ลักษณะคนประมาท
เรามักจะพูดว่าอย่าประมาทนะ หรือพูดกันว่าคนนั้นคนนี้ประมาท ความประมาทเป็นอย่างไร ลักษณะของประมาทเป็นอย่างไร บางเรื่องอาจจะเข้าใจว่าเขาไม่ประมาท แต่จริง ๆ นั่นคือความประมาทตามหลักของธรรม
- ไม่ทำกิจโดยเคารพ : หมายถึงคนที่มีหน้าที่การงานที่ต้องทำ แต่ไม่ทำกิจการงานตามหน้าที่นั้นด้วยความเคารพ ทำแบบขอไปที ทำแบบขาดคุณภาพงาน ไม่มีความจริงใจในการทำงานนั้น
- ไม่ทำติดต่อกัน : ทำไม่ติดต่ออย่างต่ออเนื่อง กิจกรรมการงานบางอย่าง ต้องทำอย่างต่อเนื่องกันจึงจะประสบความสำเร็จ คำนี้นึกถึงโบราณที่ว่า “ดินพอกหางหมู”
- ทำ ๆ หยุด ๆ : เดี๋ยวทำ เดี๋ยวพัก ถ้าทำงานบริษัทเจ้านายเดินมาถึงทำ พอเจ้านายเดินหนีก็หยุด
- ทำอย่างท้อถอย : ทำด้วยความท้อแท้ จิตใจห่อเหี่ยว ไม่เข้มแข็ง นี่ก็ประมาทเช่นกัน
- ทอดฉันทะ : ฉันทะคือความพึงพอใจในกิจการงานนั้น ๆ ถ้าไม่มีความพอใจหรือเต็มใจที่จะทำแล้วยากที่งานจะออกมาได้ดี
- ทอดธุระ : ทอดธุระ ชักสะพานในหน้าที่การงานนั้นเสีย ก็ยากที่จะสำเร็จ
- ไม่ติด : ไม่ติด ไม่ยินดี ไม่ปลื้ม ไม่เป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับสิ่งที่ทำ
- ไม่คุ้น : ไม่คุ้น ไม่ถนัด ไม่สร้างความสนิทชิดเชื้อกับงานหรือสิ่งที่ทำ
- ไม่ทำจริง ๆ จัง ๆ : ข้อนี้น่าจะชัดเจน ไม่หยุด ๆ หย่อน ๆ ทำแบบไม่เต็มร้อย
- ไม่ตั้งใจทำ :ขาดความตั้งใจ ขาดความวิริยะ ขาดความตั้งอกตั้งใจ ขาดความตั้งมั่นในสิ่งนั้น
- ไม่หมั่นประกอบ : ขาดการใช้ปัญญาพิจารณาในสิ่งที่ทำนั้นเนื่อง ขาดการประเมินผลงานที่ทำ
ทั้งหมดนี้ ผมเป็นผู้อธิบายเอง ผมอาจจะอธิบายที่เข้าใจยากก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามปกติคนเรามักจะเป็นคนประมาทอยู่แล้ว ฉะนั้น อย่าเพิ่งนำสิ่งที่เสริมเพิ่มความประมาทให้แก่ตน เช่น อบายมุขทั้งหลาย ความเกียจคร้าน การคบคนไม่ดี การดื่มสุราเครื่องมึนเมาเป็นต้น