Skip to content
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

  • Home
  • ทำบุญ
  • ธรรมะ
  • คาถา
  • นิทาน
  • นำโชค
  • เรื่องผี
  • ตำนาน
  • หนังสือ
  • เรียกจิต
  • ประเพณี
  • ภาษาวัด
  • ทายนิสัย
  • พระเครื่อง
  • เครื่องราง
  • นานาสาระ
  • ยาสมุนไพร
  • พระสายกรรมฐาน
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

ทำไมจึงต้องมีพระเก๊ พระไม่แท้ออกมามากมาย (ก็ขายได้ไง)

พระคุ้มครอง, 29 ตุลาคม 201931 ตุลาคม 2019
เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

ทำไม
ทำไม

ทำไมต้องมีพระเก๊พระปลอม บทความนี้เขียนอ่านเล่น ๆ ตามความคิดความเข้าใจของผมนะครับ ไม่ใช่ผลงานการวิจัยแต่อย่างใด ผมนึกอะไรได้เขียนสด ๆ ไปเลย เขียนให้เยอะเข้าไว้ ^_^

ทำไมต้องมีพระเก๊

  • มันเป็นสัจจธรรม (ยกให้สัจจธรรมเลย ง่ายดี) ที่มีของแท้ก็ต้องมีของปลอม ของเลียนแบบ อย่างมีฟันแท้ก็มีฟันปลอมครับ
  • เพราะพระเครื่องนั้น ๆ ได้รับความนิยม มีน้อย ใคร ๆ ก็มีอยากได้อยากมี จึงทำให้มีผู้ฉวยโอกาสนี้ทำการทำพระเก๊ออกมาขาย
  • เพราะความโลภความเห็นแก่ตัวของคน ผมพูดถึงคนที่ทำของเก๊ออกมาขายนะครับ ส่วนคนซื้อ มันเป็นเรื่องปกติของการซื้อขายสิ่งของบนโลกนี้ ผมไม่ถือว่าโลภแต่อย่างใด
  • คนเหล่านี้ หากินบนความเชื่อความศรัทธา หรือบนความโลภความหลงของคนอื่น ใครอยากได้มาก ๆ หลงมาก ๆ เป็นเสร็จเขา
  • เรื่องของพุทธคุณ เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ยากหรือไม่ได้เลย คนทำพระเก๊จึงอาศัยจุดนี้เช่นกัน เพื่อทำของเก๊ขึ้นมา โดยเฉพาะของที่สามารถทำเก๊ออกมาได้ง่ายแต่พิสูจน์ยากว่าเก๊หรือแท้ เป็นต้นว่า สีผึ้ง ตะกรุด เบี้ยแก้ ผ้ายันต์ ลูกอม ผมว่ามันพิสูจน์พุทธคุณยาก หากคุณศรัทธาแล้วใช้เก๊แท้ก็เหมือนขลังหมด ดีหมดครับ

พระเก๊มีมานานหรือยัง มีมานานหรือยัง

ผมเคยได้ยินผู้ที่อยู่ในวงการพระเครื่องกล่าวไว้ว่า “พระเก๊ มีมานานแล้วไม่ต่ำกว่า 50-60 ปี” เราจึงเห็นพระเก๊เก่าเก็บ แต่อย่างไรก็ตามเก๊ในสมัยหนึ่ง อีกสมัยหนึ่งอาจจะเป็นที่ยอมรับว่าแท้ก็ได้นะครับ

ผมได้ยินเรื่องเล่ามาว่า บางคนนำของเสริมหรือของเก๊นั่นแหล่ะครับไปสับเปลี่ยนหรือไปถวายหลวงปู่หลวงพ่อแจกก็มี คนที่ได้รับก็เก็บไว้อย่างดีไม่เคยไปแลกเปลี่ยนกับใคร นานเข้ายุคลูกหลานพอนำออกมาเช็คดูกับเซียนพระ กลายเป็นของเก๊ก็มีครับ เจ้าของถ้ายังอยู่ก็เถียงแทบตายว่ารับกับมือจะเป็นพระเก๊ได้อย่างไร

พระที่อยู่ในมือเซียนหรือวงการยอมรับแท้เสมอไปไหม

ความคิดเห็นตอบได้เลยว่าไม่ ไม่เสมอไป ของแท้คือของที่ออกจากวัด หลวงพ่อหลวงปู่ทำการปลุกเสกแจก หรือไม่ได้ปลุกเสก แต่ก็รูปเหมือนของท่าน ท่านเป็นเจ้าของเหรียญเจ้าของรูปเหมือนแจกเอง ฉะนั้น ส่วนตัวผมไม่มีเก๊ แต่อาจจะขายไม่ได้ ของแท้ในการ คือเป็นการยอมรับกันในวงการเท่านั้นว่าต้องแบบนี้ เนื้อนี้ พิมพ์นี้เท่านั้น ซึ่งเป็นการกำหนดเพื่อยอมรับกันขึ้นมาเพื่อทำการซื้อขายหรือกำหนดราคาเท่านั้นครับ บางทีอาจจะเก๊ก็ได้ แต่เมื่อยอมรับกันแล้วก็กลายเป็นของแท้ที่ซื้อขายกันได้ อย่างเหรียญบางรุ่น พระผงพรายกุมารหลวงปู่ทิมบางพิมพ์ เมื่อก่อนไม่ยอมรับกัน หรือไม่ยอมเล่นซื้อขายกัน ทุกวันนี้ขายได้หมดทุกพิมพ์ ลูกอม สีผึ้งก็เหมือน ดูยาก พิสูจน์ยาก แต่หากยอมรับกันแล้ว ออกใบรับรองให้กันแล้ว ก็กลายเป็นของแท้ ทั้งที่จริงแล้วมันเป็นสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าเก๊ จึงตีว่าของแท้เพื่อเอาค่าบัตรหรือเพื่อนำออกขายก็มีครับ


เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตะกรุด หลวงปู่เอี่ยม เก๊ตะกรุดดัง เจอแบบนี้เป็นอย่างไร ดูไว้เป็นกรณีศึกษา ให้เช่าพระเครื่องออนไลน์ ส่ง EMS ถึงบ้าน ปลอดภัย ได้พระแน่นอนเช่าวัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องรางกับพระคุ้มครอง เหรียญหลวงพ่อคูณ ปี 17 และ เหรียญหลวงพ่อคูณ รุ่นแรก ปี 12พระเครื่อง คุณเลือกแบบไหน สวยแต่ไม่นิยม หรือนิยมแต่ไม่สวย คุณกำหนดเองหรือให้เซียนกำหนด ทำไมซื้อขาย พระเครื่อง จึงใช้คำว่า เช่า ?ทำไมซื้อขาย พระเครื่อง จึงใช้คำว่า เช่า ?
พระเครื่อง พระปลอมพระเก๊พระเครื่องพระไม่แท้เช่าพระ

แนะแนวเรื่อง

Previous post
Next post

สวัสดียามเช้า พระคุ้มครอง

  • คลิป VIDEO
  • คอมพิวเตอร์
  • คาถา
  • ดาวน์โหลด
  • ตำนาน
  • ธรรมะคุ้มครอง
  • นานาสาระ
  • นิทาน
  • นิสัยใจคอ
  • บ้านและสวน
  • ประเพณี
  • พระสายกรรมฐาน
  • พระเครื่อง
  • ภาษาวัด ภาษาไทย
  • ยาสมุนไพรโบราณ
  • วัดธรรมยุตในต่างประเทศ
  • ส่งคำอวยพร
  • สังฆทาน
  • สิ่งนำโชค
  • สุขภาพ
  • อาชีพและครอบครัว
  • เครื่องราง
  • เรียกจิต
  • เรื่องผี
  • แนะนำหนังสือ
  • แบ่งปัน
  • ไม้ประดับ ไม้มงคล

เว็บไซต์แห่งนี้ นำเสนอบทความเกี่ยวกับ วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง มนต์คาถา พิธีกรรมต่าง ๆ
ซึ่งทั้งหมด เป็นที่พึ่งทางจิตใจ เป็นความรู้ เป็นความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมา
ทางเราไม่อาจจะพิสูจน์ได้ว่า ความเชื่อเหล่านั้นเป็นจริงหรือไม่
ผู้เขียนบทความ ไม่อาจจะรับรองความเชื่อนั้นว่าจะได้ผลจริง หากท่านนำไปปฏิบัติตาม
หน้านโยบายความเป็นส่วนตัว

บทความต่าง ๆ บนเว็บไซต์นี้ แม้ทางเรานำเสนอโดยการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จึงมาเขียน ฉะนั้น ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความโดยพยัญชนะ