Skip to content
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

  • Home
  • ทำบุญ
  • ธรรมะ
  • คาถา
  • นิทาน
  • นำโชค
  • เรื่องผี
  • ตำนาน
  • หนังสือ
  • เรียกจิต
  • ประเพณี
  • ภาษาวัด
  • ทายนิสัย
  • พระเครื่อง
  • เครื่องราง
  • นานาสาระ
  • ยาสมุนไพร
  • พระสายกรรมฐาน
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

เรื่องน่ารู้ ถาม-ตอบ เกี่ยวกับวันเข้าพรรษา ???

พระคุ้มครอง, 30 พฤษภาคม 202130 พฤษภาคม 2021
เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

ปัญหาน่ารู้ ถาม-ตอบ เกี่ยวกับวันเข้าพรรษา
ปัญหาน่ารู้ ปัญหาน่ารู้ ถาม-ตอบ เกี่ยวกับวันเข้าพรรษาถาม-ตอบ เกี่ยวกับวันเข้าพรรษา

เกี่ยวกับวันเข้าพรรษา หรือเทศกาลเข้าพรรษา ผมนำเสนอเรื่องน่ารู้ในลักษณะของการ ถาม-ตอบ เน้นเรื่องที่คนทั่วไปเข้าใจง่าย ไม่ได้เน้นเกี่ยวกับพระวินัยของพระมากนัก

ถาม-ตอบ เกี่ยวกับวันเข้าพรรษา

1. วันเข้าพรรษาตรงกับวันไหน ?

วันเข้าพรรษาตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือน 8 หากปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีแปดสองหน ให้เลื่อนเป็นวันแรม 1 ค่ำเดือน 8 หนหลัง

2. วันเข้าพรรษาปี 2564 ตรงกับวันที่เท่าไหร่

วันเข้าพรรษาปี พ.ศ. 2564 ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม ออกพรรษาวันที่ วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม เป็นระยะเวลา 3 เดือน

3. พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาแรกที่ไหน

พรรษาแรกพระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาแรกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี พร้อมด้วยพระปัญจวัคคีย์ ได้แก่ พระอัญญาโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ

4. ทำไมต้องมีการจำพรรษา

เดิมที่พระพุทธเจ้ายังไม่ได้วางระเบียบเกี่ยวกับการอยู่จำพรรษาไว้ แต่พระพุทธเจ้าและพระสาวกผู้รู้ธรรมเนียมของบรรพชิตจะไม่ออกไปจาริกตามสถานที่ต่าง ๆ ในช่วงฤดูฝนอยู่แล้ว

ต่อมาเมื่อพระสงฆ์มากขึ้น จึงได้มีพระสงฆ์บางกลุ่มเที่ยวประกาศพระศาสนาตลอดทุกฤดูกาล ทำให้ชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาไม่ยอมหยุดพักสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่นักบวชในศาสนาอื่น พากันหยุดเดินทางในช่วงฤดูฝน การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่าง ๆ แม้ในฤดูฝน อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวบ้านได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตาย เมื่อพระพุทธเจ้าทราบดังนั้น จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง เป็นเวลา 3 เดือนดังกล่าว

5. สถานที่ทรงอนุญาตจำพรรษา

สถานที่ทรงอนุญาตให้จำพรรษานั้น พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ ๆ เหมาะแก่สมณะวิสัย เช่น กุฏิ (กระท่อม) บ้าน (คำว่าบ้านไม่ได้หมายความว่าไปจำพรรษาร่วมกับชาวบ้าน หมายถึงบ้าน (ร้าง) หรือบ้านในสวน ในป่าหรือในอันเหมาะสม ซึ่งเมื่ออยู่จำพรรษาก็เรียกว่ากุฏิได้เช่นกัน) มีที่มุงที่บังแดดและฝน มีประตูปิดเปิด ถ้ำ ซึ่งสะดวกแก่การสัญจรเพื่อเที่ยวบิณฑบาต (ทุกวันวัดเต็มไปหมด จึงจำพรรษาในวัดกัน นอกจากนั้นยังมีสถานที่ที่ทรงผ่อนผันเป็นพิเศษสำหรับภิกษุที่กำลังเดินทาง เช่น

          1. ในคอกสัตว์ (อยู่ในที่ของนายโคบาล)
          2. เมื่อคอกสัตว์ย้ายไป ทรงอนุญาตให้ย้ายตามไปได้ (ถ้าไม่ย้ายตามก็อด แต่เมื่อพบวัดที่พระภิกษุรูปอื่นจำอยู่ด้วย ก็ทรงให้อยู่จำพรรษารวมกับพระภิกษุเหล่านั้น)
          3. ในหมู่เกวียน
          4. ในเรือ.

6. สถานที่แบบไหนทรงห้ามจำพรรษา

          1. ในโพรงไม้
          2. บนกิ่งหรือค่าคบไม้
          3. กลางแจ้ง
          4. ไม่มีเสนาสนะ (คือที่นอนที่นั่ง)
          5. ในโลงผี
          6. ในกลด (เช่น เต๊นท์ของนายโคบาล)
          7. ในตุ่ม

7. โทษ (ความผิด) ของการไม่อยู่จำพรรษา

          1. ต้องอาบัติชื่อว่าทุกกฎ
          2. ไม่ได้รับอานิสงส์แห่งการจำพรรษา
          3. ไม่สามารถรับกฐินและกรานกฐินได้


8. จำพรรษาแล้วเดินไปที่อื่นได้ไหม

อธิษฐานจำพรรษาแล้วสามารถเดินทางไปที่อื่นได้ แต่ต้องกลับมาภายใน 7 วัน เรียกว่า “สัตตาหกรณียะ” ดังต่อไปนี้ คือ

              1. ทายกปรารถนาจะบำเพ็ญกุศล ส่งคนมานิมนต์ ในกรณีเช่นนี้ ทรงอนุญาตให้ไปได้เฉพาะที่เขาส่งคำนิมนต์มา ถ้าไม่ส่งคำนิมนต์มา ไม่ให้ไป
              2. เพื่อนสหธัมมิก คือผู้บวชร่วมกัน (ภิกษุ, ภิกษุณี, นางสิกขมานา, สามเณร, สามเณรี) เป็นไข้จะส่งคนมานิมนต์หรือไม่ก็ตาม ทรงอนุญาตให้ไปได้. นอกจากนั้นยังทรงบัญญัติรายละเอียดเกี่ยวกับเพื่อนสหธัมมิกอีก คือเมื่อเพื่อนสหธัมมิกเป็นไข้ ภิกษุปรารถนาจะช่วยแสวงหาอาหาร, ผู้พยาบาล, ยารักษาโรคก็ไปได้, เมื่อเพื่อนสหธัมมิกเกิดความไม่ยินดี เกิดความรังเกียจ หรือเกิดความเห็นผิดขึ้น ไปเพื่อระงับเหตุนั้น , เมื่อเพื่อนสหธัมมิก (เฉพาะภิกษุ, ภิกษุณี) ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ปรารถนาจะอออกจากอาบัติในขั้นใด ๆ ก็ตาม หรือสงฆ์ปรารถนาจะทำสังฆกรรมลงโทษภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปที่จะถูกลงโทษต้องการให้ไป ก็ไปได้เพื่อไกล่เกลี่ยไม่ให้ต้องทำกรรม หรือให้ลงโทษเบาลงไป, เพื่อให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยพระวินัยเพื่อปลอบใจ เป็นต้น. หรือเมื่อนางสิกขมานาหรือสามเณรปรารถนาจะบวช ไปเพื่อช่วยเหลือในการนั้น
              3. มารดา บิดา พี่น้อง หรือ ญาติ เป็นไข้ ส่งคนมานิมนต์หรือไม่ รู้เข้า ไปได้
              4. วิหารชำรุด ไปเพื่อหาสิ่งของมาปฏิสังขรณ์.

9. ขาดพรรษาเป็นอาบัติไหม

เมื่อจำพรรษาแล้วต้องอยู่ให้ครบ 3 เดือน หากอยู่ไม่ครบโดยไม่มีเหตุจำเป็น หรือจงใจให้ขาดพรรษา ต้องอาบัติชื่อว่าทุกกฎ

หากมีเหตุที่ต้องไปด้วย “สัตตาหกรณียะ” ต้องกลับมาภายใน 7 วัน หากไม่กลับมาภายใน 7 วัน ขาดพรรษาและต้องอาบัติชื่อว่าทุกกฎ

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีเหตุเกิดขึ้น ไม่สามารถจะจำพรรษาในที่นั้น ๆ ต่อไปได้ ทรงอนุญาตให้ไปได้โดยไม่ต้องอาบัติ ดังต่อไปนี้
              1. ถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น วิหารถูกไฟไหม้ หรือถูกน้ำท่วม
              2. ชาวบ้านถูกโจรปล้น อพยพหนีไป ทรงอนุญาตให้ไปกับเขาได้ ชาวบ้านแตกกันเป็น 2 ฝ่าย
              3. ขาดแคลนอาหารหรือยารักษาโรค หรือขาดผู้บำรุง ได้รับความลำบาก ทรงอนุญาตให้ไปได้
              4. มีผู้เอาทรัพย์มาล่อ ทรงอนุญาตให้ไปให้พ้นได้
              5. ภิกษุสงฆ์หรือภิกษุณีสงฆ์แตกกัน หรือมีผูพยายามให้แตกกัน หรือทำให้แตกกันแล้ว ไปเพื่อหาทางระงับได้. (ข้อนี้มีในสัตตาหกรณียะ ฉะนั้น ถ้ากลับมาได้ภายใน 7 วันก็ควรกลับมา ไม่ขาดพรรษ)

10. อานิสงส์การจำพรรษามีอะไรบ้าง

            เมื่อพระสงฆ์จำพรรษาครบไตรมาสได้ปวารณาออกพรรษาและได้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ หรือข้อยกเว้นพระวินัย 5 ข้อ คือ

  1. เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา (ออกจากวัดไปโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งเจ้าอาวาสหรือพระสงฆ์รูปอื่นก่อนได้)
  2. เที่ยวไปไม่ต้องถือไตรจีวรครบสำรับ 3 ผืน
  3. ฉันคณะโภชน์ได้ (ล้อมวงฉันได้)
  4. เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา (ยกเว้นสิกขาบทข้อนิสสัคคิยปาจิตตีย์บางข้อ)
  5. จีวรลาภอันเกิดในที่นั้นเป็นของภิกษุ (เมื่อมีผู้มาถวายจีวรเกินกว่าไตรครองสามารถเก็บไว้ได้โดยไม่ต้องสละเข้ากองกลาง)

11. เมื่อขาดพรรษา ยังนับพรรษาบวชอยู่ไหม

ยังนับอยู่เหมือนเดิม เพราะพรรษาบวชนับตั้งแต่วันบวช ไม่เกี่ยวกับการจำพรรษาหรือไม่จำพรรษา ไม่เกี่ยวกับการเข้าจำพรรษาแล้วขาดพรรษา

12. ข้อห้ามอื่น ๆ เกี่ยวกับการจำพรรษา

1. ห้ามตั้งกติกาที่ไม่สมควร เช่น ไม่บวชสามเณรให้ในพรรษา ไม่พูดคุยกัน
2. ห้ามรับปากว่าจะจำพรรษาในที่ใดแล้ว ไม่จำพรรษาในที่นั้น.


เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

บทความที่เกี่ยวข้อง

อวยพร วันพระ บุญรักษา พระคุ้มครองวันธรรมสวนะ ละชั่ว ทำดี เริ่มตั้งแต่วันนี้ วันมาฆบูชา วันกตัญญูแห่งชาติวันมาฆบูชา วันกตัญญูแห่งชาติ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ทรงเครื่องทรงสำหรับฤดูหนาว ๒๕๖๔ปีใหม่ 2565 นี้ อัญเชิญบารมีพระแก้วมรกต คุ้มครอง สวดมนต์ประโยชน์ หรือ อานิสงส์ของการไหว้พระสวดมนต์
ธรรมะคุ้มครอง สิ่งนำโชค วันสำคัญ

แนะแนวเรื่อง

Previous post
Next post

สวัสดียามเช้า พระคุ้มครอง

  • คลิป VIDEO
  • คอมพิวเตอร์
  • คาถา
  • ดาวน์โหลด
  • ตำนาน
  • ธรรมะคุ้มครอง
  • นานาสาระ
  • นิทาน
  • นิสัยใจคอ
  • บ้านและสวน
  • ประเพณี
  • พระสายกรรมฐาน
  • พระเครื่อง
  • ภาษาวัด ภาษาไทย
  • ยาสมุนไพรโบราณ
  • วัดธรรมยุตในต่างประเทศ
  • ส่งคำอวยพร
  • สังฆทาน
  • สิ่งนำโชค
  • สุขภาพ
  • อาชีพและครอบครัว
  • เครื่องราง
  • เรียกจิต
  • เรื่องผี
  • แนะนำหนังสือ
  • แบ่งปัน
  • ไม้ประดับ ไม้มงคล

เว็บไซต์แห่งนี้ นำเสนอบทความเกี่ยวกับ วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง มนต์คาถา พิธีกรรมต่าง ๆ
ซึ่งทั้งหมด เป็นที่พึ่งทางจิตใจ เป็นความรู้ เป็นความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมา
ทางเราไม่อาจจะพิสูจน์ได้ว่า ความเชื่อเหล่านั้นเป็นจริงหรือไม่
ผู้เขียนบทความ ไม่อาจจะรับรองความเชื่อนั้นว่าจะได้ผลจริง หากท่านนำไปปฏิบัติตาม
หน้านโยบายความเป็นส่วนตัว

บทความต่าง ๆ บนเว็บไซต์นี้ แม้ทางเรานำเสนอโดยการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จึงมาเขียน ฉะนั้น ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความโดยพยัญชนะ