การสวดมาติกา คือ การสวดบทมาติกาของอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์หรือที่เรียกว่า “สัตตัปปกรณาภิธรรม” ซึ่งมีการบังสุกุลเป็นที่สุด
บทมาติกาที่สวด ได้แก่ ธัมมะสังคิณีมาติกา บางแห่งนิยมสวดบท พระมะหาปัฏฐาน ต่อท้าย จากนั้นพระสงฆ์จะชักผ้าบังสุกุล ด้วยบทว่า
อะนิจจา วะตะ สังขารา อุปปาทะวะยะธัมมิโม
อุปปัชชิต๎วา นิรุชฌันติ เตสัง วูปะสะโม สุโข ฯ
สัพเพ สัตตา มะรันติ จะ มะริงสุ จะ มะริสสะเร
ตะเถวาหัง มะริสสามิ นัตถิ เม เอตถะ สังสะโย ฯ
โดยปกติแล้วการสวดมาติกา-บังสุกุล ไม่ต้องกล่าวคำอาราธนาเป็นภาษาบาลี แต่ก็มีบางแห่งที่มีการกล่าวคำอาราธนา ซึ่งคำกล่าวอาราธนาเป็นภาษาบาลีนั้นไม่มีแบบกำหนดที่ชัดเจน แล้วแต่ผู้แต่งหรือผู้อาราธนาจะถือนำมาใช้อย่างไร
คำอาราธนามาติกา – บังสุกุลนี้ ผมคิดขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการนำไปใช้
คำอาราธนามาติกา – บังสุกุล
โอกาสะ โอกาสะ โอกาสะ มะยัง ภันเต ธัมมะมาติกัง อาราธะนัง กะโรมะ