อานิสงส์ ไม่ใช่ อานิสงฆ์
“อานิสงส์” อ่านว่า อา-นิ-สง บาลีเป็น “อานิสํส” อ่านว่า อา-นิ-สัง-สะ รากศัพท์มาจาก
- อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + นิ (คำอุปสรรค = เข้า, ลง) + สํสฺ (ธาตุ = สรรเสริญ) + อ ปัจจัย
: อา + นิ + สํสฺ = อานิสํสฺ + อ = อานิสํส แปลตามศัพท์ว่า “คุณที่นำออกมาสรรเสริญได้อย่างดียิ่ง”
2. อานิ (ผลที่ได้รับ) + สนฺท (ธาตุ = ไหล, หลั่ง) + อ ปัจจัย, แปลง นฺ ที่ สนฺท เป็นนิคหิต (สนฺทฺ > สํท), แปล ท ที่ สนฺทฺ เป็น ส (สนฺทฺ > สนฺส)
: อานิ + สนฺทฺ = อานิสนฺทฺ + อ = อานิสนฺท > อานิสํท > อานิสํส แปลตามศัพท์ว่า “คุณที่หลั่งผลออก”
“อานิสํส” (ปุงลิงค์) หมายถึง การสรรเสริญ คือสิ่งซึ่งเป็นที่น่ายกย่อง, กำไร, ความดี, ประโยชน์, ผลดี (praise i. e. that which is commendable, profit, merit, advantage, good result)
อานิสงส์ แปลว่า คุณเป็นเนื่องไหลไหลออกเนืองๆ แห่งผล คือ ให้ผลที่น่าชื่นใจโดยยิ่ง
อานิสงส์ หมายถึงผลแห่งกุศลกรรม, ผลบุญ, ประโยชน์ที่เกิดจากการทำบุญ ใช้ว่า ผลานิสงส์ หรือผลอานิสงส์ ก็มี
อานิสงส์ เป็นผลผลิตจากการประกอบความดีต่าง ๆ ตามคติที่ว่า ทำดีได้ดี หมายความว่าเมื่อทำความดี ความดีย่อมให้อานิสงส์เป็นคุณความดีก่อน ลำดับต่อมาคุณงามความดีนั้นจึงให้ผลที่น่าชื่นใจไหลออกมาสนองผู้ทำในรูปแบบต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัยที่ทำ เปรียบเหมือนปลูกต้นมะม่วงย่อมจะได้ผลเป็นลูกมะม่วงก่อน ต่อมาลูกมะม่วงนั้นจึงให้ผลที่น่าชื่นใจต่อไปเมื่อนำไปเป็นอาหาร นำไปแลกเป็นของหรือนำไปขายเป็นเงิน
คำว่า อานิสงส์ ส่วนมากจะเขียนผิดเป็น อานิสงฆ์ ซึ่งอาจจะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นคำเดียวกับคำว่า พระสงฆ์
ที่มา :
http://dhamma.serichon.us/2017/06/12/อานิสงส์-2-ยังเขียนผิดกั
https://th.wikipedia.org/wiki/อานิสงส์