สมัยนี้ หันมองไปทางไหนเราก็มักจะเห็นคนส่วนใหญ่ขลุกอยู่แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ไม่ใช่การเล่นเกมส์ก็จะเป็นการแชท ไลน์คุยสื่อสารกับเพื่อน รวมถึงการถ่ายภาพเพื่ออัพลงเฟสบุ๊คแล้วรอให้เพื่อนๆ เข้ามากดไลท์ แชร์และแสดงความคิดเห็น หากนั่นคือความสุขของเราที่คนยุคนี้ให้ความสนใจ ทว่าเคยคิดกันบ้างหรือไม่คะว่ามันกลายเป็นพฤติกรรม ‘เซลฟี่’ ซึ่งนำพาโรคอื่นๆ มาสู่คุณภาพชีวิตเราให้ย่ำแย่ลงได้
สังเกตอย่างไรว่าเป็นเซลฟี่หรือไม่
ผู้จัดการกลุ่มงานวิชาการโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อ เพื่อสุขภาวะของสังคมฯ ได้บอกไว้ว่า การถ่ายรูปตัวเองไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่อะไรที่มากเกินไปก็ไม่ดี จริงอยู่ที่การถ่ายรูปของตัวเราเองนั้นอาจไม่ใช่เรื่องที่ผิด หากแต่อะไรก็ตามที่มันมากเกินไปมันก็มักดูไม่ดีเสมอ เพราะฉะนั้น พฤติกรรมทุกด้านของมนุษย์จึงต้องกระทำด้วยความพอดีเท่านั้นจึงจะเรียกว่าเหมาะสมและเป็นปกติของวิถีชีวิตคนเรา สำหรับวิธีสังเกตว่าเราเป็นเซลฟี่หรือไม่นั้น สามารถสังเกตได้จากการที่เราสื่อสารกับคนอื่นๆ ผ่านสังคมออนไลน์บนโซเชียลมีเดียทุกสื่อ ดูว่าเราพูดถึงเรื่องของตัวเองนั้นมากเกินไปหรือเปล่า มีอุปนิสัยที่ค่อนข้างหมกมุ่นจนเกินไปไหม หลังจากที่โพสต์ข้อความพร้อมอัพภาพถ่ายแล้วเราจะยังคงตั้งตาเฝ้ามองดูว่าจะมีจำนวนคนกดไลท์กี่คนหรือมีคนเข้ามาแสดงความเห็นกันบ้างหรือไม่ หากเราเป็นเช่นนั้น สำหรับพฤติกรรมดังกล่าวที่ชี้แจงไปแสดงว่าเรามีพฤติกรรมของการเป็นเซลฟี่แน่นอนค่ะ
ผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากพฤติกรรมเซลฟี่
นายธาม ซึ่งเป็นผู้จัดการโครงการกลุ่มดังกล่าวได้อธิบายไว้ว่า การใช้ชีวิตโดยแท้จริงของคนเรานั้น จะอยู่แต่เพียงหน้าจออย่างเดียวไม่ได้หรอก เนื่องจากพฤติกรรม “เซลฟี่” อาจจะนำไปสู่โรคต่างๆ ได้แก่ โรคสมาธิสั้น โรคติดโทรศัพท์และโรคก้มหน้าก้มตา ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านทักษะของการสื่อสารซึ่งเป็นไปในทางที่แย่ลง แต่จะเก่งเฉพาะในทางโลกออนไลน์เท่านั้น แต่ในชีวิตจริงกลับสื่อสารพูดจากับคนรอบตัวได้ไม่เก่ง นอกจากนี้ ยังส่งผลให้เป็นโรคที่ร้ายแรงทางสุขภาพร่างกายที่หนักขึ้น เช่น โรคนัยน์ตาเสื่อม มีความเครียด หลงตัวเอง มีความกระวนกระวายใจ อิจฉาริษยาคนอื่น เมื่อเห็นจำนวนไลท์ของคนอื่นมีมากกว่าของตนก็จะเห็นคุณค่าในตัวเองต่ำลง อีกทั้งในหลายประเทศยังพบอีกว่าผู้ที่เป็น “เซลฟี่” ยังจะกลายเป็นคนที่มีความเห็นแก่ตัวพุ่งในระดับที่รุนแรงมากขึ้นอีกด้วย
เสพสุขจากสังคมออนไลน์อย่างเหมาะสม
นายธามได้ฝากทิ้งท้ายเอาไว้ว่า การที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบตัวเราจริงๆ ย่อมมีความสุขและได้รับความจริงใจมากกว่าผู้ที่เราพูดคุยด้วยผ่านเฟชบุ๊คด้วยซ้ำ แม้ว่าการสื่อสารผ่านโลกออนไลน์จะมีประโยชน์ เพราะทำให้เราไม่เหงา สามารถสื่อสารติดต่อได้อย่างรวดเร็วว่องไว ทว่าขอให้เป็นไปอย่างเหมาะสมเพียงพอ เกิดเป็นความสมดุลในการเสพสุขจากพฤติกรรมดังกล่าว
ดังนั้นแล้ว เราจึงสามารถยืนยันได้ว่าการสื่อสารกับคนจริงๆ รอบตัวยังทำให้เรารู้สึกดีได้มากกว่า เพราะเราสามารถพูดคุยกันได้แบบเห็นสีหน้าค่าตา เห็นดวงตา เข้าใจความรู้สึกของคู่สนทนาได้อย่างลึกซึ้งยิ่งกว่านั่นเอง โดยทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่สังคมออนไลน์ไม่มีให้เราค่ะ