พระเปิม เป็นพระเครื่องยอดนิยมอีกหนึ่งพิมพ์ของเมืองลำพูน พระเปิมเป็นพระพิมพ์เนื้อดินคล้ายพระคงแต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก เป็นพระพุทธปฏิมาปางมารวิชัย ห่มคลุม ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรเหนืออาสนะ ฉากหลังเป็นใบโพธิ์ เป็นการจำลองเหตุการณ์หลังการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หากเทียบพระพุทธลักษณะของพระเปิมแล้วคล้ายพระสกุลช่างคุปตะของอินเดีย
ด้านหลังพระเปิมเป็นรอยนิ้มมือกดเหมือนพระเนื้อดินสุกลลำพูนทั่วไป
พระเปิม พบด้วยกันหลายกรุในจังหวัดลำพูน ที่มีการบันทึกไว้ ได้แก่
พระเปิมกรุวัดดอนแก้ว หรือบริเวณโรงเรียนเวียงยองในปัจจุบัน
พระเปิมกรุวัดพระธาตุหริภุญไชย
พระเปิมกรุวัดต้นแก้ว ตั้งอยู่ระหว่างวัดพระธาตุกับวัดดอนแก้ว
พระเปิมกรุวัดมหาวัน
พระเปิมกรุวัดจามเทวี
พระเปิมกรุวัดพระคง (พบเจอน้อย)
พระเปิมกรุวัดประตูลี้ (พบเจอน้อย)
พระเปิม กรุพระเจ้าหัวหมด ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัดพระคง
พระเปิมกรุครูขาว ตั้งอยู่หลังวัดพระคง
กรุที่พบพระเปิมเป็นจำนวนมากได้แก่
พระเปิมกรุวัดดอนแก้ว
พระเปิมกรุวัดพระธาตุหริภุญไชย
พระเปิมกรุวัดจามเทวี
ส่วนกรุอื่น ๆ พบเจอพระเปิมไม่มากนัก
พระเปิมที่ผมนำมาเป็นภาพประกอบบทความนี้ เป็นแค่ตัวอย่างเท่านั้น ผมไม่ทราบกรุ และไม่ทราบแท้ไม่แท้ของพระด้วย ไม่สามารถอ้างอิงความแท้หรือไม่แท้ได้
พุทธคุณพระเปิม
พระเปิม เป็นพระยุคเก่าที่ถูกบรรจุกรุเพื่อเป็นพุทธบูชา หรือบูชาเพื่อแคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายทั้งหลาย เป็นมหาอำนาจ ป้องกันสิ่งไม่ดีที่มาจากทิศทั้งสี่