พระร่วง หลังฉัตร จ.อุ ๑๐๐ ปี วัดมกุฏกษัตริยาราม
มูลในการจัดสร้าง
๑.เพื่อเป็นการฉลองพระอารามหลวงชั้นเอกมีอายุครบ ๑๐๐ ปี แห่งวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
๒.ฉลองพระชนมายุ ๗๐ พรรษา แห่งสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี)
จำนวนการจัดสร้าง (เฉพาะพระร่วง)
๑.พระร่วง หลังฉัตร จ.อุ เนื้อทองคำ สร้าง ๗๔ องค์
๒.พระร่วง หลังฉัตร จ.อุ เนื้อเงิน สร้าง ๖๗๔ องค์
๓.พระร่วง หลังฉัตร จ.อุ เนื้อทองแดง สร้าง ๕,๐๐๐ องค์
พิธีจัดสร้างพระร่วง หลังฉัตร จ.อุ
พระร่วงรางปืนหลังฉัตร จ.อ. วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี ๒๕๑๑ พิธี ๑๐๐ ปี วัดมกุฏกษัตริยาราม จัดสร้างพร้อมกับ พระกริ่งวชิรมงกุฏ ซึ่งในพิธีนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระอันเป็นพิธีเททองเป็นปฐมฤกษ์ “พระพุทธวชิรมงกุฏ (พระพุทธรูปบูชา)” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” ในวันอังคารที่ ๓ ตุลาคม ปี ๒๕๑๐ เวลา ๑๓ นาฬิกา ๑๕ นาที โดยมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิต เช่น
๑.) หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ
๒.) หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่า จ.ชลบุรี
๓.) หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
๔.) หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม จ.สมุทรสงคราม
๕.) หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร ธนบุรี พระนคร
๖.) หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเฉลิมอาสน์ จ.ราชบุรี
๗.) หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม
๘.) หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา
๙.) หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
๑๐.)พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี
พิธีพุทธาภิเษกพระร่วง หลังฉัตร จ.อุ
วันอังคารที่ 9 มกราคม 2511 พระสงฆ์ที่สวดพุทธาภิเษกและนั่งปรก ดังนี้
1 พระธรรมไตรโลกาจารย์ วัดเทพศิรินทราวาส จังหวัดพระนคร
2 พระธรรมกิตติโสภณ วัดเบญจมบพิตร จังหวัดพระนคร
3 พระธรรมวราภรณ์ วัดนรนาถสุนทริการาม จังหวัดพระนคร
4 พระธรรมจินดาภรณ์ วัดราชบพิธฯ จังหวัดพระนคร
5 พระธรรมปาโมกข์ วัดราชประดิษฐ์ฯ จังหวัดพระนคร
6 พระธรรมโสภณ วัดบวรนิเวศวิหาร จังหวัดพระนคร
7 พระราชเมธี วัดเศวตฉัตร จังหวัดธนบุรี
8 พระราชสุเมธาจารย์ วัดบางหลวง จังหวัดปทุมธานี
9 พระครูพัฒนกิจโกศล วัดชัยสิทธาวาส จังหวัดปทุมธานี
วันอังคารที่ 9 มกราคม 2511 พระสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ 4 รูป และวัดอรัญญิกาวาส 4 รูป พระอาจารย์นั่งปรก
1 พระราชมุนี วัดปทุมานาราม จังหวัดพระนคร
2 พระวรพรตปัญญาจารย์ วัดอรัญญิกาวาส จังหวัดชลบุรี
3 พระครูพิพิธวิหารการ วัดกษัตราธิวาส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
4 พระครูโกวิทสมานคุณ วัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม
5 พระครูสุตาธิการี วัดใหม่หนองพระอง จังหวัดสมุทรสงคราม
6 พระครูสันทัดธรรมคุณ วัดบ้านช้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
7 พระอาจารย์ขอม วัดไผ่โรงวัด จังหวัดสุพรรณบุรี
8 พระอาจารย์กี่ วัดหุช้าง จังหวัดนนทบุรี
9 พระครูสมห์ อำพล วัดประสาทบุญญาวาส จัดหวัดพระนคร
วันพุธ ที่ 10 มกราคม 2511 พระสงฆ์วัดชนะสงคราม 4 รูป และวัดอโศกราม 4 รูป พระอาจารย์นั่งปรก
1 พระรักขิตวันมุนี วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี
2 พระพุทธมนต์วราจารย์ วัดสุทัศนเทพวราราม จังหวัดพระนคร
3 พระครูโศภนกัลยาณวัตร วัดกัลยาณมิตร จังหวัดธนบุรี
4 พระอาจารย์คล้าย วัดจันดี จังหวัดนครศรีธรรมราช
5 พระครูประภัศรธรรมาภรณ์ วัดพระลอย จังหวัดสุพรรณบุรี
6 พระครูวิจิตรวิริยานุโยค วัดทองพุ่มพวง จังหวัดสระบุรี
7 พระครูพินิตสมาจาร วัดนามะตูม จังหวัดชลบุรี
8 พระครูพิทักษ์วิหารกิจ วัดราชนัดดาราม จังหวัดพระนคร
วันพฤหัสบดี ที่ 11 มกราคม 2511 พระสงฆ์วัดอโศกราม 3 ชุด ๆ ละ 4 รูป สวดพุทธาภิเษก พระอาจารย์นั่งปรก
1 พระราชวรคุณ วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
2 พระครูพรหมวิหาร วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
3 พระครูสันตวรญาณ วัดสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่
4 พระอาจาย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร
5 พระอาจารย์อ่อน วัดป่าหนองบัวบาน จังหวัดอุดรธานี
6 พระสุนทรธรรมภาณ์ วัดป่าชัยวัน จังหวัดขอนแก่น
7 พระสุธรรมคณาจารย์ วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา
8 พระอาจารย์มหาบัว วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี
9 พระอาจารย์บุญมา วัดสิริสารวัน จังหวัดอุดรธานี
ความหมายของพระร่วง
พระร่วงในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่า หลุดร่วง หรือ ร่วงหล่น แต่หมายถึง รุ่ง โรจน์ หรือ รุ่ง เรือง ฉะนั้น ผู้ที่บูชาพระร่วง จึงมีแต่ความรุ่งเรือง รุ่งโรจน์ รุ่งเรืองด้วย ลาภ ยศ ชื่อเสียง บริวาร เป็นต้น
คาถาบูชาพระร่วง
ทิวา ตะปะติ อาทิจโจ รัตติมาภาติ จันทิมา
สันนัทโธ ขัตติโย ตะปะติ ฌายี ตะปะติ พราหมโณ
อะถะ สัพพะมะโหรัตตัง พุทโธ ตะปะติเตชะสา
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ สุวัตถิ โหตุ สัพพะทาฯ