คาถาบูชาแก้ว 3 ประการ
ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ ตัส๎มา โสตถี ภะวันตุ เม
ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ ตัส๎มา โสตถี ภะวันตุ เม
ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ ตัส๎มา โสตถี ภะวันตุ เม ฯ
แก้ว 3 ประการในที่นี้ หมายถึง
พุทธรัตนะ แก้วคือพระพุทธเจ้า
ธัมมรัตนะ แก้วคือพระธรรมเจ้า
สังฆรัตนะ แก้วคือพระสงฆเจ้า
ดังบทแปลของคาถานี้ ว่า
รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่งมากมาย บรรดามีในโลก รัตนะนั้นเสมอ ด้วยพระพุทธเจ้าไม่มี เพราะเหตุนั้น ขอข้าพเจ้าจงประสบแต่ความสุขสวัสดี
รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่งมากมาย บรรดามีในโลก รัตนะนั้นเสมอ ด้วยพระธรรมเจ้าไม่มี เพราะเหตุนั้น ขอข้าพเจ้าจงประสบแต่ความสุขสวัสดี
รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่งมากมาย บรรดามีในโลก รัตนะนั้นเสมอ ด้วยพระสงฆเจ้าไม่มี เพราะเหตุนั้น ขอข้าพเจ้ามีแต่ความสุขสวัสดี ฯ
หากสวดเพื่อความสุขสวัสดีแก่ผู้อื่น ให้เปลี่ยน เม เป็น เต
คาถานี้ ใช้ได้อเนกประการ ใช้เป็นคาถาให้พรผู้อื่น คาถาถูกแขน คาถาทำน้ำมนต์ คาถาทำด้ายมงคลในพิธีต่าง ๆ