Skip to content
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

  • Home
  • ทำบุญ
  • ธรรมะ
  • คาถา
  • นิทาน
  • นำโชค
  • เรื่องผี
  • ตำนาน
  • หนังสือ
  • เรียกจิต
  • ประเพณี
  • ภาษาวัด
  • ทายนิสัย
  • พระเครื่อง
  • เครื่องราง
  • นานาสาระ
  • ยาสมุนไพร
  • พระสายกรรมฐาน
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

พระเครื่อง เครื่องราง ที่ห้ามนำขึ้นเครื่องบิน หรือห้ามนำเข้าไปในต่างประเทศ

พระคุ้มครอง, 31 กรกฎาคม 201931 กรกฎาคม 2019
เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

พระเครื่อง เครื่องราง ที่ห้ามนำขึ้นเครื่องบิน
พระเครื่อง เครื่องราง ที่ห้ามนำขึ้นเครื่องบิน

ผมอาจจะตั้งหัวข้อบทความแรงไปหน่อย อันที่จริงก็ไม่ได้มีประกาศหรือข้อห้ามโดยเฉพาะเกี่ยวกับการนำพระเครื่อง เครื่องรางขึ้นบนเครื่องบินหรือออกนอกประเทศหรอกครับ แต่ผมพิจารณาจากสภาพของวัตถุนั้น ๆ ว่าห้าม หรือไม่ควรนำขึ้นเครื่องบินเพื่อไปต่างประเทศ มาดูว่ามีอะไรบ้าง ขอให้พิจารณาศึกษาดูนะครับ ผิดพลาดประการใดชี้แนะครับ

  • ไม่ควรนำพระเครื่อง เครื่องรางที่ทำจากส่วนใดส่วนหนึ่งของสัตว์สงวนไปต่างประเทศด้วย เช่น ทำจากงาช้าง ทำจากเขี้ยวเสือ เล็บเสือ เป็นต้น ไม่ว่าจะแกะเป็นพระพุทธ ปลัดขิกงาช้าง หรือเขี้ยวเสือ เล็บเสือ เพราะบางประเทศมีข้อห้ามเกี่ยวกับอวัยวะหรือชิ้นส่วนของสัตว์เหล่านี้
  • ห้ามนำมีดหมอ ขึ้นเครื่องบิน เพราะถือว่าเป็นของมีคม ใช้เป็นอาวุธได้ แต่ท่านสามารถใส่กระเป๋า Check-in โหลดใต้ท้องเครื่องได้ครับ (แต่ไม่ควรที่จะเป็นวัสดุที่ทำจากชิ้นส่วนของสัตว์ เช่น ด้ามงาช้าง)
  • ห้ามนำตะกรุดที่ทำจากปลอกกระสุนปืน ขึ้นเครื่องบิน หรือแม้แต่ Check-in โหลดใต้ท้องเครื่องบินก็ตาม เพราะบางประเทศมีกฏหมายเข้มงวดในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ท่านอาจจะถูกจับติดคุกหรือถูกลงโทษได้ ส่วนตะกรุดเนื้อโลหะแผ่นทองแดง ทองเหลือง ไม่ควรที่จะยาวเกิน 7 นิ้ว (ผมไม่มีข้ออ้างอิงจากที่ไหน แต่เคยอ่านในสนามบินแห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐห้ามนำเครื่องมือที่ยาวเกิน 7 นิ้วขึ้นเครื่องบิน) ขนาด 3-5 นิ้วน่าจะกำลังพอเหมาะ และต้องเป็นตะกรุดที่เก็บมุมเรียบร้อย ไม่มีส่วนที่เป็นคมยื่นออกมา ควรถักให้เรียบร้อย ใส่ในหลอดให้เรียบร้อยครับ ถ้าตะกรุดที่มีขนาดยาวมาก อย่างตะกรุดมหาระงับพิสดาร ของหลวงปู่เทียม แนะนำให้ Check-in โหลดใต้ท้องเครื่องครับ
  • ไม่ควรนำผ้ายันต์ที่มีรูปลักษณ์ลามกอนาจารออกไปยังต่างประเทศ แม้จะ Check-in โหลดใต้ท้องเครื่องบินก็ตาม เช่น ผ้ายันต์ม้าเสพนาง อิ่นที่เป็นรูปชายหญิงสมสู่กัน ในต่างประเทศจะมองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นวัตถุลามกอนาจาร จึงไม่ควรนำเข้าไปยังประเทศเขา
  • เครื่องรางที่เป็นของเหลวที่เราเองก็ไม่รู้ว่าทำจากอะไร หรือมีส่วนผสมของอะไรบ้าง เช่น น้ำมันพราย สีผึ้งที่มีส่วนผสมของกระดูก ชิ้นเนื้อ ถึงแม้จะมีปริมาณน้อยกว่า 100 CC ตามที่เขาอนุญาตให้ขึ้นเครื่องบินก็ตาม หรือไม่ควร Check-in แม้แต่โหลดใส่กระเป๋าเพื่อเข้าสู่ประเทศเขา เพราะเราเองก็ไม่รู้ว่ามันมีส่วนผสมของอะไรบ้าง อาจจะมีส่วนผสมที่ผิดต่อกฏหมายประเทศเขาก็ได้ ถ้าเขาถามเราก็ตอบไม่ถูกอีก ฉะนั้น ไม่นำไปเสียจะดีกว่า
เดินทางไปต่างประเทศ
เดินทางไปต่างประเทศ

ทั้งหมดที่ผมเขียนมานี้ เป็นการเขียนตามความเข้าใจของผม จากประสบการณ์ในการเดินทางไปต่างประเทศของผมเองครับ อย่างไรเสีย ท่านควรที่จะสอบถามผู้รู้ท่านอื่น ๆ ประกอบด้วยครับ

บทความแนะนำ เดินทางไปต่างประเทศ พกพระเครื่อง เครื่องรางอะไรไปดี


เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

บทความที่เกี่ยวข้อง

พระแก้วมรกต รุ่นแรก 2475คนไทย อยู่ที่ไหน ก็ยังมีใจรักพระเครื่อง เครื่องรางแบบไทย ๆ เลือกวัตถุมงคลเป็นของขวัญเลือกวัตถุมงคลเป็นของขวัญ แก่ผู้ใหญ่อย่างไร ให้ปลื้ม พระเครื่องยอดนิยมพระเครื่อง เครื่องรางทุกองค์มีเจ้าของ แต่อาจจะต้องรอนานหน่อย ทำไมบางคนชอบพกเครื่องรางมากกว่าพระเครื่องต้องจัดระเบียบในการเช่าพระเครื่อง เครื่องรางใหม่เสียแล้ว
พระเครื่อง เครื่องราง ของห้ามขึ้นเครื่องของห้ามนำไปต่างประเทศพระเครื่องเครื่องรางเครื่องรางห้ามนำขึ้นเครื่องบินเครื่องรางห้ามนำไปต่างประเทศไม่ควรนำขึ้นเครื่อง

แนะแนวเรื่อง

Previous post
Next post

สวัสดียามเช้า พระคุ้มครอง

  • คลิป VIDEO
  • คอมพิวเตอร์
  • คาถา
  • ดาวน์โหลด
  • ตำนาน
  • ธรรมะคุ้มครอง
  • นานาสาระ
  • นิทาน
  • นิสัยใจคอ
  • บ้านและสวน
  • ประเพณี
  • พระสายกรรมฐาน
  • พระเครื่อง
  • ภาษาวัด ภาษาไทย
  • ยาสมุนไพรโบราณ
  • วัดธรรมยุตในต่างประเทศ
  • ส่งคำอวยพร
  • สังฆทาน
  • สิ่งนำโชค
  • สุขภาพ
  • อาชีพและครอบครัว
  • เครื่องราง
  • เรียกจิต
  • เรื่องผี
  • แนะนำหนังสือ
  • แบ่งปัน
  • ไม้ประดับ ไม้มงคล

เว็บไซต์แห่งนี้ นำเสนอบทความเกี่ยวกับ วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง มนต์คาถา พิธีกรรมต่าง ๆ
ซึ่งทั้งหมด เป็นที่พึ่งทางจิตใจ เป็นความรู้ เป็นความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมา
ทางเราไม่อาจจะพิสูจน์ได้ว่า ความเชื่อเหล่านั้นเป็นจริงหรือไม่
ผู้เขียนบทความ ไม่อาจจะรับรองความเชื่อนั้นว่าจะได้ผลจริง หากท่านนำไปปฏิบัติตาม
หน้านโยบายความเป็นส่วนตัว

บทความต่าง ๆ บนเว็บไซต์นี้ แม้ทางเรานำเสนอโดยการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จึงมาเขียน ฉะนั้น ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความโดยพยัญชนะ