เสือสาลิกา
เสือสาลิกา แต่โดยมากวงการพระเครื่องจะเขียนเป็น สาริกา ผมก็ไม่ทราบว่าทำไมเขียนอย่างนั้น เท่าที่ดูในพจนานุกรมไม่พบคำว่า สาริกา พบแต่คำว่า สาลิกา ซึ่งมี 2 ความหมาย ดังนี้
- สาลิกา ความหมายที่ 1 หมายถึงนก ซึ่งก็แยกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ชื่อนกขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ในวงศ์ย่อย Corvinae ในวงศ์ Corvidae ปากสีแดง มีแถบสีดำคาดตา ตัวสีเขียว ขนปลายปีกสีน้ำตาล ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้บนต้นไม้ กินผลไม้และสัตว์ขนาดเล็ก ในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ สาลิกาเขียว [Cissa chinensis (Boddaert)] และสาลิกาเขียวหางสั้น (C. hypoleuca Salvadori & Giglioli) พบทางตะวันออก
2. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Acridotheres tristis (Linn.) ในวงศ์ Sturnidae หัวสีดำ วงรอบเบ้าตาและปากสีเหลือง ลำตัวสีน้ำตาลเข้ม มีแต้มขาวที่ปีก ปลายหางสีขาว ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้ตามโพรงไม้ ง่ามไม้ หรือซอกอาคาร กินแมลงและผลไม้ พบทั่วทุกภาคของประเทศไทย, เอี้ยง หรือ เอี้ยงสาลิกา ก็เรียก
ในวงการพระเครื่อง มีเครื่องรางที่ทำเป็นรูปนกที่สร้างจากไม้บ้าง สีผึ้งบ้าง เขาสัตว์บ้าง เรียกว่า “นกสาลิกา” แต่วงการพระเครื่องมักเขียนเป็น “นกสาริกา” ซึ่งไม่ถูกต้อง - สาลิกา ความหมายที่ 2 ชื่อตะกรุดดอกเล็ก ๆ ชนิดหนึ่ง ใช้ในทางเมตตามหานิยม
ที่มา : th.wiktionary.org
ในความหมายที่ 2 สาลิกา ใช้เรียกตะกรุดดอกเล็ก ๆ ว่าเป็นตะกรุดสาลิกา ต่อมาถ้าเป็นเครื่องรางเล็ก ๆ นำคำว่าสาลิกามาต่อท้ายหมด เช่น เสือสาลิกา แพะสาลิกา
สำหรับเสือสาลิกาตนนี้ แกะจากเขี้ยวด้วยเครื่องมือพื้น ๆ เข้ากระเช้าทอง 75 % สวยเด่นมากมาย แต่น่าเสียดายไม่สามารถระบุที่ได้ (ไม่ใช่ไม่มีที เพียงแต่ไม่รู้ที่เท่านั้นเอง ถ้าผมแกะเองจะบอกด้วยความภูมิใจเลยว่าเป็นเสือผมแกะเอง แต่ไม่ใช่สิ และไม่รู้ด้วยใครแกะ ไม่แน่อาจจะเป็นเสือหลวงพ่อปานจริง ๆ ก็ได้ใครจะไปคาดคิด)