พระสังกัจจายน์ อย่างสวย ทองกระจาย หล่อเก่า แต่งโบราณ
รูปหล่อพระสังกัจจายน์ น่าจะเป็นศิลป์ทางภาคเหนือ หรือเชียงแสน หล่เก่า แต่งแบบโบราณ ไม่ทราบเนื้อแน่ชัดว่าเป็นเนื้ออะไรระหว่างทองคำหรือทองผสม แต่จะเนื้ออะไรก็ตามเชื่อมั่นว่ามีทองคำผสมอยู่ไม่น้อย น้ำทองกระจายอย่างสวยงาม ได้น้ำหนัก
พระสังกัจจายน์ หรือเรียกตามพระบาลีว่า พระมหากัจจายนะ แต่คนไทยนิยมเรียกว่า พระสังกัจจายน์ หรือ พระมหาสังกัจจายน์ ท่านเป็นพระอรหันต์ในสมัยพุทธกาล เป็นหนึ่งในพระอสีติมหาสาวก ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร
พระมหากัจจายนะเกิดในตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่งในกรุงอุชเชนี ได้ศึกษาพระเวทตามอย่างตระกูลพราหมณ์ทั้งหลาย ท่านเป็นศิษย์ของอสิตดาบสแห่งเขาวินธัย (ผู้ทำนายว่าเจ้าชายสิทธิตถะจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหรือพระพุทธเจ้าในอนาคต) ก่อนบวชท่านได้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชต
ครั้นกาลต่อมา พระเจ้าจัณฑปัชโชตได้ทรงทราบว่า พระพุทธเจ้าเสด็จเที่ยวสั่งสอนประชาชนอยู่ พระองค์มีพระประสงค์จะทูลเชิญสมเด็จพระบรมศาสดาไปประกาศพระศาสนา ยังกรุงอุชเชนี จึงตรัสสั่งกัจจายนปุโรหิตไปทูลเชิญเสด็จ กัจจายนปุโรหิตทูลลาจะบวชด้วย
ครั้นได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว จึงออกจากกรุงอุชเชนีพร้อมด้วยบริวารทั้ง 7 คน ครั้นมาถึงที่ประทับพระบรมศาสดาแล้วพากันเข้าไปเฝ้า พระพุทธองค์ตรัสเทศนาสั่งสอน ในเวลาจบเทศนาทั้งหมดได้บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมกัน (ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ก่อนบวช) แล้วจึงทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา
ครั้นได้อุปสมบทแล้วจึงทูลเชิญอาราธนาพระบรมศาสดาเสด็จไปยังกรุงอุชเชนี ตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต พระบรมศาสดาทรงรับสั่งว่าเธอไปเองเถิด เมื่อเธอไปแล้วพระเจ้าจัณฑปัชโชตจักทรงเลื่อมใส ท่านพระมหากัจจายนะพร้อมด้วยบริวารทั้งเจ็ดองค์กราบถวายบังคมลา สมเด็จพระบรมศาสดากลับไปสู่กรุงอุชเชนี ประกาศพระพุทธศาสนาให้พระเจ้าจัณฑปัชโชตและชาวพระนครเลื่อมใส แล้วจึงกลับมาสู่สำนักของพระบรมศาสดา
ในสัทธรรมปุณฑรีกสูตร (เป็นพระสูตรที่สำคัญในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน) บรรพที่ 6 ว่าด้วยการพยากรณ์ ได้กล่าวถึงพุทธพยากรณ์ว่า พระมหากัจจายนะ พระสุภูติ พระมหากัสสปะ และพระมหาโมคคัลลานะ (ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น) หลังจากได้สดับพระสูตรนี้แล้ว จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง
1. เป็นคนรอบคอบ คุณธรรมข้อนี้เห็นได้จาก ในสมัยเป็นปุโรหิตได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้าจัณฑปัชโชตให้เป็นผู้ไปกราบทูลเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จมายังกรุงอุเชนีเพื่อแสดงธรรมโปรด ก่อนออกเดินทางจากกรุงอุชเชนีไปยังกรุงราชคฤห์ ท่านได้กราบทูลลาพระเจ้าจัณฑปัชโชตขอบวชในพระพุทธศาสนาด้วย ทั้งนี้เนื่องจากท่านเห็นว่า ระยะทางระหว่างกรุงอุชเชนีกับกรุงราชคฤห์นั้นไกลมาก จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทั้งทีก็ควรทำให้เรียบร้อยทุกอย่าง
2. เป็นผู้ยึดมั่นต่อคำสั่ง คุณธรรมข้อนี้เห็นได้จากเมื่อครั้งได้รับคำสั่งจากพระเจ้าจัณฑปัชโชตให้ไปกราบทูลเชิญพระเพุทธเจ้าให้เสด็จไปยังกรุงอุชเชนีให้ได้และท่านก็ทำได้สำเร็จ กล่าวคือ เมื่ออุปสมบทและบรรลุอรหัตผลแล้ว ท่านก็ได้กราบทูลเชิญพระพุทธเจ้าให้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดพระเจ้าจัณฑปัชโชตและชาวเมืองอุชเชนี
3. ตั้งใจทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย คุณธรรมข้อนี้เห็นได้จากการที่ท่านได้รับมอบหมายให้ไปประกาศพระศาสนา ณ กรุงอุชเชนี แทนพระพุทธเจ้า ซึ่งท่านก็ทำหน้าที่นี้ได้เป็นอย่างดีสามารถทำให้พระเจ้าจัณฑปัชโชตและชาวเมืองอุชเชนีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และยังเป็นผู้สามารถฮธิบายขยายความย่อของพระธรรมให้ละเอียดพิสดาร เข้าใจง่ายได้เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า
4. เป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คุณธรรมข้อนี้เห็นได้จากการที่ท่านรูจักปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา โดยทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงแก้ไขพุทธบัญญัติบางข้อเกี่ยวกับปัจจันตชนบท (ท้องถิ่นทุรกันดาร) เพราะตามพุทธบัญญัติเดิมพระภิกษุในปัจจันตชนบทซึ่งอยู่ในเขตถิ่นกันดารปฏิบัติตามได้ยาก ซึ่งเรื่องนี้พระพุทธเจ้าก็ทรงแก้ไขให้
5. เป็นผู้มองเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว คุณธรรมข้อนี้เห็นได้จากการที่ท่านยอมอธิษฐานจิตเปลี่ยนแปลงรูปที่สวยงาม มีผิวพรรณดั่งทอง ที่ใครเห็นแล้วก็ชอบและหลงใหล ให้กลายเป็นรูปร่างอัปลักษณ์น่าเกลียด ทั้งนี้เพราะท่านเห็นว่าการมีรูปงามบางครั้งอาจทำให้เกิดโทษแก่ผู้อื่น ดังตัวอย่างที่เกิดกับโสเรยยะ บุตรของเศรษฐีแห่งโสเรยนคร
คาถาบูชาพระสังกัจายน์ หรือ พระมหากัจจายนะ
กัจจายนะ จะ มหาเถโร พุทโธ พุทธานัง พุทธะตัง พุทธัญ จะ พุทธะสุภาสิตัง พุทธะตัง สะมะนุปปัตโต พุทธะ โชตัง นะมามิหัง ปิโยเทวะ มะนุสสานัง ปิโยพรหม นะมุตตะโม ปิโยนาคะ สุปันนานัง ปิยินทะริยัง นะมามิหัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโส ชะนา อิถีชะนา ราชาภาคินิ จิตตัง อาคัจฉาหิ ปิยังมามะฯ
ที่มา :
http://www.dhammathai.org/monk/monk33.php
http://jakkrit-buddhism2.blogspot.com/2010/07/blog-post.html