ราคา ราคะ
ในพจนานุกรมไทย ให้ความหมายของ 2 ศัพท์นี้ ดังนี้
ราคา
น. มูลค่าของสิ่งของที่คิดเป็นเงินตรา
จํานวนเงินซึ่งได้มีการชําระหรือตกลงจะชําระในการซื้อขายทรัพย์สิน โดยปริยายหมายความว่า ค่าคุณค่า มักใช้ในความปฏิเสธเช่น เขาทำตัวเป็นคนไม่มีราคา. (ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน)
ราคะ
(มค. ราค) น. ความกำหนัด, ความยินดี, ราคะเป็นกิเลสละเอียด ฝังอยู่ในจิตใจ ได้แก่ความรู้สึก ชอบใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ กิเลสชนิดนี้ไม่เป็นบาปกรรมหรือเป็นความชั่วร้าย สำหรับสามัญชนทั่วไป แต่ถ้าไม่ควบคุมจิต ราคะจะกำเริบขึ้นเป็นโลภะ เป็นความตระห (ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร)
แท้จริงแล้ว ทั้ง ราคา และ ราคะ เป็นคำเดียวกันที่ใช้ต่างกันเท่านั้น ราคา มาจาก ราคะ
ของบางอย่างไม่ได้มีมูลค่าอยู่ในตัว แต่จะมีมูลค่าขึ้นเมื่อคนมีความต้องการ ยิ่งมีความต้องการมาก เป็นที่ต้องการมาก สิ่งนั้นก็จะมีมูลค่ามากขึ้นตามความต้องการหรือตามราคะของคน สิ่งนั้นจึงได้กลายเป็นของมีราคา
ยกตัวอย่างพระเครื่อง หากมีมากเกินไป หรือ ถูกมองว่าไม่แท้ คนก็ไม่มีความต้องการมาก ราคาก็น้อย แต่หากพระองค์นั้นกลายเป็นพระแท้ สร้างน้อย หายาก ความต้องการของคนก็มาก เจ้าของก็ต้องการเก็บไว้ คนอื่นก็อยากได้ไปครอบครอง จึงกลายเป็นของมีราคามาก เนื้อโลหะเล็ก ๆ หรือดินแค่นิดหน่อยก็มีราคาเป็นล้านตามความต้องการของคน