ตายแล้วเกิดหรือไม่ ?
ความเกิดนั้นเป็นผลที่เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัย การพูดตรง ๆ ไปว่าตายแล้วเกิด ท่านจัดเป็น สัสสตทิฏฐิ คือความเห็นว่าโลกเที่ยง แต่หากปฏิเสธว่าตายแล้วไม่เกิดอีกหรอก ท่านก็บอกว่าเป็น อุจเฉททิฎฐ คือความเห็นว่าขาดสูญ เรื่องนี้จึงจำต้องหาจุดกลางให้ได้ว่าพระพุทธศาสนาได้แสดงเรื่องนี้ไว้ในรูปของเหตุปัจจัยที่อาศัยประชุมพร้อมกันแล้ว การเกิดก็มีขึ้น เช่น ในกรณีการถือปฏิสนธิในครรภ์ ท่านแสดงปัจจัยหลักไว้ว่า
“มารดาบิดาร่วมกัน มารดามีระดู คนธรรพ์ถือปฏิสนธิ”
การเกิดก็ปรากฏขึ้น ในคำว่าคนธรรพ์นั้นชื่อแปลกออกไปจากที่อื่น คนธรรพ์เองก็เกิดขึ้นจากปัจจัย ๓ ประการ คือ
กมฺมํ เขตฺตํ กรรมดีกรรมชั่วเหมือนเนื้อนา
วิญฺญาณํ พีชํ วิญญาณเป็นหน่อพืช
ตณฺหา สิเนหํ ตัณหาเป็นยางเหนียว
ในเรื่องนี้ท่านแสดงแบบอุปมาด้วยเมล็ดพืช การจะตัดสินว่าเมล็ดพืชจะปลูกงอกหรือไม่นั้น ต้องอาศัย พื้นดิน หน่อ และยางเหนียวในเมล็ดพืชรวมกัน หากบกพร่องไปอย่างเดียว ก็งอกไม่ได้ ฉันใด การบังเกิดของคน สัตว์ ก็ต้องอาศัยปัจจัย ๓ ประการ คือกรรม กิเลส วิญญาณ ฉันนั้น
โดยนัยนี้จะพบว่าเมื่อเราเข้าไปจับกับหลักปฏิจจสมุปบาท กิเลสคืออวิชชา กรรมคือสังขาร วิญญาณก็คือปฏิสนธิวิญญาณ ในปฏิจจสมุปบาททรงแสดงแบบเป็นเหตุเป็นผลกันตามในปัจจัยหลักที่กล่าวข้างต้น คำว่า คนฺธพฺโพ คือ คนธรรพ์เป็นชื่อของกิเลส กรรม วิญญาณรวมกัน แต่เพราะกำเนิดนั้นไม่ได้มีเฉพาะเกิดในครรภ์อย่างเดียว ปัจจัยที่สำคัญอันนำไปสู่การตัดสินว่าตายแล้วเกิดหรือไม่ คือ กิเลส กรรม วิญญาณ ปัจจัยทั้ง ๓ นี้ขาดไปเพียงอย่างเดียวก็เกิดไม่ได้ คำตอบจึงยุติว่า