พระนาคปรก มีพระพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปนั่งสมาธิ มีพญานาคแผ่พังพานขึ้นไปปรกพระเศียรของพระพุทธรูป นิยมทำเป็นรูปพญานาคขดตัวเป็นฐานตั้ง ส่วนพระพุทธรูปนั่งสมาธิบนตัวพญานาค มีพังพานและหัวของพญานาคปรกอยู่ ส่วนเศียรพญานาคนั้นนิยม 7 เศียร (ตามวันเสาร์เป็นวันที่เจ็ด) แต่ก็ไม่แน่นอน 5 และ 9 เศียรก็มี (ตำนานไม่ได้ระบุจำนวนเศียรน่าจะมีเศียรเดียว)
ตำนานพระนาคปรก
เรื่องตำนานการสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรกนี้มีที่มาที่ไปไม่ใช่คิดอยากจะสร้างขึ้นมาก็สร้าง หรือแต่งตำนานขึ้นมาเอง ประวัติพระนาคปรกมีอยู่ว่า หลังจากที่พระบรมโพธิสัตว์ได้ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธองค์ได้เสด็จประทับเพื่อเสวยวิมุติสุขในสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงประทับแต่ละที่สัปดาห์ละ 7 วัน และในสัปดาห์ที่ 6 นั้น พระพุทธองค์ได้ทรงประทับ ณ ใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้แห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งขณะนั้นไดเกิดฝนตกพรำตลอดทั้ง 7 วัน ในปฐมสมโพธิได้กล่าวไว้ว่า พญานาคตนหนึ่งท่านเรียกตามชื่อต้นไม้ว่า มุจลินทร์ ได้ขึ้นจากสระน้ำที่อยู่ในบริเวณนั้น เข้าไปวงขนด 7 รอบ แล้วทำการแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้า เพื่อมิให้ลมฝนพัดและสาดกระเซ็นมาต้องพระวรกายของพระพุทธองค์ อีกทั้งยังป้องกันแมลง เหลือบ ยุง หรือสัตว์เหล่าอื่นที่จะแตะต้องพระวรกายอีกด้วย เมื่อฝนหยุดตก ฟ้าสาง แล้ว พญานาคนั้นจึงคลายขนดออก แล้วจึงจำแลงเป็นมาณพหนุ่มยืนประนมมือเฝ้าอารักขาพระพุทธเจ้าทางเบื้องพระพักตร์
ด้วยพระพุทธจริยาที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขภายในวงขนดของพญานาคมุจจลินท์ที่ขดแวดล้อมปกป้องพระกายเช่นนี้ จึงเป็นเหตุให้มีการสร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้นมา แล้วเรียกว่า พระพุทธรูปปางนาคปรก เรื่องของการสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรกนี้ เดิมที่สร้างตามที่ปรากฏในพุทธประวัติ คือสร้างให้พระพุทธรูปมีพญานาคพันรอบพระวรกายด้วยขนดตัวพญานาคซ้อนกันขึ้นไปหลายขนดจนบังพระวรกายมิดชิด เพื่อป้องกันฝนและลมที่จะมาถูกต้องพระวารกาย จะเห็นได้ก็เพียงพระเศียร พระศอ หรือพระอังสาเป็นอย่างมาก ส่วนเบื้องบนก็จะมีหัวของพญานาคแผ่พังพานปกคลุมพระเศียรของพระพุทธรูป ต่อมานิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปนั่งบนขนดตัวพญานาคประหนึ่งว่ามีพญานาคเป็นบัลลังก์ประทับ ซึ่งดูแล้วสง่างามกว่า (แบบเดิมเหมือนพญานาครัดพระวรกาย) ดูองอาจว่า ดูสมพระเกียรติของพระองค์มากกว่า
พระนาคปรกใบมะขาม
พระนาคปรกใบมะขาม เป็นพระพุทธรูปขนาดเล็กสำหรับห้อยคอที่เรียกกันว่า พระเครื่อง มีลักษณะเล็กคล้ายใบมะขาม ในวงการพระเครื่องจึงเรียกกันว่าพระนาคปรกใบมะขาม หรือปรกใบมะขาม
พระนาคปรกใบมะขาม ชุดเบญจภาคี
- พระนาคปรกใบมะขาม พระสนิทสมณคุณ (เจ้าคุณสนิท) วัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด)
- พระนาคปรกใบมะขาม หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เนื้อทองแดง จ.ชัยนาท
- พระนาคปรกใบมะขาม เจ้าคุณสุนทรสมาจาร (พรหม) วัดกัลยาณมิตร
- พระนาคปรกใบมะขามหลวงปู่ใจ วัดเสด็จ
- พระนาคปรกใบมะขาม สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม
พระนาคปรกของพระเกจิที่ได้รับความนิยม
- พระนาคปรกหลวงปู่ทิม
- พระนาคปรกหลวงปู่หมุน
- พระนาคปรกหลวงปู่โต๊ะ
- พระนาคปรกหลวงปู่ศุข
- พระนาคปรกหลวงปู่บุญ
- พระนาคปรกหลวงปุ่แหวน
- พระนาคปรกหลวงปู่ดุลย์
- พระนาคปรกหลวงปู่หลิว
- พระนาคปรกหลวงปู่บุญมา
- พระนาคปรกหลวงปู่สอ
- พระนาคปรกหลวงปู่เพิ่ม
- พระนาคปรกหลวงพ่อคูณ
- พระนาคปรกหลวงพ่อกวย
- พระนาคปรกหลวงพ่อเกษม
- พระนาคปรกหลวงพ่อรุ่ง
- พระนาคปรกหลวงพ่อแพ
- พระนาคปรกหลวงพ่อเดิม
- พระนาคปรกหลวงพ่อเงิน
- พระนาคปรกหลวงพ่อศิลา
- พระนาคปรกหลวงพ่อโบ้ย
- พระนาคปรกหลวงพ่อชา
- พระนาคปรกหลวงพ่อรวย
- พระนาคปรกหลวงพ่อสาคร
- พระนาคปรกหลวงพ่อเปิ่น
- พระนาคปรกครูบากฤษดา
- พระนาคปรกครูบาสร้อย
- พระนาคปรกครูบาธรรมชัย
- พระนาคปรกหลวงปู่ตื้อ
- พระนาคปรกหลวงปู่ฝั้น
- พระนาคปรกพ่อท่านคลิ้ง
- พระนาคปรกหลวงปู่สิม
พระนาคปรกกรุที่ได้รับความนิยม
- พระนาคปรกกรุนาดูน
- พระนาคปรกกรุลพบุรี
- พระนาคปรกกรุเมืองไพร
- พระนาคปรกกรุวัดพระศรี สุพรรณบุรี
- พระนาคปรกกรุนางตรา
- พระนาคปรกกรุพระธาตุนาดูน
- พระนาคปรกกรุลาวทอง
- พระนาคปรกกรุพิจิตร
- พระนาคปรกกรุ
- พระนาคปรกกรุวัดราชบูรณะ
- พระนาคปรกกรุท้ายตลาด
- พระนาคปรกกรุวัดพระแก้ว
- พระนาคปรกกรุวัดนางชี
พระนาคปรกวัดที่ได้รับความนิยม
- พระนาคปรกวัดอนงค์
- พระนาคปรกวัดท้ายตลาด
- พระนาคปรกวัดบวร
- พระนาคปรกวัดกัลยา
- พระนาคปรกวัดนาคปรก
- พระนาคปรกวัดโพธิ์งาม
- พระนาคปรกวัดระฆัง
- พระนาคปรกวัดโพธิ์
- พระนาคปรกวัดพระแก้ว
- พระนาคปรกวัดบรม
- พระนาคปรกวัดสุทัศน์
- พระนาคปรกวัดแจ้งนอก
- พระนาคปรกวัดละมุด
- พระนาคปรกบรมนิวาส
พุทธคุณ และคติความเชื่อ พระนาคปรก
เกี่ยวกับพระนาคปรกนั้น มีความเชื่อในด้านพุทธคุณอยู่ว่า
- เด่นด้านมหาอำนาจ ข้าราชการทหาร ตำรวจหรือผู้ทำงานเกี่ยวกับการปกครองนิยมนำบูชาประจำตัว
- เด่นด้านป้องกันภัย นิยมนำพระนาคปรกมาบูชาไว้ประจำบ้าน ในสำนักงาน หรือหน่วยงานต่าง ๆ
- เด่นด้านยกฐานะให้สูงขึ้น เลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน เลื่อนฐานะหรือยกฐานะให้ดีขึ้น
- ผู้ที่เป็นคดีความ ขึ้นโรงขึ้นศาลก็นิยมแขวนบูชาพระนาคปรกไว้ประจำตัว
- พระนาคปรกนิยมว่าเป็นพระพุทธรูปประจำผู้ที่เกิดวันเสาร์
- พระนาคปรกนิยมกล่าวว่าเป็นพระประจำปีนักษัตรผู้เกิดปีมะโรง
พระคาถาบูชาพระนาคปรก หรือผู้ที่เกิดวันเสาร์
สวดพระคาถาองคุลีมาลปริตร 10 จบ ดังนี้ “ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิ ชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ”