พระพุทธรูปองค์นี้ถูกแกะด้วยไม้ตะเคียน ประดิษฐานอยู่ที่วัดปุญญวนาราม เมืองเมลเบิร์น รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นไม้ตะเคียนแกะจากเมืองไทย ทราบว่ามีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ไม่น้อย ตั้งจิตอธิษฐานตามบุญกรรมของคนนั้น ๆ
เป็นความนิยมตั้งแต่สมัยเก่าก่อนที่นิยมนำไม้ที่เป็นมงคลมาแกะเป็นพระพุทธรูป ซึ่งตามตำนานนั้นพระพุทธรูปองค์แรกสร้างไม้จันทร์หอมในประเทศอินเดีย ตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นในสมัยพุทธกาล ตามจดหมายเหตุของท่านพระถังซัมจั๋งที่ท่านได้เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่อินเดียท่านก็ได้ไปเจอมาแล้วครับ และท่านได้ทำการบันทึกไว้ แต่ไม่ทราบว่าต่อมาพระพุทธรูปไม้จันทร์ดัวกล่าวได้หายไปไหน
พุทธคุณ พระพุทธรูปไม้แกะ
อันที่จริงพุทธคุณแห่งพระพุทธรูปนั้นไม่น่าจะแตกต่างกัน แต่หากเป็นพระพุทธรูปที่สร้างด้วยเนื้อต่าง ๆ นั้น ได้ถูกบวกความเชื่อความศรัทธาตามวัตถุที่นำมาสร้างพระพุทธรูปขี้นมา กล่าวโดยพระพุทธรูปที่สร้างด้วยไม้มงคลมักมีความเชื่อตามชื่องของไม้หรือที่มาของไม้ ซี่งผมาได้กล่าวไว้แล้วในบทความพระพุทธรูปไม้มงคล
นอกจากความเป็นมงคลตามชื่อไม้แล้ว ที่มาของไม้ก็เป็นส่วนหนึ่ง เช่น หากเป็นไม้ตายพราย ก็เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตย์ของเทพยดามาก่อน เมื่อเทพยดาไปจุติที่อื่นไม้นั้นทรงอยู่ไม่ได้ เหมือนประหนึ่งว่าไม้นั้นเป็นวิมานคู่บารมีเฉพาะเทพยดาองค์นั้น ๆ หรือเทพยดาได้ทำการอธิษฐานให้ต้นไม้นั้นตายทั้งยืนเพื่อเป็นอนุสรณ์ไว้บนโลกนี้สื่อให้รู้ว่าท่านได้ไปแล้ว จีงมีความเชื่อว่าต้นไม้นี้ได้รับพลังทิพย์ของเทพยดาหรือรุกขเทวดาจึงควรค่าแก่การนำมาแกะเป็นพระพุทธรูปหรือเทวรูป
แม้ต้นไม้ฟ้าผ่าตายทั้งยืนก็มีคติเช่นเดียวกัน เชื่อว่ารูกขเทวดาได้ไปจุติที่อื่น เชื่อว่าต้นไม้นั้นได้รับพลังแห่งเทพจึงควรแก่การนำมาแกะเป็นเครื่องรางอันเป็นมงคล
อีกที่มาแห่งไม้ประเภทหนึ่งที่นิยมนำมาแกะเป็นพระพุทธรูปหรือเทวรูปได้แก่ไม้โบราณที่มีอายุหลายร้อยหลายพันปีที่ถูกค้นพบในน้ำบ้าง ถูกฝังดินอยู่บ้าง เจอในป่าลึกบ้าง นิยมนำมาแกะเป็นพระพุทธรูป หรือบางแห่งนิยมนำมาปิดทองให้ผู้คนได้ขอโชคลาภ เพราะเชื่อว่ามีรุกขเทพอาศัยอยู่
เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องของความเชื่อครับ เชื่อพอประมาณ หากได้นำไม้เหล่านั้นมาสร้างเป็นพระพุทธรูป สิ่งที่เรากราบไหว้คือพระพุทธคุณหาใช่กราบไหว้ไม้ไม่