Skip to content
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

  • Home
  • ทำบุญ
  • ธรรมะ
  • คาถา
  • นิทาน
  • นำโชค
  • เรื่องผี
  • ตำนาน
  • หนังสือ
  • เรียกจิต
  • ประเพณี
  • ภาษาวัด
  • ทายนิสัย
  • พระเครื่อง
  • เครื่องราง
  • นานาสาระ
  • ยาสมุนไพร
  • พระสายกรรมฐาน
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

เหรียญหลวงพ่อคูณ ปี 17 บล็อก ๕ แตก แยกเป็นกี่บล็อก

พระคุ้มครอง, 12 ธันวาคม 202213 ธันวาคม 2022
เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

เหรียญหลวงพ่อคูณ ปี 17 บล็อก ๕ แตก แยกเป็นกี่บล็อก
เหรียญหลวงพ่อคูณ ปี 17 บล็อก ๕ แตก แยกเป็นกี่บล็อก

เหรียญปี 2517 หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ จังหวัดนครราชสีมา นับว่าเป็นเหรียญยอดนิยมอันดับต้น ๆ ของท่านในบรรดา ๓ เหรียญยอดนิยม ได้แก่

1. เหรียญรูปไข่ครึ่งองค์ ปี 2512 ออกที่วัดแจ้งนอก จังหวัดนครราชสีมา ถือกันว่าเป็นเหรียญ “รุ่นแรก” ของท่าน

2. เหรียญรูปไข่ครึ่งองค์ ปี 2517 ที่ระลึกในโอกาสสร้างกุฏิวัดสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา นับว่าเป็น “เหรียญรุ่นสอง” ของท่าน

3. เหรียญรูปไข่นั่งสมาธิเต็มองค์ หน้าตรง รุ่น “สร้างบารมี” ปี 2519 นับว่าเป็นเหรียญยอดนิยมของท่านเทียบเท่ากับเหรียญ รุ่นแรก เลยทีเดียว เพราะเป็นเหรียญแรกที่ออกในนามวัดบ้านไร่

สำหรับเหรียญหลวงพ่อคูณปี 2517 นั้น หากนับจากเหรียญรุ่นแรก ปี 2512 ที่ออกวัดแจ้งนอกแล้ว ถือว่าเป็นเหรียญรุ่นที่ 2 ของท่าน แต่โดยมากจะเรียกว่าเหรียญหลวงพ่อคูณปี 17

เหรียญหลวงพ่อคูณ ปี 2517 จัดสร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในการสร้างกุฏิวัดสระแก้ว เป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปหลวงพ่อคูณครึ่งองค์ หน้าตรง มีข้อความข้างบนว่า “หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ” ข้างล่างว่า “วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา” ตรงสังฆาฏิตอกโค้ด “ปรธ” ภายในวงกลม เป็นอักษรย่อมาจากฉายา “ปริสุทฺโธ” ของท่าน

ด้านหลังเหรียญเป็นอักขระยันต์อยู่ตรงกลางอันเป็นดวงชะตาของหลวงพ่อคูณ ล้อมด้วยคาถาภาษาบาลีเขียนด้วยอักษรขอมว่า “สะนิทัสสะนะ อัปปะฏิคา” “มะอะอุ” เป็นคาถามหาอุด หยุดกระสุนปืนยิงไม่ให้ออก หากยิงออกก็จะทำให้ปากกระบอกปืนแตก จึงเชื่อว่าเหรียญรุ่นนี้มีพุทธคุณป้องกันภัยจากปืนได้ นอกจากนั้นยังมีอักษรไทยจากซ้ายไปขวาเขียนว่า “ที่ระลึกสร้างกุฏิสงฆ์วัดสระแก้ว อ.เมือง จ.นครราชสีมา” ด้านล่างมีจุดคั่น ๒ จุด เขียนว่า “รุ่นพิเศษ ๔ ต.ค.๒๕๑๗”

เหรียญหลวงพ่อคูณรุ่นนี้แกะบล็อกได้อย่างสวยงาม มีความเหมือนท่านที่สุด และเป็นเหรียญหลวงพ่อคูณที่มีประสบการณ์เล่าขานกันมากมาย จึงมีบางท่านเรียกว่ารุ่นประสบการณ์ สร้างด้วยกัน 2 เนื้อ คือ

  1. เนื้อนวโลหะ สร้าง 2,500 เหรียญ
  2. เนื้อทองแดง สร้าง 99,999 เหรียญ

เหรียญหลวงพ่อคูณ ปี 2517 นี้มีทั้งแบบมีรอยจารและไม่มีรอยจาร โดยหลวงพ่อคูณท่านจะจารตัว “ยา นะ” ด้วยจำนวนการสร้างที่มากจึงทำให้เหรียญเนื้อทองแดงมีหลายบล็อกด้วยกัน ซึ่งเท่าที่ทราบมีไม่น้อยกว่า 9 บล็อก นอกจากนั้นยังมีบล็อกต่าง ๆ แยกย่อยออกไปอีก ดังนี้

1. บล็อกนวโลหะไหล่จุด
เป็นบล็อกเดียวกับที่ใช้ปั้มเนื้อนวโลหะ ในวงการพระเครื่องถือว่าเป็นบล็อกนิยมสุดประเภทเนื้อทองแดง จุดสังเกตของบล็อกนี้คือมีจุดบริเวณหูด้านซ้ายของหลวงพ่อ ซึ่งอยู่ถัดออกไปประมาณ 0.5 ซม. หนึ่งจุด และอีกจุดหนึ่งตรงตัว “ด” ของคำว่า “ด่านขุนทด” ส่วนด้านหลังเหรียญ ตรงคำว่า “อำเภอเมือง” จะมีเส้นนูนโค้งอยู่ด้านล่างหนึ่งเส้น

2. บล็อกนวโลหะหูขีด
จุดสังเกตของบล็อกนี้มีตำหนิเหมือนกันกับบล็อกนวโลหะไหล่จุด ต่างแต่ที่หูด้านซ้ายของหลวงพ่อจะมีขีดอยู่หนึ่งขีด ในวงการพระเครื่องถือว่าเป็นบล็อกนิยมอีกบล็อกหนึ่งรองจากบล็อกนวโลหะไหล่จุด

เหรียญยอดนิยม หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ปี 2517 ออกวัดสระแก้ว
เหรียญยอดนิยม หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ปี 2517 ออกวัดสระแก้ว

3. บล็อก ๕ แตก หรือ บล็อกประสบการณ์
บล็อก ๕ แตกมีจุดสังเกตดังนี้ ด้านหลังเหรียญตรงคำว่า “พ.ศ.๒๕๑๗” ตัวเลข “๕” จะมีเส้นแตกพาดผ่านในลักษณะบนลงล่าง อันเป็นที่มาของชื่อบล็อก สำหรับบล็อกนี้ยังมีการแบ่งบล็อกย่อยออกไปอีก เป็นต้นว่า
– บล็อก ๕ แตก หน้าวงเดือน
– บล็อก ๕ แตก หน้าหูขีด
– บล็อก ๕ แตก หน้าเกลี้ยง
– บล็อก ๕ แตก หน้าแตก

4. บล็อกหูขีด
จุดสังเกตของบล็อกนี้คือตรงบริเวณหูด้านซ้ายของหลวงพ่อจะมีขีดอยู่หนึ่งขีด อันเป็นที่มาของชื่อเรียกบล็อกนี้

5. บล็อกสายฝน หรือ บล็อกคอขีด
จุดสังเกตของบล็อกนี้คือพื้นเหรียญบริเวณหูขวาหลวงพ่อจะมีเส้นสายฝนวิ่งเฉียงลงมาหลายเส้น จึงเรียกว่า บล็อกสายฝน ส่วนมากบล็อกนี้ที่คอหลวงพ่อจะมีขีด แต่บางเหรียญคอไม่มีขีดก็มีเช่นกัน

6. บล็อก “คูณ’
จุดสังเกตของบล็อกนี้มีขีดที่สระอู ตรงคำว่า “หลวงพ่อคูณ” เป็นเส้นวิ่งออกมา

7. บล็อกอมหมาก
จุดสังเกตของบล็อกนี้คือตรงบริเวณปากของหลวงพ่อจะมีก้อนนูนซึ่งมีทั้งก้อนใหญ่ และก้อนเล็ก คล้ายกับอมหมากหรือลูกอม จึงเรียกว่า บล็อกอมหมาก

8. บล็อกสังฆาฏิมีเส้น
จุดสังเกตของบล็อกนี้คือที่สันสังฆาฏิตรงไหลหลวงพ่อจะมีเส้นเล็ก ๆ วิ่งพาดแนวขวางจำนวนหลายเส้น

9. บล็อกธรรมดา
เหรียญหลวงพ่อคูณ ปี 2517 บล็อกธรรมดา คือบล็อกที่ไม่ได้จัดแยกออกมาซึ่งพบเห็นค่อนข้างมาก เป็นบล็อกที่ไม่มีตำหนิเฉพาะชัดเจนเหมือนบล็อกอื่น ๆ ตามที่กล่าวข้างต้น

ผม (พระคุ้มครอง) เป็นผู้ศึกษาและศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อคูณ (ศรัทธาคุณธรรมของหลวงพ่อคูณหรือองค์หลวงพ่อคูณเป็นหลักไม่ใช่ที่เหรียญของท่านเป็นหลัก) ข้อมูลต่าง ๆ ก็ที่นำมาเขียนก็ได้จากการศึกษาบนเว็บไซต์ ฉะนั้น จึงเชื่อว่าสิ่งที่เราไม่รู้ยังมีอีกมาก จุดซ่อนเร้นอาจจะมีอยู่ การเรียกชื่อบล็อกอาจจะแตกต่างกันไป หรือจำนวนบล็อกอาจจะมากกว่าที่รู้มาก็เป็นได้

ข้อมูลจาก : https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/225983


เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

บทความที่เกี่ยวข้อง

เหรียญหลวงพ่อคูณ ปี 2517เหตุผลที่ฉันเลือกเหรียญหลวงพ่อคูณ ปี 2517 เหรียญหลวงพ่อคูณ รับเสด็จวิธีดูเหรียญหลวงพ่อคูณ รับเสด็จ บล็อกทองคำ อ แตก ท แตก นิยม ปี 2536 เหรียญหลวงพ่อศรีสวรรค์ หลังหลวงพ่อคูณ วัดนครสวรรค์ ปี 2549เหรียญหลวงพ่อศรีสวรรค์ หลังหลวงพ่อคูณ วัดนครสวรรค์ ปี 2549 คาถาบูชาขอพร หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธคาถาบูชา อธิษฐานขอพรจากหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ
พระเครื่อง นครราชสีมาวัดบ้านไร่หลวงพ่อคูณเหรียญหลวงพ่อคูณ

แนะแนวเรื่อง

Previous post
Next post

สวัสดียามเช้า พระคุ้มครอง

  • คลิป VIDEO
  • คอมพิวเตอร์
  • คาถา
  • ดาวน์โหลด
  • ตำนาน
  • ธรรมะคุ้มครอง
  • นานาสาระ
  • นิทาน
  • นิสัยใจคอ
  • บ้านและสวน
  • ประเพณี
  • พระสายกรรมฐาน
  • พระเครื่อง
  • ภาษาวัด ภาษาไทย
  • ยาสมุนไพรโบราณ
  • วัดธรรมยุตในต่างประเทศ
  • ส่งคำอวยพร
  • สังฆทาน
  • สิ่งนำโชค
  • สุขภาพ
  • อาชีพและครอบครัว
  • เครื่องราง
  • เรียกจิต
  • เรื่องผี
  • แนะนำหนังสือ
  • แบ่งปัน
  • ไม้ประดับ ไม้มงคล

เว็บไซต์แห่งนี้ นำเสนอบทความเกี่ยวกับ วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง มนต์คาถา พิธีกรรมต่าง ๆ
ซึ่งทั้งหมด เป็นที่พึ่งทางจิตใจ เป็นความรู้ เป็นความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมา
ทางเราไม่อาจจะพิสูจน์ได้ว่า ความเชื่อเหล่านั้นเป็นจริงหรือไม่
ผู้เขียนบทความ ไม่อาจจะรับรองความเชื่อนั้นว่าจะได้ผลจริง หากท่านนำไปปฏิบัติตาม
หน้านโยบายความเป็นส่วนตัว

บทความต่าง ๆ บนเว็บไซต์นี้ แม้ทางเรานำเสนอโดยการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จึงมาเขียน ฉะนั้น ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความโดยพยัญชนะ