มีความเชื่อกันว่า พระสยามเทวาธิราช เป็นเทพยดาคู่บ้านคู่เมืองไทยที่คอยปกปักรักษาแผ่นดินสยามให้มีความร่มเย็นเป็นสุขทุกยุคสมัยเรื่อยมา องค์จริง ( หมายที่ถึงสร้างเป็นรูปหล่อครั้งแรก) หล่อด้วยทองคำสูง 8 นิ้ว เป็นประทับยืนทรงเครื่องกษัตริยาธิราช ทรงฉลองพระองค์อย่างเครื่องของเทพารักษ์ มีมงกุฎเป็นเครื่องศิราภรณ์ พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงขรรค์ พระหัตถ์ ซ้ายยกขึ้นจีบดรรชนีเสมอพระอุระ ประดิษฐานอยู่ในพระวิมานไม้ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระบรมมหาราชวัง ด้วยความเคารพนับถือว่าเป็นเทพยดามีคุณต่อบ้านเมืองจึงมีการสร้างบูชาและนำมาเป็นสัญลักษณ์ของหนวยงานต่าง ๆ มากมาย
มูลเหตุของการจัดสร้าง เหรียญพระสยามเทวาธิราช วัดป่ามะไฟ
จากคำบอกเล่าของพระครูอุทัยธรรมธารี (เส็ง สุขิโต) รองเจ้าคณะอำเภอเมืองปราจีนบุรี เจ้าอาวาสวัดป่ามะไฟในสมัยนั้น ได้มีพ่อพราหมณ์ชราผู้หนึ่งนุ่งขาวห่มขาวบอกท่านในนิมิตว่า ถ้าต้องการให้วัดป่ามะไฟแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรือง ให้ท่านจัดสร้างพระสยามเทวาธิราชขึ้นมา ด้วยนิมิตที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งจนเป็นเหตุให้ท่านเกิดความคิดที่จะสร้างพระสยามเทวาธิราชขึ้นมา
จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2512 ท่านจึงได้ปรึกษาหารือกับคุณสมัย พ่วงตามพงษ์ ผู้จัดการธนาคารกรุงเทพ สาขาเจริญพาศน์ คุณวรันดับ ฉัตรกุล ณ อยุธยา (บุญนาค) คุณเจริญ พรหมศร คุณภาวาส บุญนาคพร้อมด้วยข้าราชการพ่อค้าประชาชนในการจัดสร้างพระสยามเทวาธิราช เมื่อมีมติเห็นชอบแล้ว
จึงได้จัดสร้างขึ้น ทางวัดป่ามะไฟจึงได้ดำเนินการจัดสร้างและจัดทำพิธีพุทธาภิเษก ในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2518 เวลา 13.30 น.
วัตถุมงคลที่จะสร้าง และนำเข้าพิธี วัดป่ามะไฟ ปี 2518
1.เหรียญพระสยามเทวาธิราช ขนาดใหญ่ (พิมพ์ใหญ่)
เนื้อทองคำ
เนื้อเงิน
เนื้อนวโลหะ
เนื้อกะไหล่ทอง
เนื้อกะไหล่เงิน
เนื้อทองแดง
2.เหรียญพระสยามเทวาธิราช ขนาดกลาง (พิมพ์เล็ก)
เนื้อทองคำ
เนื้อเงิน
เนื้อกะไหล่ทอง
เนื้อกะไหล่เงิน
เนื้อทองแดง
3.พระกริ่งสยาม ขนาดใหญ่-ขนาดกลาง (พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก)
เนื้อเงิน
เนื้อนวโลหะ
เนื้อกะไหล่ทอง
4.พระชัยวัฒน์สยาม (ขนาดเล็ก)
เนื้อเงิน
เนื้อนวโลหะ
เนื้อกะไหล่ทอง
5.เข็มกลัดลงยาสีแดง น้ำเงิน ฟ้า เข็มกลัดติดเนคไทน์
6.พระสยามเทวาธิราชขนาดบูชา
ขนาดใหญ่สูง 49 ซม.
ขนาดกลางสูง 39 ซม.
ขนาดเล็กสูง 29 ซม.
7.พระศรีสักยะมุนี อริยเมตตรัย ขนาดบูชา
พิธีมหามงคลภิเษก พระสยามเทวาธิราช วัดป่ามะไฟ ปี 2518
10 เมษายน 2518
เวลา 13.30 น. สมเด็จพระสังฆราชทรงจุดเทียนชัย พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ มงคลพิธีภิเษกพระคณาจาร์ยนั่งปรกอธิษฐานจิต
11 เมษายน 2518
เวลา 11.45 น. ทำพิธีเททองหล่อพระประธาน
พระคณาจาร์ยอธิษฐานจิตในพิธี
1. สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
2. พระสังวรวิมลเถร (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพมหานคร
3. หลวงพ่อผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต ขอนแก่น
4. พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
5. พระครูสันติวรญาณ (หลวงพ่อสิม พุทธาจารโร) วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
6. พระครูชลธารธรรมพิทักษ์ (หลวงพ่อหงษ์) วัดชลสงคราม สุราษฏร์ธานี
7. พระครูสุตาธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร
๘. พระครูเกษมธรรมานันท์ (หลวงพ่อแช่ม) วัดดอนยายหอม นครปฐม
9. พระครูปัญญาทุราทร วัดเขาชายธง ถ้ำวิมุตติสุข นครสวรรค์
10. พระกัสสปมุนี อำเภอบ้านค่าย ระยอง
11. พระอาจาร์ยสาม อกิญฺจโน วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์
12. หลวงพ่อบุญเย็น ฐานธัมโม สำนักพระเจ้าพรหมมหาราช อำเภอฝาง เชียงราย
13. ท่านเจ้าคุณชิน วงศาจาร์ย วัดป่าสาลวัน
14. หลวงปู่เมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม นครราชสีมา
15. หลวงพ่อเย็น วัดแจงนอก นครราชสีมา
16. หลวงพ่อชม วัดเขานันทา ปราจีนบุรี
17. หลวงถิร วัดป่าเรไร สุพรรณบุรี
18. หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี
19. หลวงพ่อสุด วัดกาหลง สมุทรสาคร
20. หลวงปู่แว่น วัดสันติสังฆาราม สกลนคร
21. หลวงปู่พล วัดหนองคณฑี สระบุรี
22. หลวงพ่อสุพจน์ วัดดอนตัน เชียงราย
23. หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีธรรมเจริญสุข สิงห์บุรี
24. หลวงพ่อเย็น วัดกลางชูศรีธรรมเจริญสุข สิงห์บุรี
25. หลวงปู่สำลี ปภาโส วัดซับบอน สระบุรี
26. หลวงพ่อดำ วัดเสาธงทอง ลพบุรี
27. หลวงปู่ครูบาชัยวงศ์ วัดพระพุทธบาท ห้วยต้ม ลำพูน
28. หลวงพ่อคำดี วัดป่าสุทธาวาส นครพนม
29. พระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม
30. พระครูสังวรกิตติคุณ (หลวงพ่อเอีย) วัดบ้านด่าน ปราจีนบุรี
31. พระอาจาร์ยวัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม อำเภอส่องดาว สกลนคร
32. พระอาจาร์ยฝั่น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
มีบันทึกจากหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูอุทัยธรรมธารี (เส็ง สุขิโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดป่ามะไฟ อดีตรองเจ้าคณะอำเภอเมืองปราจีนบุรี ว่า
เมื่อ พ.ศ.2518 พระครูอุทัยธรรมธารี เจ้าอาวาสวัดป่ามะไฟ ได้สร้างพระสยามเทวาธิราชจำลองขึ้นและเมื่อเหตุการณ์ชายแดนด้านอรัญประเทศ- กัมพูชา มีการรบพุ่งกันอย่างต่อเนื่อง พระครูอุทัยธรรมธารี จึงมอบพระสยามเทวาธิราชจำลองไปประดิษฐาน ณ ชายแดน เพื่อปกป้องให้แก่ทหาร-ตำรวจ-พลเรือน และอาณาประชาราษฎร์ให้พ้นจากภัยสงคราม ทางจังหวัดปราจีนบุรี ได้พิจารณาแล้ว จึงอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ อำเภออรัญประเทศ โดยได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์บุษบกที่ประทับขององค์พระสยามเทวาธิราชจำลอง สูง 17.19 เมตร หันไปทางทิศตะวันออก เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2528
พุทธคุณพระสยามเทวาธิราช วัดป่ามะไฟ ปี 2518
พระสยามเทวธิราช เชื่อว่าเป็นบุรพกษัตริย์ บุรพชนผู้ปกป้องสยามประเทศให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากอริราชศัตรู จึงเชื่อว่ามีพลังปกป้องคุ้มครองให้แคล้วคลาดปลอดภัย ให้ได้รับความสงบร่มเย็นเป็นสุข เป็นมหาอำนาจ ผู้คนเกรงขาม ป้องกันมนต์ดำคุณไสยสิ่งไม่ดีทั้งหลาย ป้องกันภูตผี ยักษ์มารหรือเทวดาเกเรทั้งหลายไม่ให้มารังแก
ข้อมูลบางส่วนจาก : http://www.watpamafai.org/index.php?mo=10&art=302554