิบัติมา
- มีการเททองหล่อในวัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
- หลวงปู่แหวนเมตตาอธิษฐานจิตถึง 3 วาระ
- องค์พระมีความสวยงาม เหมาะสำหรับการบูชา บูชาได้ทั้งหญิงและชาย
พิธีกรรมจัดสร้างพระกริ่งอรหัง และพระชัยวัฒน์อรหัง หลวงปู่แหวน
พระกริ่งอรหังและพระชัยวัฒน์อรหังหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ได้กำหนดฤกษ์เททอง เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2517 เวลา 12.15 น. ตามตำราถือว่าเป็นมหามงคลแห่งฤกษ์ เป็นมหัทธโนฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่ปราบศัตรูที่คิดร้ายให้พินาศไปโดยสิ้นเชิง และยังเป็นฤกษ์มหานิยม อุดมด้วยโภคทรัพย์สิริมงคลทุกประการ
เริ่มแรกพิธี เมื่อเวลา 11.05 น. หลวงปู่แหวนได้เมตตาจุดเทียนชัยและได้กล่าวว่าฤกษ์เป็นของพระพิธี และสถานที่เททองได้ประกอบพิธีอย่างถูกต้องตามตำหรับโบราณาจารย์ทุกประการแล้ว มีราชวัตรฉัตรธง
เวลา 12.15 น. หลวงปู่แหวนอธิษฐานจิตควบคุมการเททอง โดยจับสายสิญจน์เททองจนเสร็จพิธีเป็นวาระแรก หลังจากเททองเสร็จพิธีแล้ว ได้ทุบหุ่นนำพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ที่สร้างเสร็จแล้วนี้ เข้ากระทำพิธีพุทธาภิเษกในคืนนั้นทันที โดยหลวงปู่แหวน สุจิณโณ เมตตาอธิษฐานจิตให้ตลอดคืนเป็นวาระที่2
เมื่อแต่งพระที่หล่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ได้นำพระกริ่งพระชัยวัฒน์ขึ้นไปให้หลวงปู่แหวนอธิษฐานจิตอีกเป็นวาระที่ 3
โลหะแผ่นยันต์ที่นำมาหลอมสร้างพระกริ่งอรหังและพระชัยวัฒน์รุ่นนี้มีแผ่นทองแดง 108 แผ่น ซึ่งลงยันต์อักขระถูกต้อง ตามพิธีการสร้างพระกริ่งพระชัยวัฒน์ ของสมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ ทุกประการ และมีแผ่นยันต์ของอาจารย์ซึ่งทรงวิทยาคมหลายท่านคือ
1. แผ่นยันต์ของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ 108 แผ่น
2. แผ่นยันต์ของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ วัดเทพศิรินทร์ปลุกเสกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2513
3. แผ่นทองแดง ที่นำไปให้หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพลลงให้
4. แผ่นยันต์ของหลวงพ่อผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต จังหวัดขอนแก่น
5. ทองชนวนพระกริ่งสมเด็จสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ ,วัดพิกุลทอง และวัดกษัตราธิราช จากช่างสมร รัชนะธรรม
6. ทองชนวน ของท่านเจ้ามาวัดสามปลื้ม ซึ่งหลวงพ่อพระครูประสิทธิ์ซึ่งเป็นเลขา ท่านเจ้าอาวาสองค์เก่าได้กรุณามอบให้หนักหลายกิโล ซึ่งใช้เป็นเนื้อหลักในการหล่อทั้งสิ้น
ที่มาของข้อมูล ร้าน : พรมารดา 2 : พระชัยวัฒน์อะระหัง หลวงปู่แหวน สุจิณโณ