ผมทราบมาว่า (ก็อ่าน ๆ มานี่แหล่ะครับ ผมเกิดไม่ทันยุค) พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินนั้นมีการสร้างทั้งที่เป็นฝีมือช่างจากร้านและฝีมือชาวบ้าน ในส่วนของช่างนั้นอาจจะมีการสร้างเป็นมาตรฐานสวยงามตามคำสั่ง แต่พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินที่สร้างโดยชาวบ้านที่ศรัทธาต่อหลวงพ่อเงินซึ่งมีจำนวนมากกว่า จึงเป็นเหตุให้พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินมีจำนวนมาก หลากหลายเนื้อ ทราบว่ามีการถอดพิมพ์ในระหว่างชาวบ้านด้วยกันก็มี หากใครที่มีฐานะมีเงินมีกำลังมีบริวารก็จ้างคนอื่นทำอาจจะเป็นชาวบ้านด้วยกันบ้าง ช่างจากทางร้านบ้าง คนต่างถิ่นได้ยินกิตติศัพท์หลวงพ่อเงินก็อยากมีพระรูปหล่อของท่านไว้บูชาจึงหล่อเองบ้างจ้างช่างหล่อบ้างแล้วนำมาให้ท่านปลุกเสกให้ ผมเชื่อว่าเรื่องเหล่านี้เป็นไปได้หมดครับ
ต่อมาบรรดาเซียนทั้งหลายที่ทำมาหากินกับการซื้อขายพระหลวงพ่อเงินก็พยามทำเป็นมาตรฐานขึ้นโดยจัดระเบียบว่าพระหลวงพ่อเงินมีกี่กี่รุ่นกี่พิมพ์ องค์ไหนนิยม องค์ไหนไม่นิยม และแน่นอนว่าต้องจัดเข้ากับพระเครื่องหลวงพ่อเงินที่ตนเองมีตนเองได้ศึกษามา ส่วนพิมพ์ไหน รุ่นไหนที่ตอนเองไม่มีไม่ได้ศึกษามาก็ไม่นับเข้าด้วย (จะว่าผมอ่านมานิดหน่อยแล้วนั่งเทียนเขียนก็ใช่ แต่มันก็เป็นไปได้ทั้งนั้นครับ)
สำหรับพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน (จริง ๆ ไม่มีเขียนไว้ ไม่มีใครบอก แต่ดูคล้ายหลวงพ่อเงินผมก็เรียกรูปหล่อหลวงพ่อเงินเลย) น่าจะเป็นฝีมือชาวบ้าน และทำกรอบบูชาแบบบ้าน ๆ เจ้าของเก่าซึ่งรุ่นไหนยุคไหนไม่รู้ใช้แขวนบูชามาจนหูขาด องค์พระสึกไปพอสมควรแล้วแต่ก็ทรงไว้ซึ่งความขลัง (เชื่อว่าอย่างนั้น) และความคลาสสิค ผมนำขึ้นขายบนเว็บไซต์ในราคาพันห้า ถ้าไม่มีคนซื้อผมจะนำไปเลี่ยมพลาสติกทับหรือไม่งั้นก็เลี่ยมเงินทับรับรองสวยแน่