พระคาถาชินบัญชร
พระคาถาชินบัญชร เป็นพระคาถาที่มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก เดิมทีเป็นของลังกา ต่อมาท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้ค้นพบในคัมภีร์ใบลานโบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สวดในประเทศไทย
ผู้ใดได้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้เป็นประจำอยู่สม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ผู้นั้น ศัตรูไม่มากล้ำกราย เกิดเป็นเมตตามหานิยม ขจัดทุกข์ภัยทั้งหลาย ตลอดจนกันคุณไสยต่าง ๆ เพื่อให้เกิดอานุภาพสูงสุดแห่งพระคาถานี้ ก่อนสวดพระคาถาชินบัญชรให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วสวดบทบูชานำก่อน ดังนี้
ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง
อัตถิ กาเย กายะญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตตะวา
อิติปิโส ภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
แต่นั้น พึงสวดพระคาถาชินบัญชรจนกว่าจะจบ
๑. ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
๒. ตัณหัง กะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา.
๓. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.
๔. หะทะเย เม อนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก.
๕. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.
๖. เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิ ปุงคะโล.
๗. กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร.
๘. ปุณโณ อังคุลิมาโลจะ อุปะลี นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะอิเมชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.
๙. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
๑๐. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง.
๑๑. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเล ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา.
๑๒. ชินานานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะลังกะตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา.
๑๓. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
๑๔. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.
๑๕. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตูปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิชินะปัญชะเรติ.
วิธีใช้พระคาถาชินบัญชรแต่ละบท
๑. ใช้อาราธนาพระสมเด็จไปกับตัว ให้ใช้พระคาถาที่ ๓
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโรจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
๒. หากต้องการให้คำพูดเป็นที่รักที่เมตตาต่อผู้อื่น ผู้ฟังมีความชื่นชอบในวาจาของเรา เป็นต้นว่า ศิลปิน นักพูด นักแสดง พึงใช้พระคาถาที่ ๗ ดังนี้
กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
๓. ต้องการความเป็นสิริมงคล เมตตามหานิยม ใช้เสกน้ำล้างหน้า หรือ เสกแป้งทาหน้า พึงใช้พระคาถาที่ ๘ ดังนี้
ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลีนันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ
๔. ต้องการให้เกิดความแคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายทั้งหลาย พึงใช้พระคาถาที่ ๙ ดังนี้
เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอตาสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
๕. ต้องการด้านอยู่ยงคงกระพัน ป้องกันอาวุธทั้งหลาย พึงใช้พระคาถาที่ ๑๐ ดังนี้
ระตะนัง ปุรุโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
๖. ต้องการเพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ พึงใช้พระคาถาที่ ๑๓ ดังนี้
อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะ ชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะ ปัญชะเร
๗. ใช้อาราธนาพระคุ้มครอง เพื่อความปลอดภัย เมื่อต้องเดินทางไปในที่ต่าง ๆ พึงใช้พระคาถาที่ ๑๔ ดังนี้
ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮีตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา
๘. ภาวนาให้ส่งเสริมความจำ เล่าเรียนสำเร็จ เป็นคาถาเรียนเก่ง คาถาสอบผ่าน พึงใช้พระคาถาที่ ๕ ดังนี้
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุลา
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก
๙. ใช้สวดภาวนาเพื่อให้เกิดสง่าราศี เมื่อต้องออกไปร่วมพิธีการต่าง ๆ หรือปรากฏตัวในที่ชุมนุมชน อย่างไปเป็นโชว์ตัว หรือพิธีกรต่าง ๆ พึงใช้พระคาถาที่ ๖ ดังนี้
เกสัณโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
๑๐. ใช้พระคาถาชินบัญชร เพื่อป้องกันภูติผีปีศาจร้ายต่าง ๆ ไม่ให้มารบกวน พึงใช้พระคาถาที่ ๑๐-๑๑ ดังนี้
ระตะนัง ปุรุโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
๑๑. สวดอาราธนาพระคาถาชินบัญชรสำหรับทำน้ำมนต์ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง เกิดเป็นเมตตามหานิยม พึงใช้พระคาถาที่ ๘ ดังนี้
ปุณโณ อังคุลิมาโลจะ อุปะลี นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะอิเมชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ
นี่ถือว่าเป็นเคล็ดลับการสวดการใช้พระคาถาชินบัญชร แต่อย่างไรก็ตาม การใช้พระคาถาชินบัญชรเฉพาะบทนั้น เหมาะสมกับการสวดเฉพาะเรื่อง ๆ ไป หรือเมื่อเกิดเหตุการณ์เฉพาะหน้า ทำงานเฉพาะอย่างไป เช่น เขาเชิญไปพูด ก่อนขึ้นเวทีก็ให้สวดพระคาถาชินบัญชรบทที่ ๗ ก่อน อย่างนี้เป็นต้น แต่หากสวดพระคาถาชินบัญชรอยู่ที่บ้านหน้าโต๊ะหมู่บูชา ควรอย่างยิ่งที่จะสวดพระคาถาชินบัญชรทั้ง ๑๕ บท
วิธีสวดพระคาถาชินบัญชร ย่อ เป็นบทสรุปของการสวดพระคาถาชินบัญชร