กระทะ ตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔
น. ภาชนะสำหรับใช้ผัดหรือทอดเป็นต้น มีรูปร่างต่าง ๆ ตามปรกติมีก้นลึก ปากผาย ต่อมาอนุโลมเรียกภาชนะที่ใช้ในลักษณะเช่นนั้นแม้มีก้นตื้นหรือแบน ทั้งชนิดที่มีขอบและไม่มีขอบว่า กระทะ เช่น กระทะขนมเบื้อง กระทะโรตี.
ผมไม่ได้สงสัยในความหมายของคำว่า “กระทะ” แต่มีความสงสัยว่า ทำไมคำว่า “กระทะ” ต้องมี ร เรือด้วย ทำไมไม่เขียนเป็น “กะทะ” ด้วยเหตุว่า
- คำว่า กะทะ ก็ไม่ได้เป็นคำพ้องรูปหรือพ้องเสียงกับคำอื่น กล่าวคือ เขียนว่า กะทะ ก็ไม่ได้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือสับสนว่าจะหมายถึงสิ่งอื่น
- ชุดแบบเรียนภาษาไทย ระดับประถมศึกษา “มานะ มานี ปิติ ชูใจ” ซึ่งใช้ในการเรียนการสอนภาษาไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2521–2537 ก็ยังเขียนเป็น กะทะ (ดูภาพประกอบ)
- บางท่านอาจจะแย้งว่า ถ้าเขียนว่า กะทะ จะไม่เข้ากับลิ้นคนไทย คนไทยออกเสียงยาก แล้วคำว่า กะทิ ทำไมไม่มี ร เรือ และคำอื่น ๆ อีกจำนวนมากที่ไม่มี รอ เรือ
สรุป ยังไม่มีคำตอบ ไม่ทราบเหตุผลทำไมต้องเขียนเป็น กระทะ ใครทราบเหตุผลช่วยให้ความกระจ่างแบบวิชาการด้วยนะครับ