
คาถา หัวใจพระไตรปิฎก ย่อมาจากอะไร
มะ อะ อุ
คาถาหัวใจพระไตรปิฏก มะ อะ อุ อาจจะสื่อความหมายได้หลายนัย
นัยที่ 1 อ้างอิงบทพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
มะ แทนพระพุทธเจ้า มาจากบทพระพุทธคุณ มะนุสสานัง พุทโธ
อะ แทนพระธรรมเจ้า มาจากบทพระธรรมคุณ อะกาลิโก
อุ แทนพระสงฆเจ้า มาจากบทพระสังฆคุณ อุชุปะฏิปันโน สาวะกะสังโฆ
นัยที่ 2 อ้างอิงปฐมสังคายนาพระไตรปิฎก ซึ่งมีพระเถระทั้ง 3 เป็นหลัก ได้แก่
มะ หมายถึง พระมหากัสสะปะ ซึ่งเป็นประธานและสอบถามพระสุตตันตปิฎก พระวินัยปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก
อะ หมายถึง พระอานนท์ ผู้วิสัชชนา พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก (ซึ่งตอนนั้นน่าจะรวมอยู่กับพระสุตตันตปิฎก)
อุ หมายถึง พระอุบาลี ผู้วิสัชชนาพระวินัยปิฎก
นัยที่ 3 อะ อุ มะ เรียกอีกอย่างว่า หัวใจพระบรรพชา
อะ หมายถึง พระพุทธเจ้า มาจากบทว่า อะระหัง
อุ หมายถึง พระธรรมเจ้า มาจากบทว่า อุตตรธรรม
มะ หมายถึงพระสงฆเจ้า มาจากบทว่า มหาสังฆะ
พุทธคุณ คาถา หัวใจพระไตรปิฎก
พุทธคุณหัวใจพระไตรปิฎก มะ อะ อุ หรือ อะ อุ มะ มีพุทธคุณครอบจักรวาล ไม่ว่าจะเป็นด้านคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย ตามแต่จะอธิษฐานใช้ โดยมากใช้คู่กับคาถาพระเจ้า 5 พระองค์ เป็น มะ อะ อะ นะโมพุทธายะ
อะ อุ มะ ตรีมูรติ ตามคติศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
อะ ย่อมาจากศัพท์ พระศิวะ ใช้แทน พระศิวะ
อุ ย่อมาจากศัพท์ พระวิษณุ ใช้แทน พระวิษณุ
มะ ย่อมาจากศัพท์ พระพรหม ใช้แทน พระพรหม
ออกเสียงรวมกันว่า โอม อย่างที่เราได้ยินในหนังแขกโบราณ