เหรียญฉลอง พระพุทธศาสนา ปี 2500
ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่พระพุทธปางลีลาน่าจะได้ต้นแบบมาจากพระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ ซึ่งเป็นการสร้างขึ้นเพื่อฉลองวาระกึ่งพุทธกาล เมื่อ พ.ศ. 2500 ด้านหน้ามีข้อความภาษาไทยว่า “ฉลองพุทธสาสนา ๒๕๐๐” (เขียนแบบบาลี ใช้ตัว ส ) ด้านหลังเป็นยันต์ประจำตัวท่านคือ ยันต์นกคุ้ม หรือยันต์หมอมหาวิเศษ แบ่งออกเป็นแบบของ “ชาย” และ “หญิง” สร้างที่วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา อธิษฐานจิตโดย พระอาจารย์สิงห์ หรือ หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม
วัดป่าสาลวัน อ่านประวัติหลวงปู่สิงห์
หากสังเกตให้ดี จะเห็นว่าเหรียญทั้งสองนี้จะมียันต์ที่คล้ายกันแต่ก็แตกต่างกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ผมไม่แน่ใจว่า เพราะเหตุใดท่านจึงแยกเหรียญเป็น ชาย-หญิง ยันต์อาจจะเป็นสิ่งบ่งบอกความแตกต่างกัน เข้าใจว่าท่านน่าจะเลือกอักขระยันต์ให้เหมาะสมกับเพศ ถ้าเป็นเช่นนั้นแสดงว่าท่านมีความละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก รู้จริตนิสัยของเพศหญิงเพศชาย รู้จักธาตุของชายหญิง รู้ว่าชายปกติเป็นผู้มีจริตนิสัยอย่างนี้มีธาตุอย่างนี้ ต้องใช้ยันต์แบบนี้เป็นเครื่องแก้และประคับประครองส่งเสริมดวงชะตา รู้ว่าผู้หญิงมีจริตนิสัยแบบนี้มีธาตุที่เป็นธรรมชาติอย่างนี้ จึงได้ใช้ยันต์แบบนี้สำหรับผู้หญิงเพื่อแก้และประคับประครองส่งเสริมให้ดวงชะตาดีขึ้น
ผมจึงเชื่อว่าเหรียญลักษณะแบบนี้มีพุทธคุณส่งเสริมดวงชะตา แก้ในสิ่งที่ไม่ดี เช่น ผู้ชายมักเป็นคนวู่วาม หากบูชาเหรียญนี้ก็อาจจะช่วยแก้ไขปรับเปลี่ยนให้เย็นขึ้น กันสิ่งที่ไม่ดีอันเกิดจากจริตนิสัยของตนเอง เหรียญจึงเป็นลักษณะของเหรียญทั้งกัน แก้ และส่งเสริมดวงชะตาให้ดีขึ้น
หากได้บูชาเหรียญทั้งสองนี้คู่กัน ความสมดุลก็จะเกิดขึ้นเหมือนครอบครัวที่มีพ่อ แม่ ลูก (ตัวเรา) อยู่ครบ ส่งเสริมความรักความสามัคคี ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความรักความสามัคคีนี้แหล่ะยังประโยชน์ทุกอย่างให้สำเร็จ พบกับความเจริญก้าวหน้า นำมาซึ่งความสุขสงบร่มเย็นตลอดไป