เมื่อได้อ่านหัวข้อบทความนี้ หลายท่านอาจจะต้องใจ ได้หรือ ไม่เคยได้ยิน วัดไหน ที่สามารถถวายอาหารหลังเพล หรือบ่ายได้ เราต้องอ่าน หรือ ฟัง แล้วแยกเป็นประเด็น ๆ ไปครับ
พระวินัยเกี่ยวกับอาหาร
ในส่วนของพระวัยนัยของพระที่เกี่ยวกับอาหาร ผมขอนำมากล่าวแบบคร่าว ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผมจะพูดนี้เท่านั้นนะครับ
1. ไม่ฉันอาหารในเวลาวิกาล คือตั้งแต่เที่ยงวันจึงถึงเช้าวันใหม่
2. ไม่ฉันอาหารที่ยังไม่ได้รับประเคน
3. ไม่ฉันอาหารที่รับประเคนเก็บไว้ค้างคืนแล้ว
4. ไม่เก็บอาหารไว้ในกุฏิหรือที่อยู่ตนเอง (เก็บในโรงครัว ไม่ใช่ที่อยู่ที่นอนได้)
5. ไม่ทำอาหารให้สุกเอง (อุ่นอาหารได้)
คำว่า อาหาร รวมถึงผลไม้ ขนมแห้ง ขนมสด นมกล่อง และอื่น ๆ ที่พึงบริโภคเข้าสู่ร่างกายเป็นอาหารโดยปกติ
ถวายอาหารพระหลังเที่ยงทำอย่างไร
ยกตัวอย่าง เราบรรทุกผลไม้หรือข้าวสารเต็มคันรถเพื่อนำไปที่ถวายวัดในต่างจังหวัด หรือวัดที่ตั้งอยู่บนภูเขา เมื่อไปถึงก็เป็นเวลาหลังเที่ยงหรือบ่ายแล้ว แต่เราต้องการถวายเพื่อที่จะได้กลับก่อนค่ำ เราต้องทำอย่างไร ก็ง่าย ๆ แจ้งให้ท่านทราบว่าเรานำผลไม้หรือข้าวสารมาถวายวัด การกราบเรียนให้ท่านทราบว่านำผลไม้หรือข้าวสารมาถวาย ก็คือการถวายแล้ว หลังจากที่ท่านกล่าวคำอนุโมนนาแล้ว ท่านก็จะให้เราไปเก็บไว้ในโรงครัว หรือมอบให้ศิษย์นำไปจัดการต่อไปตามสมควร จะห็นว่าไม่ผิดพระวินัยข้อไหนที่เกี่ยวข้องกับอาหาร 5 ข้อตามที่กล่าวไว้ข้างต้น
ในกรณีที่เราไปเยี่ยมพระบวชใหม่ก็เช่นกัน ถ้าเราไปถึงเวลาบ่าย และเรามีผลไม้ อาหารแห้งเพื่อนำไปถวายท่านด้วย ก็ไม่ต้องยกขึ้นประเคนใด ๆ แค่แจ้งให้ท่านทราบว่านำสิ่งนี้มาถวาย ท่านก็จะให้ศิษย์นำไปเก็บไว้ในที่สมควร หรือให้เราไปเก็บไว้ในโรงครัว
หมายเหตุ
ถวาย คือ ให้, มอบให้, ใช้แก่พระสงฆ์ หรือเจ้านาย.
ประเคน คือ ถวายของพระสงฆ์ด้วยการยกส่งให้
ความแตกต่างระหว่าง การถวาย และ การประเคน คือ ถวาย คือการให้ หรือมอบให้ จะยกส่งให้ด้วยมือหรือไม่ยกขึ้นส่งให้ก็เรียกว่าถวาย เช่น การถวายที่ดิน การถวายกุฏิ ส่วนการประเคนนั้น ต้องยกส่งให้ด้วยมือเท่านั้น การถวายสิ่งของที่ต้องยกส่งให้ถึงมือ เรียกว่า ถวายโดยการประเคน (ถวายโดยการยกขึ้นส่งให้ด้วยมือหรือของเนื่องด้วยมือ โดยมากการถวายด้วยวิธีนี้ เรียกสั้น ๆ ว่า ประเคน)