คชสีห์ เครื่องรางตามตำนานแห่งป่าหิมพานต์
คชสีห์ หรือ คชสีงห์ (สันสกฤต : gaja+siṃha, บาลี : gaja+sīha) เป็นสัตว์พิเศษพันธุ์ผสมในเทพปกรณัมฮินดู มีกายเป็น สิงห์ หรือ ราชสีห์ ที่มีหัวหรืองวงช้าง มีการใช้สัตว์วิเศษชนิดนี้เป็นลวดลายในศิลปะของอินเดียและสิงหล
นอกจากนั้นยังใช้เป็นเครื่องหมายประจำตระกูลหรือหน่วยงานต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในบางประเทศอีกด้วย โดยเฉพาะประเทศกัมพูชาและประเทศไทย สำหรับประเทศไทยใช้คชสีห์เป็นตราสัญลักษณ์ประจำกระทรวงกลาโหม และยังปรากฎใช้เป็นเครื่องค้ำในตราแผ่นดินของสยามตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2416 ถึง ปี พ.ศ. 2453 ใช้เป็นตราแผ่นดินของประเทศกัมพูชามาตั้งแต่ พ.ศ. 2536
คคชสีห์ เป็นสิงห์ผสมที่มีกายเป็นสิงห์ มีช่วงหัวเป็นช้าง ตามตำรากล่าวไว้ว่าคชสีห์มีพลังเป็นอย่างมากเทียบเท่าช้างและสิงห์รวมกัน เป็นสัตว์ที่น่าเกรงขามยิ่งนัก คชสีห์มักจะถูกเรียกสับสนกันสัตว์หิมพานต์อีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่าทักทอ (อักษรโรมันเขียนเป็น tukkar tor จึงน่าจะอ่านว่า ทัก-กะ-ทอ) จุดต่างของสัตว์ทั้งสองคือ ทักทอมีเครา และผมตั้งไปข้างหน้า (แต่ก็ยังสับสนอยู่ดี)
คชสีห์ กับ เครื่องราง
ในสายเครื่องรางของขลังนั้น ก็มีเกจิอาจารย์หลายท่านที่นำคุณลักษณ์วิเศษของคชสีห์มาทำเป็นเครื่องรางของขลัง โดยมากแกะด้วยงาช้าง เขาควาย ไม้มงคลอื่น ๆ นอกจากนั้นยังมีคชสีห์ที่หล่อด้วยโลหะอีกด้วย คชสีห์หรือคชสิงห์ของเกจิต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยม ดังนี้
- คชสีห์หลวงปู่รอด
- คชสีห์หลวงปู่กาหลง
- คชสีห์หลวงปู่หมุน
- คชสีห์หลวงปู่คำพันธ์
- คชสีห์หลวงปู่ลี
- คชสีห์หลวงปู่สาย
- คชสีห์หลวงปู่บุญ
- คชสีห์หลวงพ่อเฮง
- คชสีห์หลวงพ่อเดิม
- คชสีห์หลวงพ่อจ้อย
- คชสีห์หลวงพ่อกวย
- คชสีห์หลวงพ่อหอม
- คชสีห์ อาจารย์เฮง
อิทธิคุณ เครื่องรางคชสิงห์
คชสีห์ หรือ คชสิงห์ เป็นสัตว์วิเศษที่ทรงพลัง หากนำมาเป็นเครื่องรางพกติดตัวจึงเชื่อว่ามีอิทธิคุณโดดเด่นด้านมหาอำนาจ ผู้คนเกรงขาม เลื่อนยศตำแหน่ง ทำมาหากินคล่องแคล่วไม่ติดขัด นอกจากนั้นยังเด่นด้านเมตตามหานิยมอีกด้วย
เครื่องราง คชสีห์ หรือ คชสิงห์ จึงเหมาะกับข้าราชการ ตำรวจ ทหาร นักปกครอง นักบริหาร เจ้าของกิจการห้างร้านต่าง ๆ ผู้ที่ต้องคุมผู้คนเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นก็ยังเหมาะกับการค้าขาย การติดต่อธุรกิจ การต่อรอง การใช้ไหวพริบเพื่อชัยชนะอีกด้วย
บทความนี้ และบทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับสัตว์ ผู้เขียนมีเจตนาในการนำเสนอความเชื่อความศรัทธาของคนในยุคหนึ่ง หรือของกลุ่มชนหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาให้ท่านทำการแสวงหามาเพื่อบูชาแต่อย่างใด ผมเองก็มีแต่เพียงภาพถ่ายเท่านั้น