การอาราธนาธรรม หมายถึง การกล่าวขอให้พระภิกษุแสดงธรรมให้ฟังหรือขอนิมนต์พระท่านแสดงธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
การอาราธนาธรรมจะกระทำหลังจากอาราธนาศีลและการสมาทานศีลจบลงแล้วโดยไม่ต้องกราบอีก กล่าวคำอาราธนาธรรมต่อได้ทันที
คำอาราธนาธรรม (ที่ถูกต้อง)
พรหมา จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะติ
กะตัญชะลี อะนะธิวะรัง อะยาจะถะ
สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา
เทเสหิ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง
คำแปล คำอาราธนาธรรม
ท้าวสหัมบดีผู้เป็นใหญ่ในพรหมโลก ได้ประคองอัญชลีทูลวิงวอนพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐว่า สัตว์ผู้มีธุลีในดวงตาน้อย มีอยู่ในโลกนี้ ขอพระคุณเจ้าโปรดแสดงธรรม อนุเคราะห์ด้วยเถิด
คำอาราธนาธรรมในพิธีการสำคัญ
นิยมใช้อาราธนาธรรมในงานสำคัญ เช่น งานพุทธาภิเษก, งานอบรมกรรมฐาน เป็นต้น โดยการอาราธนาธรรมเป็นทำนองสารภัญญะ ดังนี้
พรหมา จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะติ
กะตัญชะลี อะนะธิวะรัง อะยาจะถะ
สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา
เทเสหิ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง
ท้าวสหัมบดีพรหม เป็นบรมในพรหมมา
ทรงฤทธิศักดา กว่าบริษัททุกหมู่พรหม
น้อมหัตถ์นมัสการ ประดิษฐาน ณ ที่สม
ควรแล้วจึงบังคม ชุลีบาทพระสัมมา
ขอพรอันประเสริฐ วาระเลิศมโหฬาร์
ปวงสัตว์ในโลกา กิเลสน้อยก็ยังมี
ขอองค์พระจอมปราชญ์ สู่ธรรมมาสอันรุจี
โปรดปวงประชานี้ ท่านจงโปรดแสดงธรรม
นิมนต์ท่านเจ้าขา ผู้ปรีชาอันเลิศล้ำ
โปรดแสดงพระสัจธรรม เทศนาและวาที
เพื่อให้สัมฤทธิผล แก่ปวงชนบรรดามี
สู่สุขเกษมศรี สมดังเจตนาเทอญ ฯ
คำอาราธนาธรรมในวันพระ
จาตุททะสี (ปัณณะระสี)
ยา จะ ปักขัสสะ ปัญญัตตา
สัทธัมมัสสะวะนัสสิเม
อัฏฐะมี โข อะยันทานิ
สัมปัตตา อะภิลักขิตา
เต ยันตัง ปะริสา ธัมมัง
โสตุง อิธะ สะมาคะตา
สาธุ อัยโย ภิกขุสังโฆ
กะโรนตุ ธัมมะเทสะนัง
อะยัญจะ ปะริสา สัพพา
อัฏฐิกตวา สุณาตุ ตันติ.
ถ้าเป็นวันพระ ๑๕ ค่ำ ใช้ ปัณณะระสี
ถ้าเป็นวันพระ ๑๔ ค่ำ ใช้ จาตุททะสี