พระชัย สมัยอยุธยา
พระชัย หรือ พระไชย ตำนานศาวดารกล่าวไว้ว่าเป็นตำรับการสร้างของสมเด็จพระพนรัตน์แห่งวัดป่าแก้ว และท่านยังเป็นผู้ถวายพระคาถาพาหุงมหากาถวายแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเพื่อทรงสวดสาธยายเป็นประจำนำมาซึ่งชัยชนะในการศึกทั้งภายในและภายนอก โดยมีนัยแห่งความหมายว่า “ปราบมาร ได้ชัยชนะ” (ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ยังไม่ได้ตรวจสอบว่าจริงหรือไม่)
พระชัย หากแปลตัวตัวอักษร ได้แก่ ความชนะ คือไม่แพ้
การที่จะเรียกว่าพระชัย ก็ย่อมมีที่มาแห่งชื่อนี้ ผมเองยังไม่ได้สืบค้น แต่เป็นไปได้อยู่ 2 ลักษณะ (ไม่มีหลักฐานอ้างอิง)
- สร้างพระชัยขึ้นมาเพื่อหวังชัยชนะ
หมายความมีการสร้างพระชัยขึ้นมาในคราวที่ต้องออกสงคราม สร้างขึ้นเป็นพุทธบูชาไว้ในพุทธศาสนา อีกหวังพลังอานิสงส์แห่งการสร้างนี้ จะได้เป็นกำลังใจในการฝ่าฟันอุปสรรคขับไล่ศัตรูออกไป เพื่อความชัยชนะ นอกจากนั้นยังเชื่อว่ามีการอาราธนาพระชัยติดตัวไปด้วยเพื่อคุ้มครองป้องกันตนเองในศึกสงคราม - สร้างหลังจากที่ได้รับชัยชนะแล้ว
การสร้างหลังจากที่ชัยชนะแล้วนั้น ด้วยเหตุว่า เพื่อเป็นการฉลองมีความมีชัย เพื่ออุทิศส่วนบุญให้กับเหล่าทหารที่เสียชีวิตไป เพื่อเป็นขวัญกำลังใจของเหล่าทหารและครอบครัวที่ยังมีชีวิตอยู่
แต่หากพิจารณาดูจากศิลปะขององค์พระแล้ว น่าจะมีการสร้างก่อนที่จะออกศึกสงครามมากกว่า เพราะองค์ไม่ได้ออกแบบมาอย่างสวยงามมากนัก เหมือนจะเป็นการรีบสร้าง บางองค์มีห่วงที่ด้านหลังสำหรับร้อยเชือกเพื่อใช้คาดบ่าเวลาออกรบหรือเดินทางอีกด้วย
พุทธคุณพระชัย
หากเป็นพระเครื่องที่สร้างในคราวศึกสงครามก็ต้องหวังพุทธคุณด้านคุ้มครองป้องกันอันตราย คงกระพันชาตรี เพื่อชนะในการศึกสงคราม