พระรอด เนื้อทองผสม หลวงพ่อโบ้ย
หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว จังหวัดสุพรรณบุรี หนึ่งในพระเกจิอาจารย์สายจังหวัดสุพรรณที่ทรงวิทยาคมขลัง โดยเฉพาะในด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดปลอดภัย ไม่เป็นสองรองใครในยุคนั้นเช่นกัน
ด้วยเหตุที่ท่านทรงวิทยาคมขลัง มั่นใจในการสร้างและเสก ท่านจึงมักจะนำพระเครื่องรุ่นเก่าก่อนมาถอดพิมพ์ เช่น พระรอด พระมเหศวร พระงบน้ำอ้อย เป็นต้น แล้วทำการหล่อใหม่ด้วยเนื้อทองผสม ทำการเสกใหม่ขึ้นมา ซึ่งท่านไม่แน่จริง ไม่มั่นใจจริงคงไม่กล้าทำการถอดพิมพ์ออกมาเช่นนี้
การสร้างพระของหลวงพ่อโบ้ยนั้น ทราบว่ามี 3 ยุคด้วยกัน ดังนี้
1.ยุดต้น
การสร้างพระในยุคต้นของหลวงพ่อโบ๊ยนั้น อยู่ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2473-2479 เป็นการสร้างพระประเภทหล่อโบราณหลายพิมพ์ด้วยกัน โดยมากทำการล้อพิมพ์พระกรุยอดนิยม พิมพ์มาตราฐานที่สืบค้นได้ ดังนี้
1.พิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์ ใหญ่, สมเด็จพิมพ์กลาง, สมเด็จพิมพ์จิ้ว
2.พิมพ์จักรนารายณ์
3.พิมพ์พระสวน (พระมเหศวร)
4.พิมพ์พระปรุหนัง
5.พิมพ์พระนาคปรก
6.พิมพ์หยดนำั้
7.พิมพ์กลีบบัว
8.พิมพ์งบนำ้อ้อย
9.พิมพ์พระรอด ฯลฯ
2.ยุคกลาง
เป็นการสร้างพระประเภทเนื้อดินเผา เริ่มสร้างประมาณปี พ.ศ. 2479 เช่น สร้างพิมพ์พระเจ้า 5 พระองค์ เป็นต้น
3.ยุคท้าย
เป็นการสร้างพระด้วยเนื้อชานหมากและเนื้อผงธูป เริ่มสร้างประมาณ พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา (หลวงพ่อมรณะภาพ เมื่อ 18 ม.ค. 2508)
พุทธคุณ พระรอด หลวงพ่อโบ้ย
พระรอด หลวงพ่อโบ้ย เนื้อทองผสม หรีอโลหะผสม เป็นการหลอมโลหะที่ได้จากแผ่นจาร พระเก่า ชนวนต่าง ๆ หลายชนิดรวมกัน มีพุทธคุณโดดเด่นในด้านคงกระพันชาตรี คล้ายคลาดปลอดภัย แต่ก็แฝงด้วยเสน่ห์แบบพระหล่อโบราณ
ที่มาบางส่วน :
“พระเครื่องเมืองสุพรรณฯ”เรียบเรียงโดย”อาจารย์มนัส โอภากุล”
โพสต์ที่ www.sitamulet.com ในหัวข้อ หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว