ความหมายของ ปกติมาส อธิกมาส ปกติวาร อธิวาร ปักขคณนา ปฏิทินทางจันทรคติ ปฏิทินทางสุริยคติ ปักข์ ปักข์ขาด ปักข์ถ้วน ปกติสุรทิน อธิกสุรทิน
อธิกมาส อธิกวาร และปักขคณนาวิธี
๑. ปฏิทินทางจันทรคติ กำหนดเวลาที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลกเป็น ๑ เดือน ใช้เวลา ๒๙.๕๓๐๕๙๓ วัน รวม ๑๒ เดือน เป็น ๑ ปี (๒๙.๕๓๐๕๙๓ x ๑๒ = ๓๕๔.ต๖๗๑๒๒ วัน)
๒. ปฏิทินทางสุริยคติ กำหนดเวลาที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็น ๑ ปี ใช้เวลา ๓๖๕.๒๕๘๖๘๐ วัน
๓. ถ้าใช้เฉพาะทางจันทรคติ ฤดูต่าง ๆ อาจจะเลื่อนไป เช่น ฤดูจำพรรษาซึ่งเป็นหน้าฝนอาจจะตกในหน้าหนาว หรือหน้าร้อน เพราะฤดูต่าง ๆ ขึ้นกับตำแหน่งของโลกรอบดวงอาทิตย์
๔. ถ้าใช้เฉพาะทางสุริยคติ จะทำให้การกำหนดวันในแต่ละเดือนทำได้ลำบาก เพราะไม่สามารถเห็นข้อแตกต่างของดวงอาทิตย์ในแต่ละวันได้ แต่สามารถเห็นข้อแตกต่างของ ดวงจันทร์ ในแต่ละวันได้โดยง่าย
๕.ปีสุริยคติยาวกว่าปีจันทรคติ ๓๖๕.๒๕๘๖๘๐ – ๓๕๔. ๓๖๗๑๒๒ = ๑๐.๘๙๑๕๕๘ วัน ๓ ปี จะคลาดกัน ๓๒ วันเศษจึง เกิดการทดอธิกมาส คือ เพิ่มเดือนทางจันทรคติขึ้นอีก ๑ เดือน ทำให้ปีนั้นเดือนทางจันทรคติมี ๑๓ เดือน ส่วนเศษอีก ๒ วันกว่า ก็นำไปผนวกในปีต่อ ๆ ไป
๖. ปฏิทินราชการไทยโดยปกติให้ปีทางจันทรคติมี ๑๒ เดือน เดือนคู่จะมี ๓๐ วัน (ข้างขึ้น ๑๕ วันกับข้างแรม ๑๕ วัน) เดือนคี่ มี ๒๙ วัน (ข้างขึ้น ๑๕ วันกับข้างแรม ๑๔ วัน) เรียกว่า ‘ปกติวาร’ เฉลี่ยแล้ว ๑ เดือนมี ๒๙.๕ วัน ดังนั้นใน ๑ เดือนกาลแห่งดวงจันทร์จะมากกว่าในปฏิทินอยู่ ๒๙.๕๓๐๕๙๓๕ – ๒๙.๕ = ๐.๐๓๐๕๙๓๕ วัน เวลานี้สะสมไปเรื่อย ๆ จนครบ ๑ วัน จึงเกิดทดอธิกวารคือในเดือน ๗ ซึ่งเป็นเดือนคี่จะมี ๓๐ วัน (มีแรม ๑๕ ค่ำ) แต่จะมีการทดอธิกวารในปีใดยังไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอน เมื่อเห็นว่าจันทร์ดับ จันทร์เพ็ญบนท้องฟ้าต่างจากปฏิทินจึงค่อยคิดทดก็มี
๗. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคิดปักขคณนาวิธีขึ้นเพื่อให้การนับวันขึ้นแรมในปฏิทินปักขคณนาตรงกับกาลจันทร์ดับจันทร์เพ็ญบนท้องฟ้า โดยไม่ต้องมีการเพิ่มอธิกวารอีก และให้ตรงกับ
วันที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดให้ทำวินัยกรรมอย่างแท้จริง
-. ครั้งพุทธกาลใช้จันทรคติอิงสุริยคติ เช่น การกำหนดวันเข้าพรรษาในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส ให้เลื่อนเป็นวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ หลัง
๙. ปักข์ แปลว่า ปีกหรือฝักฝ่าย เดือนหนึ่งมี ๓๐ วัน ปักข์ของเดือนก็คือปีกหนึ่งของเดือนเท่ากับ ๑๕ วัน
ปักข์ถ้วน คือ ปักข์นี้ห่างจากปักข์ที่แล้วถ้วน ๑๕ วันพอดี
ปักข์ขาด คือ ปักข์นี้ห่างจากปักข์แล้ว ๑๔ วัน ขาดปักข์อยู่หนึ่งวัน
๑๐. ปกติสุรทิน คือ ตามปฏิทินสุรทิน ปีนั้นเดือนกุมภาพันธ์มี ๒๘ วัน ตามปกติ อธิกสุรทิน คือ ตามปฏิทินสุริยคติ ปีนั้นเดือนกุมภาพันธ์มี ๒๙ วัน
ที่มา : หนังสือสวดมนต์ ทำวัตร เช้า-เย็น วัดป่าภูผาแดง