ศีลข้อที่ ๔ คือการเว้นจากการพูดเท็จ หมายถึง การสำรวมระวังในการใช้คำพูดที่เว้นจากการพูดเท็จ พูดปด พูดส่อเสียด พูดเพ้อเย้อ พูดคำหยาบคาย พูดโกหกหลอกลวงผู้อื่นให้เสียประโยชน์
ศีลข้อนี้ นอกจากการแสดงออกทางวาจา คือพูดโกหก พูดเท็จตรง ๆ แล้ว การแสดงออกทางกาย คิดทำเท็จทางกาย เช่น การเขียนจดหมายลวงให้คนอื่นเข้าใจผิด การทำรายงานเท็จ การสร้างหลักฐานปลอม การโฆษณาชวนเชื่อในเรื่องที่ไม่จริง การทำนิมิตเครื่องหมายอื่นทางกายอันมีเจตนาเพื่อให้คนอื่นเข้าใจไปอีกแบบหนึ่ง เช่น สั่นศีรษะ ก็จะเข้าในศีลข้อนี้
คำสมาทานศีลข้อที่ ๔
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเว้นจากการพูดไม่จริง
องค์ประกอบของศีลข้อที่ ๔ หรือองค์ของมุสาวาท ๔
๑. อะตะถัง เรื่องไม่จริง
๒. วิสังวาทะนะจิตตัง จิตคิดจะพูดให้ผิด
๓. ตัขโช วายาโม พยายามพูดออกไปตามจิตนั้น
๔. ปะรัสสะ ตัตถะวิชานะนัง ผู้ฟังเข้าใจเนื้อความนั้น
ธรรมที่ส่งเสริมศีลข้อที่ ๔
ความซื่อสัตย์ คือ การพูดความจริง เป็นสิ่งที่ทำให้ไม่เกิดการมุสาวาท
อานิสงส์ของการรักษาศีลข้อที่ ๔
๑. มีอินทรีย์ ๕ ผ่องใส
๒. มีวาจาไพเราะสละสลวย
๓. มีไรฟันอันเสมอชิตบริสุทธิ์
๔. ไม่อ้วนเกินไป
๕. ไม่ผอมเกินไป
๖. ไม่ต่ำเกินไป
๗. ไม่สูงเกินไป
๘. ได้แต่สัมผัสอันเป็นสุข
๙. ปากหอมเหมือนดอกบัว
๑๐.มีบริวารล้วนแต่ขยันขันแข็ง
๑๑.มีถ้อยคำที่บุคคลเชื่อได้
๑๒.ลิ้นบางแดงอ่อนเหมือนกลีบดอกบัว
๑๓.ใจไม่ฟุ้งซ่าน
๑๔.ไม่เป็นอ่าง ไม่เป็นใบ้
ที่มา อานิสงส์ของการรักษาศีลข้อที่ 4