อาหารที่เก็บได้นานเป็นต้นว่า ข้าวสาร ปลาแห้ง เนื้อแห้ง อาหารกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง เป็นต้นที่สามารถเก็บไว้นาน
บางคนอาจจะกล่าวว่าพระไม่สามารถเก็บอาหารไว้ฉันได้ ต้องรับประเคนฉันวันต่อวันเท่านั้น การนำอาหารแห้งไปถวายพระจะเป็นบาป ผิดพระวินัย ในเรื่องนี้ผมอธิบายว่า ในเมื่อคุณตั้งใจทำบุญ บุญเกิดที่ตัวคุณ อยู่ที่การกระทำของคุณ คุณจะไปกังวลเรื่องอื่นทำไม อีกอย่างเรานำไปถวายวัด ซึ่งวัดมีโรงครัวสำหรับเก็บอาหารแห้งโดยเฉพาะ และจะมีญาติโยมที่อยู่ในวัด หรือมาวัดในเวลาเช้าทำอาหารแห้งเหล่านั้นให้สมควรแก่การนำไปถวายพระในเวลาเช้า จะเห็นว่าพระมท่านไม่ได้แตะต้องอาหารนั้นเลย ไม่ได้เก็บแต่โยมเป็นผู้เก็บ โยมเป็นผู้ทำอาหารนั้นให้ควรแก่การฉันแล้วนำไปถวายพระในเวลาฉัน
เราควรถวายอาหารแห้งในโอกาสใด
- ถวายอาหารแห้งแก่วัดที่อยู่ในที่ทุรกันดาล มีญาติโยมมาทำบุญน้อย แต่พระเยอะ โดยมากจะเป็นวัดที่อยู่ตามป่าเขา
- ถวายอาหารแห้งแก่วัดที่จัดงานต้อนรับกฐิน ผ้าป่า
- ถวายอาหารแห้งแก่วัดจัดงานประชุมสงฆ์ งานปริวาสกรรม
- ถวายอาหารแห้งแก่วัดที่จัดบวชสามเณรฤดูร้อน
- ถวายอาหารแห้งแก่วัดที่ต้องช่วยเหลือคนเป็นจำนวนมาก อย่างวัดพระพุทธบาทน้ำพุ
คำถวายอาหารแห้ง
จริง ๆ ไม่ต้องกล่าวคำถวายก็ได้ครับ เพียงแต่ยกขึ้นบนศาลาแล้วแจ้งให้พระท่านทราบว่านำอาหารมาไว้ที่โรงครัว เมื่อถึงเวลาให้ศิษย์จัดการ หรือหากมีศิษย์ที่เป็นฆราวาสอยู่ในวัดเราก็บอกกล่าวกับเพื่อให้เขารับทราบและจัดทำอาหารแห้งนั้นถวายพระ
แต่หากจะกล่าวคำถวายอาหารแห้งก็ใช้คำกล่าวถวายสังฆทานทั่วไปก็ได้
อานิสงส์ของการถวายอาหารแห้ง
สำหรับอานิสงส์ของการถวาย ข้าวสาร อาหารแห้งนั้น นั้นเชื่อว่า
- จะทำให้มีชีวิตที่ดีขึ้น มีความมั่งคั่งขึ้น
- ไม่อดอยากทั้งชาตินี้และชาตินี้
- เป็นผู้มีพละกำลังดี มีสุขภาพแข็งแรง
- เป็นผู้มีผิวพรรณดี
- เป็นผู้มีบริวารมาก
- เป็นใหญ่โต เป็นที่พึ่งของคนอื่น