วิธีทำกัปปิยะ
มีพระบรมพุทธานุญาตให้บริโภคผลไม้ด้วยสมณกัปปะกรรม ที่ควรแก่สมณะ ๕ คือ
- ผลจดด้วยไฟ
- ผลจดด้วยศัสตรา
- ผลจดด้วยเล็บ
- ผลไม้ไม่มีพืช
- ผลมีพืชจะพึงปล้อนเสียได้
พืช มีรากไม้เป็นต้นซึ่งเกิดอยู่ในที่ชื่อว่า ภูตคาม เป็นวัตถุแห่งปาจิตตีย์ พืชนั้นเมื่อพรากให้พ้นจากที่แล้ว ชื่อว่า พีชคาม เป็นวัตถุแห่งทุกกฎ
พีชคามนั้น เมื่อจะบริโภคพึงบังคับอนุปสัมบัน (คือผู้ที่มิใช่พระภิกษุ ได้แก่ สามเณรหรือฆราวาส) ว่า “กัปปิยัง กะโรหิ” “ท่านจงทำกัปปิย” ดังนี้เสียอีกแล้วจึงบริโภค เมื่อเป็นเช่นนี้ชื่อว่าให้พ้นจากพีชคาม ก็แลจะทำกัปปิยะนั้น พึงทำด้วยไฟ หรือศัสตรา หรือเล็บ โดยการจดหรือแทงหรือตัดด้วยจงอย เข้าในที่แห่งหนึ่ง พืชนั้น ในทางปฏิบัติมักให้อนุปสัมบัน (คือผู้ที่มิใช่พระภิกษุ ได้แก่ สามเณรหรือฆราวาส) ใช้เล็บจิกหรือใช้ช้อนหั่นหรือใช้มีดตัดหรือเด็ดให้ขาด พร้อมกับกล่าวว่า “กัปปิยัง ภันเต” “สมควรแล้ว เจ้าข้า”
ทำกัปปิยะผลมะขวิด เป็นต้น พืชข้างในหลุดจากกะลาคลอนอยู่ พึงให้ต่อยออกทำกัปปิยะ ถ้าติดกันอยู่ไซร์ จะทำแม้ในกะลาก็ควร ก็แลผลอันใดเป็นของอ่อนไม่มีพืชและผลอันใดที่มีพืชปล้อนออกเสียบริโภคได้ กิจที่จะทำกัปปิยะในผลนั้นไม่มี
สรุปคือ พืช ผัก ผลไม้อันใดที่สามารถนำไปปลูกหรือเจริญงอกงามขึ้นได้ เป็นต้นว่า พริกแก่ ผักบุ้ง ใบบัวบก ต้องทำกัปปิยะเสียก่อน ส่วนผลไม้ใดสามารถนำเมล็ดออกได้โดยที่ไม่เมล็ดนั้นไม่ตายไม่ต้องทำต้องทำกัปปิยะก็ได้