ตะกรุด หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร วัดโฆสิตาราม จังหวัดชัยนาท
หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร วัดโฆสิตาราม จังหวัดชัยนาท เป็นพระเถระพระสงฆ์ที่มีพุทธาคมแก่กล้า เรียกกันในสมัยทุกวันนี้ว่าพระเกจิ ท่านเป็นผู้มีศีลาจารวัตรที่งดงาม เป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปทั้งใกล้และไกล ท่านเป็นพระที่มีความเมตตาต่อเหล่าศิษย์เป็นอย่างมาก วัตถุมงคลของท่านมีหลายหลากรูปแบบและหลายรุ่น มีทั้งที่ท่านสร้างเองและศิษย์สร้าง มีทั้งสร้างในวัดและนอกวัด มีทั้งที่เป็นพระเครื่อง และเครื่องรางต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือตะกรุด
ตะกรุดของหลวงพ่อกวยมีการสร้างออกมาหลายรุ่นและหลายรูปแบบ เว็บไซต์ web-pra.com ได้รวบรวมข้อมูลตะกรุดของหลวงพ่อกวยไว้ในแต่ละรุ่น รูปแบบ และยุค ดังนี้
ตะกรุดลายถักห้าเสาแบบมาตรฐาน
เท่าที่พบมา มีตะกรุดเนื้อทองเเดง หรือ เนื้ออลูมิเนียมล้วน มีขนาดยาวเกินห้านิ้ว ถือว่าเป็นตะกรุดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของหลวงพ่อ หากมาพร้อมสายเดิมถือว่าสมบูรณ์ที่สุด ตะกรุดเเบบอื่น เช่น เเบบเปลือย ทั้ง โทนเเละหลายดอก ระวังของยัดวัดยัดพระเกจิ ขายเป็นของหลวงพ่อกวยกันมามากต่อมากแล้ว
ตะกรุดสายเเดง
ตะกรุดสายแดงถือว่าเป็นตะกรุดยุคปลายของหลวงพ่อกวย มีลักษณะเป็นตะกรุดเปลือย ขนาดยาวห้านิ้วกว่า เอกลักษณ์คือร้อยด้วยเชือกร่มสีเเดงเข้ม
ตะกรุดเเม่ทัพหลวงพ่อกวย
ตะกรุดแม่ทัพนี้จะมีสองดอกในสายเดียวกัน ดอกเล็กอยู่ด้านหน้าเเละดอกใหญ่อยู่ด้านหลัง ดอกเล็กเรียกชื่อว่า วิรุฬจำบัง ดีทางเเคล้วคลาด ดอกใหญ่เรียกชื่อว่า มหากาฬ ดีทางคงกระพัน มหาอุด
ตะกรุดร้อยเเปด
ตะกรุดลักษณะนี้มีลักษณะเหมือนกับตะกรุดของพระเกจิอื่น ๆ เเยกเเยะไม่ได้ มีทั้งเนื้อทองเเดงล้วน หรือเนื้อสามกษัตริย์ คือ ทองเเดง ทองเหลืองเเละอลูมิเนียมรวมอยู่ในชุด ส่วนเชือกมีทั้งเชือกสีขาวเเละเชือกไนล่อนสีเขียว ตะกรุด 108 นี้เป็นของที่หลวงพ่อกวยท่านสั่งซื้อจากโรงานมาปลุกเสก ฉะนั้น จึงเหมือนกับที่เขาส่งไปให้วัดอื่น ๆ หรือพระเกจิอื่น ๆ ตะกรุด 108 นี้จึงต้องอาศัยที่มาเป็นตัวตัดสิน หากไม่รู้ที่มาที่ชัดเจน คนขายอาจจะยัดวัด
ตะกรุดมีปลัด ลูกสะกด
ตะกรุดที่มีลักษณะแบบนี้ เป็นของที่ทางวัดได้สั่งซื้อมาขอความเมตตาจากหลวงพ่อเสกให้ ลักษณะเป็นตะกรุดถักเชือกสีดำ ร้อยในเชือกคาดซึ่งมีทั้งเชือกขาว เเละเชือกไนล่อนสีเขียว มีลูกสะกดสองลูก บางเส้นสะกดเป็นเนื้อตะกั่วทั้งสองลูก บางเส้นเป็นเนื้อตะกั่วหนึ่งลูกส่วนอีกลูกเป็นเนื้อครั่ง บางเส้นมีปลัดเนื้อปรอท มีรูใต้ท้องร้อยอยู่ด้วย ตะกรุดรุ่นนี้เป็นของโรงงานที่ทางกรรมการวัดสั่งซื้อมาให้หลวงพ่อเสก จึงทำให้แยกยากว่าเป็นของวัดไหนกันแน่ หลวงพ่อได้เสกหรือไม่
เชือกคาดเอวหลวงพ่อกวย ตะกรุดรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
- เชือกคาดเอวหลวงพ่อกวยเเบบหัวตะกร้อ มีตะกรุด ในหัวเชือกเป็นผ้ายันต์หรือพระเครื่อง
- เชือกคาดเอวหลวงพ่อกวยเเบบไม่มีตะกรุด หัวตะกร้อ
- เชือกคาดเอวมีตะกรุด
- เชือกคาดเอว ไม่มีตะกรุด
ผ้าขอดหลวงพ่อกวย
ผ้าขอดหลวงพ่อกวย บางคนเรียกว่า ผ้าขอดไปได้กลับได้ คือไปไหนก็กลับมาบ้านอย่างปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายถึงขั้นชีวิต หลวงพ่อท่านทำมีเเบบสามขอด ห้าขอด เจ็ดขอด เเละจนถึงเเบบเก้าขอดก็มี
เเหวนเเขนยุคต้นผ้าจีวร
หลวงพ่อกวยท่านทำเเหวนเเขนไว้หลายเเบบ มีทั้งที่ใช้ผ้าจีวร ผ้ายันต์ หรือใช้ผ้ากราบพระทำก็มี มีทั้งแบบลงรักเเละไม่ได้ลงรัก แม้ที่ลงรักก็มีทั้งที่ลงบางและหนา
ที่มา : หลวงพ่อกวย ชุตินันธโร
พระคาถา ปลุกตะกรุด ของหลวงพ่อกวย
นะ มะ พะ ทะ นะ มะ อะ อุ ภะ คะ วา อิ อะ อุ
นะ มะ นะ อะ นะ กะ อะ นะ อะ กะ อัง
ก่อนสวดคาถา ตั้ง นะโม 3 จบ เสก 3 คาบ ใช้เสกตะกรุดได้ทุกชนิด ตะกรุดแคล้วคลาด ตะกรุดมหานิยม ตะกรุดป้องกันอันตราย ใช่สวดภาวนาเสกหรือกำกับตะกรุดก่อนนำติดตัวไป
คาถานี้ใช้เสกตะกรุดได้ทุกชนิด แม้ไม่ใช่ตะกรุดหลวงพ่อกวยก็สวดเสกได้ ตะกรุดเก๊ตะกรุดตามร้านตามตลาดขอให้ลงอักขระยันต์สามารถใช้คาถานี้เสกได้
ที่มา : บรมครู พ่อปู่ฤาษี วิศวามิตร