พระมหาเถระพม่ารูปแรก ที่สามารถทรงจำพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด
พระไตรปิฎกคือเป็นคัมภีร์หลักของพระพุทธศาสนา ที่บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้า เรื่องราวต่าง ๆ ในยุคดั้งเดิมแห่งพระพุทธศาสนาซึ่งเหล่าพระสงฆ์มีการร้อยกรองและท่องจำมาตั้งแต่เมื่อครั้งปฐมสังคายนาครั้งที่ 1 หรือราวปี พ.ศ. 1 (อาจจะก่อนนั้นนิดหน่อย)
หลายท่านอาจจะไม่เชื่อว่า คนเราสามารถท่องจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้ขนาดนั้นหรือ แต่ก็เป็นไปได้ แม้ในยุคปัจจุบันไม่กี่ปีมานี้เอง เมื่อปี พ.ศ. 2528 กินเนสส์บุ๊ก ได้บันทึกความอัศจรรย์นี้ไว้ว่า
In 1985, the Guinness Book of Records recorded the sayadaw as a record holder in the Human memory category. The exact entry was Human memory: Bhandanta Vicitsara (sic) recited 16,000 pages of Buddhist canonical text in Rangoon, Burma in May 1954. Rare instances of eidetic memory — the ability to project and hence “visually” recall material– are known to science.
“พระอาจารย์ใหญ่มีงกุนสะยาดอ ประเทศพม่า มีความทรงจำท่องพระไตรปิฎก ๑๖,๐๐๐ หน้า (๒๔๐,๐๐๐ ตัวอักษร)ได้ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ (ค.ศ.๑๙๕๔) ซึ่งเป็นตัวอย่างของความทรงจำของมนุษย์ที่หาได้ยากมาก”) ทั้งหมดนี้ล้วนสำเร็จด้วยสัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญาที่มีมากกว่าคนปกติ
พระเถระ”มีงกุน สยาดอ” หรือพระวิจิตตสาราภิวังสะ เป็นพระติปิฏกธร หรือพระผู้จดจำพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด และสามารถท่องสาธยายได้โดยไม่ตกหล่นแม้แต่คำเดียว ซึ่งทางคณะสงฆ์เมียนมาได้รับรองด้วยการสอบทานแล้ว และได้รับการตรวจสอบโดย กินเนสส์เวิลด์เร็กคอร์ด นอกจากนี้ ท่านยังเป็นพระเถระนำการตอบข้อซักถามเรื่องพระวินัย ในการสังคายนาครั้งที่ ๖ ทางรัฐบาลเมียนมาได้ถวายสมณศักดิ์ให้กับท่านเป็นพระอภิธัชมหารัฏฐคุรุ
ท่านเกิดวันที่ 1 พ.ย. 2454
มรณภาพ 9 ก.พ. 2536
สิริอายุ 81 ปี พรรษา 61
ใช้เวลานับ 10 ปีในการท่องจำพระไตรปิฎก
โครงสร้างพระไตรปิฎก บาลี
สำหรับพระไตรปิฎกที่ท่านพระอาจารย์ใหญ่มีงกุนสะยาดอท่องเพื่อทรงจำนั้น เป็นพระไตรปิฎกภาษาบาลีแบบที่ใช้ในประเทศไทยและประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท แต่บันทึกด้วยอักษรพม่าซึ่งเป็นอักษรในตระกูลอักษรพราหฺมี สำหรับพระไตรปิฎกภาษาพม่านั้นมีทั้งหมด 16,000 หน้า 240,000 ตัวอักษร
ที่มา : dhamma.serichon.us